กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลบ้านนา

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อที่นำโดยแมลงเป็นพาหะนำโรคในตำบลบ้านนา ประจำปี 2568

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลบ้านนา

ชมรมอาสาสมัคร SRRT ตำบลบ้านนา

1.นายธีรพรแก้วสม
2.นายสุวัฒน์ หนูเทพ
3.นางสาวอรวรรณ จันทรธนู
4.นายสาโรจน์ สงเดช
5.นายภัทรพงค์เยาว์แสง

ทุกหมู่บ้านในตำบลบ้านนา อ.ศรีนครินทร์ จ.พัทลุง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภาวะไข้เลือดออกระบาด

 

20.00

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภาวะไข้เลือดออกระบาด

การแก้ปัญหาประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากไข้เลือดออกระบาด(ร้อยละ)

20.00 18.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 30
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
สถานที่ราชการ สถานศึกษา วัด (แห่ง) 10

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/01/2025

กำหนดเสร็จ 31/12/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ควบคุมและป้องกันโรคติดต่อที่นำโดยแมลงเป็นพาหะ ในบริเวณสถานศึกษา สถานที่ราชการ วัด

ชื่อกิจกรรม
ควบคุมและป้องกันโรคติดต่อที่นำโดยแมลงเป็นพาหะ ในบริเวณสถานศึกษา สถานที่ราชการ วัด
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ควบคุมและป้องกันโรคติดต่อที่นำโดยแมลงเป็นพาหะ ในบริเวณสถานศึกษา สถานที่ราชการ วัด จำนวน 10 แห่ง โดยการพ่นหมอกควัน และทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุง
โดยมีค่าใช้จ่ายดังนี้
1.1 ค่าจ้าง/ค่าตอบแทนเจ้าหน้าที่พ่นหมอกควัน คนละ 200 บาท/ ครั้ง จำนวน 10 แห่ง ๆละ 1 ครั้ง ได้แก่
รร.วัดบ้านนา/รร.บ้านนาวง/รร.วัดลำใน จำนวน 5 คน x 200 บาท x 6 ครั้ง = 6,000 บาท
ศพด.บ้านนา/ศพด.บ้านนาวง/ศพด.บ้านลำใน จำนวน 2 คน x 200 บาท x 6 ครั้ง = 2,400 บาท
วัดบ้านนา/วัดนาวง/วัดเขาคราม/ ถ้ำพุทธโคดม จำนวน 5 คน x 200 บาท x 4ครั้ง = 4,000 บาท
1.2 ค่าน้ำยาเคมี จำนวน 1 ขวด เป็นเงิน 2,000 บาท
1.3 ค่าน้ำมันเชื้อเพลิงสำหรับเครื่องพ่น เป็นเงิน 3,000 บาท
รวมเป็นเงิน 17,400 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2568 ถึง 31 ธันวาคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.มีทีมเคลื่อนที่เร็วสำหรับเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรค
2.มีวัสดุ อุปกรณ์ สำหรับเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรค อย่างพร้อมเพียง
3.แกนนำสาธารณสุข(อสม.) เยาวชน และเจ้าหน้าที่ ลงสำรวจทำลายลูกน้ำยุงลาย (หยอดทรายอะเบต,ปล่อยปลาหางนกยูง คว่ำภาชนะที่มีน้ำขัง) สัปดาห์ละ 1 ครั้ง
4.รณรงค์การปรับสภาพแวดล้อมจุดเสี่ยงต่อการเพาะพันธุ์ยุงลาย เช่น ขยะ หรือมีการสะสมของภาชนะน้ำขังจำนวนมาก โดย แกนนำสาธารณสุข(อสม.) เยาวชน อย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง
5.พ่นหมอกควันบริเวณโรงเรียนและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุง โดยทำก่อนเปิดภาคเรียนที่ 1และภาคเรียนที่ 2

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
17400.00

กิจกรรมที่ 2 ควบคุมและป้องกันโรคติดต่อที่นำโดยแมลงเป็นพาหะ ในพื้นที่ที่เกิดโรค และรัศมี 100 เมตร

ชื่อกิจกรรม
ควบคุมและป้องกันโรคติดต่อที่นำโดยแมลงเป็นพาหะ ในพื้นที่ที่เกิดโรค และรัศมี 100 เมตร
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ควบคุมและป้องกันโรคติดต่อที่นำโดยแมลงเป็นพาหะ ครัวเรือนที่มีผู้ป่วยและในรัศมี 100 เมตรพ่น 2 ครั้งห่างกัน 1 สัปดาห์ โดยการพ่นหมอกควัน และทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุง
มีค่าใช้จ่ายดังนี้
1.1 ค่าจ้าง/ค่าตอบแทนเจ้าหน้าที่พ่นหมอกควัน คนละ 200 บาท/ ครั้ง ครั้งละ 2 คน ตั้งไว้ 16,000 บาท
1.2 ค่าน้ำยาเคมี จำนวน 2 ขวด เป็นเงิน 4,000 บาท
1.3 ค่าน้ำมันเชื้อเพลิงสำหรับเครื่องพ่น เป็นเงิน 8,000 บาท

2.กรณีไม่สามารถพ่นยุงในครัวเรือนที่มีผู้ป่วย ค่าน้ำยาพ่นกำจัดแมลง จำนวน 20 ขวดๆ ละ 130 บาท เป็นเงิน 2,600 บาท
3.การรณรงค์ประชาสัมพันธ์เพื่อให้เกิดความตระหนัก

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2568 ถึง 31 ธันวาคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.แกนนำสาธารณสุข(อสม.) เยาวชน และเจ้าหน้าที่ ลงสำรวจทำลายลูกน้ำยุงลาย (หยอดทรายอะเบต,ปล่อยปลาหางนกยูง คว่ำภาชนะที่มีน้ำขัง) สัปดาห์ละ 1 ครั้ง
2.การปรับสภาพแวดล้อมจุดเสี่ยงต่อการเพาะพันธุ์ยุงลาย เช่น ขยะ หรือมีการสะสมของภาชนะน้ำขังจำนวนมาก โดย แกนนำสาธารณสุข(อสม.) เยาวชน
3.พ่นยุงครัวเรือนที่มีผู้ป่วยรัศมี 100 เมตร พ่น 2 ครั้งห่างกัน 1 สัปดาห์

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
30600.00

กิจกรรมที่ 3 รณรงค์ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุง ในพื้นที่สาธารณะ

ชื่อกิจกรรม
รณรงค์ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุง ในพื้นที่สาธารณะ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

การรณรงค์ประชาสัมพันธ์เพื่อให้เกิดความตระหนัก ในการป้องกันและควบคุมโรค โดยมีค่าใช้จ่ายดังนี้
1. ทรายอะเบท จำนวน 2 ถังๆ ละ 4,000 บาท เป็นเงิน 8,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2568 ถึง 31 ธันวาคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.แกนนำสาธารณสุข(อสม.) เยาวชน และเจ้าหน้าที่ ลงสำรวจทำลายลูกน้ำยุงลาย (หยอดทรายอะเบต,ปล่อยปลาหางนกยูง คว่ำภาชนะที่มีน้ำขัง) สัปดาห์ละ 1 ครั้ง
2.การปรับสภาพแวดล้อมจุดเสี่ยงต่อการเพาะพันธุ์ยุงลาย เช่น ขยะ หรือมีการสะสมของภาชนะน้ำขังจำนวนมาก โดย แกนนำสาธารณสุข(อสม.) เยาวชน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
8000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 56,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. สามารถลดอัตราการเกิดโรคติดต่อที่นำโดยแมลงเป็นพาหะนำโรคของประชาชนในพื้นที่ ลดลงร้อยละ 50
2. สามารถป้องกันและควบคุมโรคติดต่อที่นำโดยแมลงเป็นพาหะนำโรค เพิ่มขึ้นร้อยละ 60
3. ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจและเกิดพฤติกรรมในการทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายอย่างสม่ำเสมอ


>