กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการ ป้องกัน ควบคุมโรคไข้เลือดออกและโรคติดต่ออื่น ๆ ในพื้นที่ตำบลสะกอม ประจำปี 2568
รหัสโครงการ 568-L5186-01-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสะกอม
วันที่อนุมัติ 31 ตุลาคม 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 23 ธันวาคม 2567 - 30 กันยายน 2568
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2568
งบประมาณ 74,050.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายยอดชาย สมจิตร
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 27 ธ.ค. 2567 30 ก.ย. 2568 74,050.00
รวมงบประมาณ 74,050.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 7256 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 โรคไข้เลือดออกนับเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศไทยตลอดมา เพราะไข้เลือดออก เป็นโรคติดต่อโดยมียุงลายเป็นพาหะ ที่สร้างความสูญเสียชีวิต ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลและความสูญเสีย ทางด้านเศรษฐกิจของประเทศ จากสถานการณ์การเฝ้าระวังทาง
16.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไข้เลือดออกนับเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศไทยตลอดมา เพราะไข้เลือดออก เป็นโรคติดต่อโดยมียุงลายเป็นพาหะ ที่สร้างความสูญเสียชีวิต ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลและความสูญเสีย ทางด้านเศรษฐกิจของประเทศ เนื่องจากโรคนี้มีแนวโน้มการระบาดในช่วงฤดูฝนของทุกปี และพบว่าประชากรที่ ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกมากที่สุด ได้แก่ กลุ่มเด็กวัยเรียนที่มีอายุตั้งแต่ 5-14 ปี แต่ปัจจุบันยังพบผู้ป่วย ไข้เลือดออกในผู้ใหญ่และมีการเกิดโรคตลอดทั้งปีอีกด้วย ดังนั้นการดำเนินงานควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกให้ ประสบผลสำเร็จและเกิดประสิทธิภาพนั้น จำเป็นต้องระดมความร่วมมือจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในการกำจัด ลูกน้ำยุงลายที่เป็นพาหะนำโรคและรณรงค์ให้ชุมชนตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาโรคไข้เลือดออกและร่วมมือกันเฝ้าระวังป้องกันการแพร่ระบาดของโรคนี้ดังนั้น การดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก จึงต้องปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับสถานการณ์ของโรคที่เปลี่ยนแปลงไปโดยเน้นให้ประชาชนเห็นความสำคัญและถือเป็นภารกิจที่ต้องช่วยกัน กระตุ้นและชักนำให้ ประชาชนองค์กรชุมชนโรงเรียนศาสนสถาน ตลอดจนเครือข่ายสุขภาพให้มีส่วนร่วมอย่างจริงจังและต่อเนื่อง จึงเป็นกิจกรรมสำคัญที่ต้องเร่งรัดดำเนินการ จากสถานการณ์การเฝ้าระวังทางระบาดวิทยา พบว่าตำบลสะกอม มีโอกาสพบผู้ป่วยอุบัติใหม่ อุบัติซ้ำ จากสถิติข้อมูลการระบาด พบว่า ปี 2567 (ข้อมูลตั้งแต่เดือนมกราคม - กันยายน 2567) ผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก จำนวน 16ราย คิดเป็นอัตราป่วยต่อแสนประชากร 223.71 จะเห็นได้ว่าการระบาดในปี 2567 ลดลง และในปี 2568 คาดการณ์ว่าสถานการณ์โรคไข้เลือกจะมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น เนื่องจากโรคไข้เลือดออกมักจะระบาดปีเว้นปี หรือปีเว้นสองปี นอกจากนี้โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสะกอมได้ดำเนินงานควบคุมโรคติดต่อโดยการฉีดพ่นสารเคมีกำจัดยุงลาย ในทุกปี ๆ ละ 2 ครั้ง โดยมีเขตพื้นที่รับผิดชอบ ประกอบด้วย วัด 1 แห่ง โรงเรียน 9 แห่ง ศพด.4 แห่ง และฉีดพ่นหมอกควันกรณีพบผู้ป่วยในพื้นที่ จึงมีความจำเป็นต้องจัดซื้อวัสดุอุปกรณ์ให้เพียงพอ ในการเตรียมความพร้อมรับมือกับสถานการณ์โรคที่อาจมีจำนวนผู้ป่วยมากยิ่งขึ้น เพื่อความรวดเร็วในการปฏิบัติงานและเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการป้องกันควบคุมโรไข้เลือดออกหรือโรคติดต่อต่างๆจึงได้จัดทำโครงการ ป้องกัน ควบคุมโรคไข้เลือดออกและโรคติดต่ออื่น ๆ ในพื้นที่ตำบลสะกอม ประจำปี 2568

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อป้องกัน เฝ้าระวัง และควบคุมการระบาดของโรคไข้เลือดออกและโรคติดต่ออื่นๆ

การระบาดของโรคติดต่อในพื้นที่ตำบลสะกอมลดลง

16.00 10.00
2 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภาวะไข้เลือดออกระบาด

ร้อยละของการแก้ปัญหาประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากไข้เลือดออกระบาด

80.00 100.00
3 เพื่อลดอัตราการป่วย และอัตราการตาย ด้วยโรคไข้เลือดออก หรือโรคติดต่ออื่นๆ ของประชาชนในพื้นที่ตำบลสะกอม

จำนวนผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกลดลง

16.00 10.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
27 ธ.ค. 67 - 4 ต.ค. 68 สอบสวนโรค พร้อมทำลายแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลาย และพ่นสารเคมีกำจัดยุงลายตัวเต็มวัย ในกรณีพบผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก (ผู้ป่วย 1 ราย พ่น 2 ครั้งๆละ 300 บาท พ่นห่างกัน 7 วัน) 0 30,000.00 -
6 ม.ค. 68 - 30 ก.ย. 68 จัดหาวัสดุ / อุปกรณ์เพื่อป้องกันการแพร่ระบาด 0 35,050.00 -
15 ม.ค. 68 - 12 ต.ค. 68 ควบคุมป้องกันการระบาดของโรคไข้เลือดออก และพ่นสารเคมีกำจัดยุงลายตัวเต็มวัยใน โรงเรียน 9 แห่ง ศพด. 4 แห่ง ปีละ 2 ครั้ง 0 4,000.00 -
15 ม.ค. 68 - 12 ต.ค. 68 รณรงค์เคาะประตูบ้านป้องกันโรคไข้เลือดออกและโรคติดต่ออื่น ๆ ในชุมชน 0 5,000.00 -
รวม 0 74,050.00 0 0.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ประชาชน มีความรู้ ความเข้าใจ เรื่องโรคไข้เลือดออกและโรคติดต่ออื่นๆ สามารถดูแลตนเอง ครอบครัว และคนในชุมชนได้ 2.ชุมชนมีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพของคนในชุมชน และลดภาวะเสี่ยงต่อการเกิดโรคได้ 3.ค่า HI CI ในบ้านน้อยกว่าหรือเท่า 10 และค่า CI ในสถานบริการ เช่น วัด โรงเรียน และรพ.สต. เท่ากับ 0 4.จำนวนผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกลดลง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 12 ต.ค. 2567 14:25 น.