2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
3. สถานการณ์
งานคุ้มครองผู้บริโภคด้านสาธารณสุข เป็นงานที่เกี่ยวข้องกับการควบคุม กำกับ ดูแลและบังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์สุขภาพและบริการสุขภาพ เช่น อาหาร ยา เครื่องสำอาง ร้านขายของชำในหมู่บ้าน เป็นต้น ซึ่งในส่วนของผลิตภัณฑ์สุขภาพและบริการสุขภาพเหล่านี้มีผู้เกี่ยวข้องหลายส่วน เช่น ผู้ผลิต ผู้จำหน่าย ตลอดจนผู้บริโภค โดยเฉพาะผู้บริโภคจะเป็นผู้ได้รับผลกระทบโดยตรงจากการใช้ผลิตภัณฑ์เหล่านั้น หากเป็นผลิตภัณฑ์ที่ไม่มีคุณภาพ ลอกเลียนแบบ เจือปนสารอันตรายลงไป หรือหากบริการสุขภาพนั้นไม่ได้มาตรฐานจะทำให้ผู้บริโภคได้รับผลกระทบต่อสุขภาพจนอาจทำให้เสียชีวิตได้ ร้านขายของชำในหมู่บ้าน เป็นร้านที่ผู้บริโภคจับจ่ายใช้สอยและซื้อสินค้ามากที่สุด เนื่องจากเป็นร้านที่อยู่ในหมู่บ้าน สะดวกในการซื้อสินค้า และเป็นร้านที่จำหน่ายสินค้าหลากหลายชนิด เช่น ยา เครื่องสำอาง อาหารสำเร็จรูป เครื่องปรุงรส อาหารแปรรูป บุหรี่ เป็นต้น แต่จากการดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคพบว่า การใช้เครื่องอุปโภค บริโภคที่ไม่ได้มาตรฐานจากร้านขายของชำในชุมชน ไม่ว่าจะเป็นผลิตภัณฑ์อาหาร เครื่องสำอางที่ไม่ได้คุณภาพ จำหน่ายให้กับประชาชนในชุมชน และยังจำหน่ายยาบางชนิดที่ไม่สามารถจำหน่ายได้ในร้านขายของชำ ซึ่งผู้ประกอบการส่วนใหญ่ไม่มีความรู้ที่ชัดเจนเกี่ยวกับการเลือกผลิตภัณฑ์อาหาร เครื่องสำอางที่มีคุณภาพ ความรู้เรื่องประเภทของยาแต่ละชนิดที่สามารถจำหน่ายได้ในร้านขายของชำ และจำหน่ายให้กับร้านค้าในชุมชนได้ สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นอันตรายต่อผู้บริโภคทั้งสิ้น
จากข้อมูลรายงานผลการสำรวจร้านชำในพื้นที่ตำบลบือมัง ประจำปี พ.ศ. 2567 พบว่ามีร้านชำที่ขายยาที่ห้ามขายในร้านชำ จำนวน 4 ร้าน จากจำนวนร้านชำที่ขายยาทั้งหมด 37 ร้าน คิดเป็นร้อยละ 10.81 และจากผลการดำเนินงานตรวจสอบผลิตภัณฑ์สุขภาพ และอาหาร ที่จำหน่ายในเขตตำบลบือมัง ประจำปี 2567 โดยการสุ่มตรวจหาสารปนเปื้อนในผลิตภัณฑ์สุขภาพ และอาหาร ได้แก่ สารฟอกขาว ยาฆ่าแมลง สารกันรา สารบอแรกซ์ สารโพลาร์ในน้ำมันทอดซ้ำ และฟอร์มาลีน จำนวน 22 ตัวอย่าง พบผลิตภัณฑ์ที่ไม่ผ่านมาตรฐานจำนวน 2 ตัวอย่าง โดยพบการปนเปื้อนของสารกันราในผลไม้ดอง จำนวน 1 ตัวอย่าง และสารโพลาร์ในน้ำมันทอดซ้ำเกินมาตรฐาน จำนวน 1 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 9.01 จากตัวอย่างที่สุ่มทั้งหมด
ดังนั้น ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลบือมัง อำเภอรามัน จังหวัดยะลา ได้เห็นถึงความสำคัญในการพัฒนาศักยภาพเครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ โดยมุ่งเน้นการตรวจเฝ้าระวังความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์สุขภาพ การสร้างเครือข่ายอาสาสมัครคุ้มครองผู้บริโภคที่เข้มแข็ง และการเผยแพร่ความรู้ ข้อมูลข่าวสารด้านการบริโภคที่ปลอดภัยแก่แกนนำเครือข่าย ผู้ประกอบการ และประชาชนในพื้นที่ได้อย่างทั่วถึง เพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภคในเขตพื้นที่ตำบลบือมัง
4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด
- บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
- ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
5. กลุ่มเป้าหมาย
6. ระยะเวลาดำเนินงาน
วันเริ่มต้น 01/10/2024
กำหนดเสร็จ 31/08/2025
7. วิธีการดำเนินงาน
- กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
- งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด
หมายเหตุ :
8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง
ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?1. มีเครือข่ายการมีส่วนร่วมของประชาชนในการดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภค
2. การตรวจพบสารปนเปื้อนในอาหารและผลิตภัณฑ์สุขภาพที่จำหน่ายในเขตตำบลบือมังลดลง
3. มีการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารด้านการคุ้มครองผู้บริโภค
4. มีระบบเฝ้าระวังและแจ้งเตือนภัยสุขภาพในชุมชน