2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
3. สถานการณ์
โรคไข้เลือดออกนับเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศไทยตลอดมา เพราะไข้เลือดออก เป็นโรคติดต่อโดยมียุงลายเป็นพาหะ ที่สร้างความสูญเสียชีวิต ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลและความสูญเสีย ทางด้านเศรษฐกิจของประเทศ เนื่องจากโรคนี้มีแนวโน้มการระบาดในช่วงฤดูฝนของทุกปี และพบว่าประชากรที่ ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกมากที่สุด ได้แก่ กลุ่มเด็กวัยเรียนที่มีอายุตั้งแต่ 5-14 ปี แต่ปัจจุบันยังพบผู้ป่วย ไข้เลือดออกในผู้ใหญ่และมีการเกิดโรคตลอดทั้งปีอีกด้วย ดังนั้นการดำเนินงานควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกให้ ประสบผลสำเร็จและเกิดประสิทธิภาพนั้น จำเป็นต้องระดมความร่วมมือจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในการกำจัด ลูกน้ำยุงลายที่เป็นพาหะนำโรคและรณรงค์ให้ชุมชนตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาโรคไข้เลือดออกและร่วมมือกันเฝ้าระวังป้องกันการแพร่ระบาดของโรคนี้ดังนั้น การดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก จึงต้องปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับสถานการณ์ของโรคที่เปลี่ยนแปลงไปโดยเน้นให้ประชาชนเห็นความสำคัญและถือเป็นภารกิจที่ต้องช่วยกัน กระตุ้นและชักนำให้ ประชาชนองค์กรชุมชนโรงเรียนศาสนสถาน ตลอดจนเครือข่ายสุขภาพให้มีส่วนร่วมอย่างจริงจังและต่อเนื่อง จึงเป็นกิจกรรมสำคัญที่ต้องเร่งรัดดำเนินการ
จากสถานการณ์การเฝ้าระวังทางระบาดวิทยา พบว่าตำบลสะกอม มีโอกาสพบผู้ป่วยอุบัติใหม่ อุบัติซ้ำ จากสถิติข้อมูลการระบาด พบว่า ปี 2567 (ข้อมูลตั้งแต่เดือนมกราคม - กันยายน 2567) ผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก จำนวน 16ราย คิดเป็นอัตราป่วยต่อแสนประชากร 223.71 จะเห็นได้ว่าการระบาดในปี 2567 ลดลง และในปี 2568 คาดการณ์ว่าสถานการณ์โรคไข้เลือกจะมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น เนื่องจากโรคไข้เลือดออกมักจะระบาดปีเว้นปี หรือปีเว้นสองปี นอกจากนี้โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสะกอมได้ดำเนินงานควบคุมโรคติดต่อโดยการฉีดพ่นสารเคมีกำจัดยุงลาย ในทุกปี ๆ ละ 2 ครั้ง โดยมีเขตพื้นที่รับผิดชอบ ประกอบด้วย วัด 1 แห่ง โรงเรียน 9 แห่ง ศพด.4 แห่ง และฉีดพ่นหมอกควันกรณีพบผู้ป่วยในพื้นที่ จึงมีความจำเป็นต้องจัดซื้อวัสดุอุปกรณ์ให้เพียงพอ ในการเตรียมความพร้อมรับมือกับสถานการณ์โรคที่อาจมีจำนวนผู้ป่วยมากยิ่งขึ้น เพื่อความรวดเร็วในการปฏิบัติงานและเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการป้องกันควบคุมโรไข้เลือดออกหรือโรคติดต่อต่างๆจึงได้จัดทำโครงการ ป้องกัน ควบคุมโรคไข้เลือดออกและโรคติดต่ออื่น ๆ ในพื้นที่ตำบลสะกอม ประจำปี 2568
4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด
- บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
- ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
5. กลุ่มเป้าหมาย
6. ระยะเวลาดำเนินงาน
วันเริ่มต้น 09/12/2024
กำหนดเสร็จ 30/09/2025
7. วิธีการดำเนินงาน
- กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
- งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด
หมายเหตุ :
8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง
ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?1.ประชาชน มีความรู้ ความเข้าใจ เรื่องโรคไข้เลือดออกและโรคติดต่ออื่นๆ สามารถดูแลตนเอง ครอบครัว และคนในชุมชนได้
2.ชุมชนมีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพของคนในชุมชน และลดภาวะเสี่ยงต่อการเกิดโรคได้
3.ค่า HI CI ในบ้านน้อยกว่าหรือเท่า 10 และค่า CI ในสถานบริการ เช่น วัด โรงเรียน และรพ.สต. เท่ากับ 0
4.จำนวนผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกลดลง