กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการรณรงค์เนื่องในวันสิ่งแวดล้อมโลกประจำปี 2568

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก

กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก

นายพิทักศิษย์ พานิชธนาคม
นางสาวอรุณวาตี สิทธิเส็ม
นางสาวฮัสนีดา แมทาลง 063-0654624

กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานขยะ , แผนอนามัยและสิ่งแวดล้อม , แผนงานมลพิษจากสิ่งแวดล้อม

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

สืบเนื่องจากการประชุมสหประชาชาติว่าด้วยเรื่องสิ่งแวดล้อมของมนุษย์ โดยผลการประชุมทำให้ประเทศต่างๆ ทั่วโลกหันหน้าเข้าหากันเพื่อร่วมป้องกันและแก้ไขปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมอันเป็นภัยคุกคามต่อการดำรงอยู่ของมนุษย์ ต่อมาองค์การสหประชาชาติได้จัดตั้งโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งประชาชาติขึ้น โดยเรียกร้องให้ประชาคมโลกเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตและวิถีการพัฒนาเพื่อความยั่งยืนของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ดังนั้นเพื่อเป็นการระลึกถึงจุดเริ่มต้นของการร่วมมือจากนานาชาติทั่วโลกในด้านสิ่งแวดล้อม และให้ทั่วโลกตื่นตัวกับวิกฤตการณ์สิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นร่วมกันหาแนวทางป้องกันและลงมือแก้ไข องค์การสหประชาชาติได้กำหนดให้วันที่ 5 มิถุนายน ของทุกปีเป็นวันสิ่งแวดล้อมโลก (World Environment Day) ทั้งนี้เพื่อกระตุ้นให้ทุกประเทศได้ให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อม ที่นับวันจะถูกทำลายโดยฝีมือมนุษย์ทั้งทางตรงและทางอ้อม ผลจากการทำลายเหล่านี้ ล้วนส่งผลกระทบต่อสุขภาพ ความเป็นอยู่และคุณภาพชีวิตของประชาชนจากวิกฤติในด้านสิ่งแวดล้อม
ประเทศไทยถือเป็นประเทศหนึ่งที่กำลังประสบกับปัญหาดังกล่าว ทั้งนี้เพราะการพัฒนาในด้านเศรษฐกิจ สังคม การคมนาคมและเทคโนโลยีต่างๆ ล้วนนำเอาทรัพยากรมาใช้ประโยชน์ แต่ไม่ได้มีการวางแผนการจัดการที่เหมาะสม ก่อให้เกิดผลกระทบในหลายๆด้าน โดยเฉพาะในด้านสิ่งแวดล้อมซึ่งเกิดปัญหาต่างๆ ตามมามากมาย เช่น ปัญหาขยะ ปัญหามลพิษทางอากาศ ทางน้ำ ปัญหาต่อสุขภาพอนามัยและความเป็นอยู่ของประชาชนที่สวนกระแสกับความเจริญ ทั้งนี้กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก ได้เล็งเห็นถึงปัญหาดังกล่าว จึงได้จัดโครงการรณรงค์เนื่องในวันสิ่งแวดล้อมโลก ประจำปี 2568 ขึ้น เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจและปลุกจิตสำนึกของประชานให้ตระหนักและเห็นความสำคัญในเรื่องของสิ่งแวดล้อม โดยยึดหลักคำขวัญขององค์การสหประชาชาติในแต่ละปีในการจัดกิจกรรมให้สอดคล้องกับทุกประเทศทั่วโลก

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจ และกระตุ้นสร้างจิตสำนึกให้นักเรียนตระหนักรู้ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม

นักเรียนมีความรู้ ความเข้าใจปัญหาสิ่งแวดล้อมและผลกระทบที่เกิดขึ้น

70.00 80.00
2 เพื่อให้นักเรียนได้ตระหนักและมีความรับผิดชอบร่วมกันในการช่วยแก้ไขวิกฤติปัญหาสิ่งแวดล้อม

นักเรียนมีความความรู้ เข้าใจถึงวิธีการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม

70.00 80.00
3 เพื่อสร้างเครือข่ายในสถานศึกษาในการดูแล รักษาสิ่งแวดล้อม

สถานศึกษามีการดำเนินกิจกรรมด้านสิ่งแวดล้อม

60.00 70.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 90
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
คณะทำงาน 10

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/06/2025

กำหนดเสร็จ 31/08/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมอบรมให้ความรู้ เรื่อง การรับมือและปรับตัวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่ส่งผลต่อสุขภาพ

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมอบรมให้ความรู้ เรื่อง การรับมือและปรับตัวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่ส่งผลต่อสุขภาพ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กลุ่มเป้าหมาย เด็กและเยาวชน 90 คน และคณะทำงาน 10 คน รวม 100 คน
รายละเอียดกิจกรรม
- กิจกรรมอบรมให้ความรู้ เรื่อง การรับมือและปรับตัวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่ส่งผลต่อสุขภาพ
- จัดบูธนิทรรศการ ดังนี้
1. บูธกิจกรรมการสาธิตการทำ EM และปุ๋ยหมักจากสิ่งปฏิกูล ลดการใช้สารเคมี
2. บูธกิจกรรมการจัดการขยะต้นทางตามหลัก 3 Rs ปลอดขยะ ปลอดโรคด้วยมือเรา
3. บูธแสดงผลงานสิ่งประดิษฐ์จากขยะรีไซเคิล
4. มอบเกียรติบัตรการจัดการครัวเรือนต้นแบบ
5. มอบรางวัลสิ่งประดิษฐ์จากขยะรีไซเคิล
กำหนดการ
08.30 - 09.00 น. ลงทะเบียน
09.00 - 12.00 น. อบรมเรื่อง การรู้รับปรับตัวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
12.00 - 13.00 น. พักรับประทานอาหาร
13.00 - 16.00 น. อบรมเรื่อง การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิกับผลกระทบต่อสุขภาพ
งบประมาณ
1. ค่าตอบแทนวิทยากรบรรยาย 2 คนx600 บาท x 6 ชม.เป็นเงิน 3,600 บาท
2. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 30 บาท x 100 คน x 2 มื้อ เป็นเงิน 6,000 บาท
3. ค่าอาหารกลางวัน 60 บาท x 100 คน x 1 มื้อ เป็นเงิน 6,000 บาท
4. ค่าป้ายโครงการ 1,100 บาท
5. ค่าวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการอบรม ได้แก่ สมุด ปากกา กระดาษ A4 กรรไกร ฯลฯ เป็นเงิน 4,700 บาท
6. ค่าไวนิลให้ความรู้แบบขาตั้ง จำนวน 6 ผืน x 1,200 บาท เป็นเงิน 7,200 บาท
7. ค่าวัสดุอุปกรณ์ที่จำเป็นในการจัดบูธ ได้แก่ กระดาษปากกา กรรไกร ปากกาเคมี สกอตเทป กระดาษฟิตชาร์ท คัตเตอร์ ฯลฯ เป็นเงิน 4,200 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2568 ถึง 30 มิถุนายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เด็กและเยาวชนที่เข้าร่วมโครงการมีความรู้ เรื่อง การรับมือและปรับตัวการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ มากขึ้น

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
32800.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 32,800.00 บาท

หมายเหตุ :
สามารถถั่วเฉลี่ยได้ทุกรายการ

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. นักเรียนตระหนักถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นจากปัญหาสิ่งแวดล้อม
2. นักเรียนเกิดการตระหนักรู้ ในการช่วยแก้ไขและรักษาสิ่งแวดล้อม
3. สถานศึกษามีการดำเนินกิจกรรมที่เกี่ยวกับการรักษา และดูแลสิ่งแวดล้อม เป็นแบบอย่างที่ดีให้แก่หน่วยงานในพื้นที่


>