กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบเสนอโครงการกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น

กปท.7

แบบจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บือมัง รหัส กปท. L4163

อำเภอรามัน จังหวัดยะลา

ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2567 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 17 (2) "ให้พิจารณาอนุมัติโครงการ หรือกิจกรรม ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุนตามข้อ 10"

อาศัยอำนาจของประกาศ ฯ ข้อ 10 "เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ" จึงได้จัดทำแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ประจำปีงบประมาณ 2568 โดยมีรายละเอียด ดังนี้

1.
ชื่อ
check_box_outline_blank
แผนงาน
check_box
โครงการ
check_box_outline_blank
กิจกรรม
โครงการพัฒนาศักยภาพเครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ
2.
ชื่อ
check_box_outline_blank
หน่วยงาน
check_box_outline_blank
องค์กร
check_box_outline_blank
กลุ่มประชาชน
ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลบือมัง อำเภอรามัน จังหวัดยะลา
3.
หลักการและเหตุผล

งานคุ้มครองผู้บริโภคด้านสาธารณสุข เป็นงานที่เกี่ยวข้องกับการควบคุม กำกับ ดูแลและบังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์สุขภาพและบริการสุขภาพ เช่น อาหาร ยา เครื่องสำอาง ร้านขายของชำในหมู่บ้าน เป็นต้น ซึ่งในส่วนของผลิตภัณฑ์สุขภาพและบริการสุขภาพเหล่านี้มีผู้เกี่ยวข้องหลายส่วน เช่น ผู้ผลิต ผู้จำหน่าย ตลอดจนผู้บริโภค โดยเฉพาะผู้บริโภคจะเป็นผู้ได้รับผลกระทบโดยตรงจากการใช้ผลิตภัณฑ์เหล่านั้น หากเป็นผลิตภัณฑ์ที่ไม่มีคุณภาพ ลอกเลียนแบบ เจือปนสารอันตรายลงไป หรือหากบริการสุขภาพนั้นไม่ได้มาตรฐานจะทำให้ผู้บริโภคได้รับผลกระทบต่อสุขภาพจนอาจทำให้เสียชีวิตได้ ร้านขายของชำในหมู่บ้าน เป็นร้านที่ผู้บริโภคจับจ่ายใช้สอยและซื้อสินค้ามากที่สุด เนื่องจากเป็นร้านที่อยู่ในหมู่บ้าน สะดวกในการซื้อสินค้า และเป็นร้านที่จำหน่ายสินค้าหลากหลายชนิด เช่น ยา เครื่องสำอาง อาหารสำเร็จรูป เครื่องปรุงรส อาหารแปรรูป บุหรี่ เป็นต้น แต่จากการดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคพบว่า การใช้เครื่องอุปโภค บริโภคที่ไม่ได้มาตรฐานจากร้านขายของชำในชุมชน ไม่ว่าจะเป็นผลิตภัณฑ์อาหาร เครื่องสำอางที่ไม่ได้คุณภาพ จำหน่ายให้กับประชาชนในชุมชน และยังจำหน่ายยาบางชนิดที่ไม่สามารถจำหน่ายได้ในร้านขายของชำ ซึ่งผู้ประกอบการส่วนใหญ่ไม่มีความรู้ที่ชัดเจนเกี่ยวกับการเลือกผลิตภัณฑ์อาหาร เครื่องสำอางที่มีคุณภาพ ความรู้เรื่องประเภทของยาแต่ละชนิดที่สามารถจำหน่ายได้ในร้านขายของชำ และจำหน่ายให้กับร้านค้าในชุมชนได้ สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นอันตรายต่อผู้บริโภคทั้งสิ้น

จากข้อมูลรายงานผลการสำรวจร้านชำในพื้นที่ตำบลบือมัง ประจำปี พ.ศ. 2567 พบว่ามีร้านชำที่ขายยาที่ห้ามขายในร้านชำ จำนวน 4 ร้าน จากจำนวนร้านชำที่ขายยาทั้งหมด 37 ร้าน คิดเป็นร้อยละ 10.81 และจากผลการดำเนินงานตรวจสอบผลิตภัณฑ์สุขภาพ และอาหาร ที่จำหน่ายในเขตตำบลบือมัง ประจำปี 2567 โดยการสุ่มตรวจหาสารปนเปื้อนในผลิตภัณฑ์สุขภาพ และอาหาร ได้แก่ สารฟอกขาว ยาฆ่าแมลง สารกันรา สารบอแรกซ์ สารโพลาร์ในน้ำมันทอดซ้ำ และฟอร์มาลีน จำนวน 22 ตัวอย่าง พบผลิตภัณฑ์ที่ไม่ผ่านมาตรฐานจำนวน 2 ตัวอย่าง โดยพบการปนเปื้อนของสารกันราในผลไม้ดอง จำนวน 1 ตัวอย่าง และสารโพลาร์ในน้ำมันทอดซ้ำเกินมาตรฐาน จำนวน 1 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 9.01 จากตัวอย่างที่สุ่มทั้งหมด

ดังนั้น ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลบือมัง อำเภอรามัน จังหวัดยะลา ได้เห็นถึงความสำคัญในการพัฒนาศักยภาพเครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ โดยมุ่งเน้นการตรวจเฝ้าระวังความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์สุขภาพ การสร้างเครือข่ายอาสาสมัครคุ้มครองผู้บริโภคที่เข้มแข็ง และการเผยแพร่ความรู้ ข้อมูลข่าวสารด้านการบริโภคที่ปลอดภัยแก่แกนนำเครือข่าย ผู้ประกอบการ และประชาชนในพื้นที่ได้อย่างทั่วถึง เพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภคในเขตพื้นที่ตำบลบือมัง

4.
วัตถุประสงค์(เพื่อการจัดบริการสร้างเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค ฟื้นฟูสมรรถภาพ และรักษาพยาบาลระดับปฐมภูมิเชิงรุก รวมถึงการจัดกระบวนการหรือกิจกรรมเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ และการป้องกันโรค)
  • 1. เพื่อส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพผู้บริโภค และการสร้างเครือข่ายการมีส่วนร่วมของประชาชนในการดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภค
    ตัวชี้วัด : มีเครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพในตำบล จำนวน 1 ทีม
    ขนาดปัญหา เป้าหมาย 0.00
  • 2. เพื่อให้แกนนำเครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภค ผู้ประกอบการ และประชาชน มีความรู้เกี่ยวกับอาหาร ยา เครื่องสำอาง และผลิตภัณฑ์สุขภาพ
    ตัวชี้วัด : กลุ่มเป้าหมายมีความรู้เพิ่มขึ้นร้อยละ 80
    ขนาดปัญหา เป้าหมาย 0.00
  • 3. เพื่อให้มีการตรวจเฝ้าระวังผลิตภัณฑ์สุขภาพ ผลิตภัณฑ์อาหาร ยา และเครื่องสำอาง ได้อย่างครอบคลุม
    ตัวชี้วัด : ความครอบคลุมของการตรวจเฝ้าระวังผลิตภัณฑ์สุขภาพ ผลิตภัณฑ์อาหาร ยา และเครื่องสำอาง ร้อยละ 90
    ขนาดปัญหา เป้าหมาย 0.00
5.
วิธีดำเนินการ(ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ตามข้อ 4)
  • 1. ประชุมวางแผนและแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินการตามโครงการ
    รายละเอียด

    ประชุมวางแผนและแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินการตามโครงการ จำนวน 30 คน

    • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มผู้เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 30 คน * มื้อละ 30 บาท * 1 มื้อ เป็นเงิน 900 บาท
    งบประมาณ 900.00 บาท
  • 2. จัดอบรมพัฒนาศักยภาพการดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ
    รายละเอียด

    อบรมให้ความรู้เพื่อพัฒนาศักยภาพการดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพให้กับแกนนำเครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภค ผู้ประกอบการ และประชาชน จำนวน 60 คน

    • ค่าอาหารกลางวันผู้เข้าร่วมอบรม จำนวน 60 คน * มื้อละ 70 บาท * 1 มื้อ เป็นเงิน 4,200 คน

    • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มผู้เข้าร่วมอบรม จำนวน 60 คน * มื้อละ 30 บาท * 2 มื้อ เป็นเงิน 3,600 บาท

    • ค่าสมนาคุณวิทยากร 600 บาท * 1 คน * 6 ชั่วโมง เป็นเงิน 3,600 บาท

    งบประมาณ 11,400.00 บาท
  • 3. จัดอบรมพัฒนาศักยภาพการดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพให้กับแกนนำ อย.น้อยในโรงเรียน
    รายละเอียด

    อบรมให้ความรู้เพื่อพัฒนาศักยภาพการดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพให้กับแกนนำ อย.น้อยในโรงเรียน จำนวน 80 คน

    • ค่าอาหารกลางวันผู้เข้าร่วมอบรม จำนวน 80 คน * มื้อละ 70 บาท * 1 มื้อ เป็นเงิน 5,600 คน

    • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มผู้เข้าร่วมอบรม จำนวน 80 คน * มื้อละ 30 บาท * 2 มื้อ เป็นเงิน 4,800 บาท

    • ค่าสมนาคุณวิทยากร 600 บาท * 1 คน * 6 ชั่วโมง เป็นเงิน 3,600 บาท

    งบประมาณ 14,000.00 บาท
  • 4. ลงพื้นที่ตรวจสอบร้านชำ พร้อมสุ่มตรวจสารปนเปื้อนในผลิตภัณฑ์สุขภาพ และอาหาร
    รายละเอียด

    ลงพื้นที่ตรวจสอบร้านชำ พร้อมสุ่มตรวจสารปนเปื้อนในผลิตภัณฑ์สุขภาพ และอาหาร

    • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มผู้เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 30 คน * มื้อละ 30 บาท * 1 มื้อ เป็นเงิน 900 บาท

    • ค่าชุดทดสอบสารปนเปื้อนในผลิตภัณฑ์สุขภาพและอาหาร รวมเป็นเงิน 6,000 บาท โดยมีรายละเอียดดังนี้

    1. ชุดทดสอบโซเดียมไฮโดรซัลไฟต์ (สารฟอกขาว) ในอาหาร 1 ชุด เป็นเงิน 250 บาท
    2. ชุดทดสอบสอบยาฆ่าแมลง 1 ชุด เป็นเงิน 2,000 บาท
    3. ชุดทดสอบกรดซาลิซิลิค (สารกันรา) ในอาหาร 1 ชุด เป็นเงิน 450 บาท
    4. ชุดทดสอบบอแรกซ์ในอาหาร 1 ชุด เป็นเงิน 400 บาท
    5. ชุดทดสอบสารโพลาร์ในน้ำมันทอดซ้ำ 1 ชุด เป็นเงิน 1,000 บาท
    6. ชุดทดสอบฟอร์มาลินในอาหาร จำนวน 6 ชุด ชุดละ 150 บาท เป็นเงิน 900 บาท
    7. ชุดทดสอบสารสเตียรอยด์ จำนวน 4 ชุด ชุดละ 250 บาท เป็นเงิน 1,000 บาท
    งบประมาณ 6,900.00 บาท
  • 5. สรุปผลการดำเนินงาน
    รายละเอียด

    สรุปผลการดำเนินงาน

    • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มผู้เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 30 คน * มื้อละ 30 บาท * 1 มื้อ เป็นเงิน 900 บาท
    งบประมาณ 900.00 บาท
6.
กลุ่มเป้าหมาย และกิจกรรม(เลือกได้มากกว่า 1 ข้อ)
6.1. กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด จำนวน คน

6.2. กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน จำนวน คน

6.3. กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน จำนวน คน

6.4. กลุ่มวัยทำงาน จำนวน คน

6.5. กลุ่มผู้สูงอายุ จำนวน คน

6.6. กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง จำนวน คน

6.7. กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ จำนวน คน

6.8. กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง จำนวน คน

6.9. สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] จำนวน คน

7.
ระยะเวลาดำเนินการ(ควรระบุตามการดำเนินงานจริง)

ตั้งแต่ วันที่ 1 ตุลาคม 2567 ถึง 31 สิงหาคม 2568

8.
สถานที่ดำเนินการ

ตำบลบือมัง อำเภอรามัน จังหวัดยะลา

9.
งบประมาณ(ให้สอดคล้องกับวิธีดำเนินการ ที่ตั้งไว้ตามข้อ 5)

รวมงบประมาณโครงการ 34,100.00 บาท

10.
ผลที่คาดว่าจะได้รับ(ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ตามข้อ 4)
  1. มีเครือข่ายการมีส่วนร่วมของประชาชนในการดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภค
  2. การตรวจพบสารปนเปื้อนในอาหารและผลิตภัณฑ์สุขภาพที่จำหน่ายในเขตตำบลบือมังลดลง
  3. มีการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารด้านการคุ้มครองผู้บริโภค
  4. มีระบบเฝ้าระวังและแจ้งเตือนภัยสุขภาพในชุมชน
11.
คำรับรองความซ้ำซ้อนของงบประมาณ

ข้าพเจ้า ................................................................ ตำแหน่ง.................................................... หน่วยงาน................................................................................ หมายเลขโทรศัพท์......................................................... ในฐานะของผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

ขอรับรองว่า แผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ที่เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ ในครั้งนี้

  • check_box_outline_blank ไม่ได้ซ้ำซ้อนกับงบประมาณที่ได้รับจากแหล่งอื่น
  • check_box_outline_blank สอดคล้องกับแผนสุขภาพชุมชน ของ กปท.
  • check_box_outline_blank รับทราบถึงกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ และวิธีการดำเนินงานตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2567 และที่แก้ไขเพิ่มเติม แล้ว


ลงชื่อ............................................................ผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

      (............................................................)

ตำแหน่ง ............................................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................
- เห็นชอบ/อนุมัติ
- ให้เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ


ลงชื่อ............................................................หัวหน้าหน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน

      (............................................................)

ตำแหน่ง ............................................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................

กปท.8

แบบเสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บือมัง รหัส กปท. L4163

อำเภอรามัน จังหวัดยะลา

วัน...........เดือน............................................ พ.ศ. ............
เรื่อง ขอเสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ประจำปีงบประมาณ 2568
เรียน ประธานกรรมการกองทุนสุขภาพตำบล อบต.บือมัง
เอกสารแนบ แบบจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม (แบบ กปท.7) จำนวน 1 ชุด

ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2567 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 10 “เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ” นั้น

หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน ได้ดำเนินการจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม มาเพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณ กปท. ตามเอกสารแนบ

จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณาอนุมัติ

ลงชื่อ .................................................. หัวหน้าหน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน

(...........................................................)

ตำแหน่ง ...............................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ......................................

กปท.9

แบบอนุมัติแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บือมัง รหัส กปท. L4163

อำเภอรามัน จังหวัดยะลา

วัน...........เดือน............................................ พ.ศ. ............
ผลการพิจารณาแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

ตามมติการประชุมคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพ ครั้งที่ ....................... เมื่อวันที่ .................................................... สรุปผลการพิจารณาแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ดังนี้

1. ความสอดคล้องกับแผนสุขภาพชุมชน
check_box_outline_blank
สอดคล้อง
check_box_outline_blank
ไม่สอดคล้อง
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
2. ความซ้ำซ้อนของงบประมาณกองทุน ฯ กับงบประมาณจากแหล่งอื่น
check_box_outline_blank
ซ้ำซ้อน
check_box_outline_blank
ไม่ซ้ำซ้อน
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
3. ความเสี่ยงจากผลประโยชน์ทับซ้อน
check_box_outline_blank
เสี่ยง
check_box_outline_blank
ไม่เสี่ยง
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
4. เป็นหน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน ที่มีสิทธิขอรับงบประมาณ (ตามประกาศ ฯ พ.ศ. 2567 ข้อ 10) (เลือกเพียง 1 ข้อ)
5. ประเภทการสนับสนุน (ตามประกาศ ฯ พ.ศ. 2567 ข้อ 10) (เลือกเพียง 1 ข้อ)
6.งบประมาณที่เสนอ จำนวน 34,100.00 บาท
check_box_outline_blank
อนุมัติงบประมาณ เนื่องจากแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
check_box_outline_blank
ประชาชนได้รับผลประโยชน์
check_box_outline_blank
ตรงตามวัตถุประสงค์ของกองทุนฯ
check_box_outline_blank
ผู้รับผิดชอบงานมีศักยภาพ
check_box_outline_blank
ค่าใช้จ่ายมีความคุ้มค่า
จึงเห็นควรสนับสนุน เป็นเงิน จำนวน ........................................ บาท
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
check_box_outline_blank
ไม่อนุมัติงบประมาณ
เพราะ...................................................................................................................................................
check_box_outline_blank
ให้รายงานผลการดำเนินงานแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
ภายในวันที่................................................(ตามแบบฟอร์ม ฯ กปท.10)
check_box_outline_blank
ให้ อปท. แจ้งผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ทราบผล เพื่อดำเนินการ ต่อไป
ลงชื่อ ....................................................................

(....................................................................)

ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบการประชุม

วันที่-เดือน-พ.ศ. ....................................................

ลงชื่อ ....................................................................

ตำแหน่ง ....................................................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................