กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการพัฒนาศักยภาพเครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลบือมัง อำเภอรามัน จังหวัดยะลา
วันที่อนุมัติ 11 กุมภาพันธ์ 2568
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2567 - 31 สิงหาคม 2568
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2568
งบประมาณ 34,100.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวอารีณี ยาหะแม
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบือมัง อำเภอรามัน จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 80 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 60 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

ระบุ

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

งานคุ้มครองผู้บริโภคด้านสาธารณสุข เป็นงานที่เกี่ยวข้องกับการควบคุม กำกับ ดูแลและบังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์สุขภาพและบริการสุขภาพ เช่น อาหาร ยา เครื่องสำอาง ร้านขายของชำในหมู่บ้าน เป็นต้น ซึ่งในส่วนของผลิตภัณฑ์สุขภาพและบริการสุขภาพเหล่านี้มีผู้เกี่ยวข้องหลายส่วน เช่น ผู้ผลิต ผู้จำหน่าย ตลอดจนผู้บริโภค โดยเฉพาะผู้บริโภคจะเป็นผู้ได้รับผลกระทบโดยตรงจากการใช้ผลิตภัณฑ์เหล่านั้น หากเป็นผลิตภัณฑ์ที่ไม่มีคุณภาพ ลอกเลียนแบบ เจือปนสารอันตรายลงไป หรือหากบริการสุขภาพนั้นไม่ได้มาตรฐานจะทำให้ผู้บริโภคได้รับผลกระทบต่อสุขภาพจนอาจทำให้เสียชีวิตได้ ร้านขายของชำในหมู่บ้าน เป็นร้านที่ผู้บริโภคจับจ่ายใช้สอยและซื้อสินค้ามากที่สุด เนื่องจากเป็นร้านที่อยู่ในหมู่บ้าน สะดวกในการซื้อสินค้า และเป็นร้านที่จำหน่ายสินค้าหลากหลายชนิด เช่น ยา เครื่องสำอาง อาหารสำเร็จรูป เครื่องปรุงรส อาหารแปรรูป บุหรี่ เป็นต้น แต่จากการดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคพบว่า การใช้เครื่องอุปโภค บริโภคที่ไม่ได้มาตรฐานจากร้านขายของชำในชุมชน ไม่ว่าจะเป็นผลิตภัณฑ์อาหาร เครื่องสำอางที่ไม่ได้คุณภาพ จำหน่ายให้กับประชาชนในชุมชน และยังจำหน่ายยาบางชนิดที่ไม่สามารถจำหน่ายได้ในร้านขายของชำ ซึ่งผู้ประกอบการส่วนใหญ่ไม่มีความรู้ที่ชัดเจนเกี่ยวกับการเลือกผลิตภัณฑ์อาหาร เครื่องสำอางที่มีคุณภาพ ความรู้เรื่องประเภทของยาแต่ละชนิดที่สามารถจำหน่ายได้ในร้านขายของชำ และจำหน่ายให้กับร้านค้าในชุมชนได้ สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นอันตรายต่อผู้บริโภคทั้งสิ้น

จากข้อมูลรายงานผลการสำรวจร้านชำในพื้นที่ตำบลบือมัง ประจำปี พ.ศ. 2567 พบว่ามีร้านชำที่ขายยาที่ห้ามขายในร้านชำ จำนวน 4 ร้าน จากจำนวนร้านชำที่ขายยาทั้งหมด 37 ร้าน คิดเป็นร้อยละ 10.81 และจากผลการดำเนินงานตรวจสอบผลิตภัณฑ์สุขภาพ และอาหาร ที่จำหน่ายในเขตตำบลบือมัง ประจำปี 2567 โดยการสุ่มตรวจหาสารปนเปื้อนในผลิตภัณฑ์สุขภาพ และอาหาร ได้แก่ สารฟอกขาว ยาฆ่าแมลง สารกันรา สารบอแรกซ์ สารโพลาร์ในน้ำมันทอดซ้ำ และฟอร์มาลีน จำนวน 22 ตัวอย่าง พบผลิตภัณฑ์ที่ไม่ผ่านมาตรฐานจำนวน 2 ตัวอย่าง โดยพบการปนเปื้อนของสารกันราในผลไม้ดอง จำนวน 1 ตัวอย่าง และสารโพลาร์ในน้ำมันทอดซ้ำเกินมาตรฐาน จำนวน 1 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 9.01 จากตัวอย่างที่สุ่มทั้งหมด

ดังนั้น ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลบือมัง อำเภอรามัน จังหวัดยะลา ได้เห็นถึงความสำคัญในการพัฒนาศักยภาพเครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ โดยมุ่งเน้นการตรวจเฝ้าระวังความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์สุขภาพ การสร้างเครือข่ายอาสาสมัครคุ้มครองผู้บริโภคที่เข้มแข็ง และการเผยแพร่ความรู้ ข้อมูลข่าวสารด้านการบริโภคที่ปลอดภัยแก่แกนนำเครือข่าย ผู้ประกอบการ และประชาชนในพื้นที่ได้อย่างทั่วถึง เพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภคในเขตพื้นที่ตำบลบือมัง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพผู้บริโภค และการสร้างเครือข่ายการมีส่วนร่วมของประชาชนในการดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภค

มีเครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพในตำบล จำนวน 1 ทีม

0.00
2 เพื่อให้แกนนำเครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภค ผู้ประกอบการ และประชาชน มีความรู้เกี่ยวกับอาหาร ยา เครื่องสำอาง และผลิตภัณฑ์สุขภาพ

กลุ่มเป้าหมายมีความรู้เพิ่มขึ้นร้อยละ 80

0.00
3 เพื่อให้มีการตรวจเฝ้าระวังผลิตภัณฑ์สุขภาพ ผลิตภัณฑ์อาหาร ยา และเครื่องสำอาง ได้อย่างครอบคลุม

ความครอบคลุมของการตรวจเฝ้าระวังผลิตภัณฑ์สุขภาพ ผลิตภัณฑ์อาหาร ยา และเครื่องสำอาง ร้อยละ 90

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 34,100.00 0 0.00
1 ต.ค. 67 - 31 ส.ค. 68 ประชุมวางแผนและแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินการตามโครงการ 0 900.00 -
1 ต.ค. 67 - 31 ส.ค. 68 จัดอบรมพัฒนาศักยภาพการดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ 0 11,400.00 -
1 ต.ค. 67 - 31 ส.ค. 68 จัดอบรมพัฒนาศักยภาพการดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพให้กับแกนนำ อย.น้อยในโรงเรียน 0 14,000.00 -
1 ต.ค. 67 - 31 ส.ค. 68 ลงพื้นที่ตรวจสอบร้านชำ พร้อมสุ่มตรวจสารปนเปื้อนในผลิตภัณฑ์สุขภาพ และอาหาร 0 6,900.00 -
1 ต.ค. 67 - 31 ส.ค. 68 สรุปผลการดำเนินงาน 0 900.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. มีเครือข่ายการมีส่วนร่วมของประชาชนในการดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภค
  2. การตรวจพบสารปนเปื้อนในอาหารและผลิตภัณฑ์สุขภาพที่จำหน่ายในเขตตำบลบือมังลดลง
  3. มีการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารด้านการคุ้มครองผู้บริโภค
  4. มีระบบเฝ้าระวังและแจ้งเตือนภัยสุขภาพในชุมชน
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 11 ต.ค. 2567 00:00 น.