กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสตูล

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการป้องกันภาวะซีดและส่งเสริมโภชนาการ สูงดี สมส่วนในเด็กนักเรียน ปี 2568

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสตูล

ศูนย์สุขภาพชุมชนพิมาน ตำบลพิมาน อำเภอเมือง จังหวัดสตูล

นางสาวอภิชญา หิมมา ผู้รับผิดชอบโครงการหลัก โทร 0946072525
นางสาวพัฒนาวดี หลีนิ่ง หัวหน้าศูนย์สุขภาพชุมชนพิมาน PCU1
นางสาวตัสนิม จางวาง ผู้ช่วยโครงการ

อาคารนันทนาการผู้สูงอายุและพัฒนาอาชีพ เทศบาลเมืองสตูล

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของนักเรียนชั้นป.1 ที่มีภาวะซีด(จำนวน 229 ราย มีภาวะซีด 54 ราย )

ผลการตรวจคัดกรอง ปี 2565-2566 ตรวจคัดกรองความเข้มข้นเลือด 10 % ของนักเรียนทั้งหมด

23.58
2 ร้อยละของนักเรียน ชั้นป.1-ป.6 ที่มีภาวะซีด (จำนวน 160 ราย มีภาวะซีด 30 ราย )

 

18.75
3 ร้อยละของนักเรียน ชั้นป.1-ป.6 สูงดี สมส่วน (ชั่งน้ำหนัก 1,999 ราย สูงดี สมส่วน จำนวน 1,128 ราย)

 

56.43

ภาวะซีดหรือภาวะโลหิตจาง เป็นภาวะที่พบได้บ่อยในเด็กและเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญช่วงอายุที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก ได้แก่เด็กวัยเรียนอายุ 6-12 ปี โดยฉพาะนักเรียนชั้นป.1
ในปี2567 พบภาวะซีดมากกว่า ร้อยละ 30 ซึ่งมากกว่าเกณฑ์ที่กำหนด คือร้อยละ 20 อย่างไรก็ตามการขาดธาตุเหล็กในเด็กวัยเรียน ถือว่ามีความสำคัญไม่น้อยกว่าวัยอื่นๆ เนื่องจากการขาดธาตุเหล็กเรื้อรังในเด็กวัยนี้ส่งผลต่อพัฒนาการระดับสติปัญญา และความสามารถในการเรียนรู้ รวมถึงภาวะโภชนาการ สูงดี สมส่วน
ดังนี้ ในปี 2565 พบว่า นักเรียนที่ชั่งน้ำหนักทั้งหมด 2,138 ราย สูงดี สมส่วน จำนวน 1,187 ราย ร้อยละ 55.52 ปี 2566 นักเรียนที่ชั่งน้ำหนักทั้งหมด 1,911 ราย สูงดี สมส่วน จำนวน 1,050 ราย ร้อยละ 54.95 และในปี 2567 นักเรียนที่ชั่งน้ำหนักทั้งหมด 1,999 ราย สูงดี สมส่วน จำนวน 1,128 ราย ร้อยละ 56.43 ซึ่งมีจำนวนร้อยละที่ต่ำกว่ากระทรวงกำหนด คือ ร้อยละ 57
ดังนั้น การส่งเสริมความรู้ด้านโภชนาการ อาหารที่เหมาะสม เพื่อป้องกันภาวะซีด และมีโภชนาการที่สมส่วน การตรวจคัดกรองภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กการให้การป้องกันในกลุ่มที่เสี่ยงต่อการเกิดภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กและการให้การรักษาตั้งแต่ระยะเริ่มแรกจึงมีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตของร่างกายและสมอง จากการเก็บข้อมูลการเจาะความเข้มข้นของเลือดเด็กวัยเรียน อายุ 6-12 ปี ในงานอนามัยโรงเรียน ศูนย์สุขภาพชุมชนพิมาน ย้อนหลัง 3 ปี พบภาวะซีด ความเข้มข้นของเลือดต่ำกว่า 33 %
ตั้งแต่ ปี 2565-2567 ปี 2565-2566 ตรวจคัดกรองความเข้มข้นเลือด 10 % ของนักเรียนทั้งหมด ชั้นป.1-ป.6 จำนวน 160 ราย มีภาวะซีด 30 ราย คิดเป็นร้อยละ 18.75 ซึ่งพบมากในเด็กชั้น ป.1 มากที่สุด
ในปี 2567 กระทรวงสาธารณสุขมีนโยบายคัดกรองภาวะซีดในเด็กชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ร้อยละ 100 เพื่อค้นหาเด็กที่มีภาวะซีดและรับการรักษาต่อไป
ศูนย์สุขภาพชุมชนพิมาน งานอนามัยโรงเรียนคัดกรองภาวะซีด พบว่า การตรวจความเข้มข้นเลือดนักเรียนชั้นป.1 จำนวน 229 ราย มีภาวะซีด 54 ราย คิดเป็นร้อยละ 23.58 ซึ่งนักเรียนชั้นป.1 ดังกล่าวได้รับการรักษานัดตรวจซ้ำพบผลเลือดปกติร้อยละ 100 และ จากปัญหาที่พบ ในปีงบประมาณ 2568 ทางศูนย์สุขภาพชุมชนพิมานได้จัดทำโครงการแก้ปัญหาซีดและโภชนาการ สูงดี สมส่วนในวัยเรียน ปี 2568 เพื่อให้เด็กได้รับการคัดกรองภาวะซีด ติดตามทานยาต่อเนื่อง 1 และในรายที่ติดตาม 3 ครั้งค่าความเข้มข้นเลือดไม่เพิ่มขึ้น ส่งต่อรักษาแพทย์ โรงพยาบาลสตูลต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อคัดกรองภาวะซีดในเด็กนักเรียน

ร้อยละ 100 ของเด็กวัยเรียนได้รับการคัดกรองความเข้มข้นของเลือด

300.00 300.00
2 เพื่อให้เด็กวัยเรียนที่ได้รับการติดตามแล้วยังพบภาวะซีดได้รับการส่งต่อพบแพทย์เพื่อรับการรักษาต่อไป

ร้อยละ 100 ของเด็กวัยเรียนที่ได้รับการทานยา ได้รับการส่งต่อในการรักษาโดยแพทย์

0.00 100.00
3 เพื่อให้ผู้ปกครองและเด็กวัยเรียน มีความรู้เรื่องโภชนาการอาหารที่เหมาะสบกับภาวะซีด สูงดี สมส่วนในวัยเรียน

ผู้ปกครองและเด็กวัยเรียนมีความรู้ความเข้าใจอย่างน้อย ร้อยละ 80 หลังเข้าร่วมโครงการ

0.00 80.00
4 นักเรียนที่มีภาวะซีดได้รับการทานยาเสริมธาตุเหล็ก

ร้อยละ 100 ของเด็กที่มีภาวะซีดทานยาเสริมธาตุเหล็กต่อเนื่องทุกวัน เป็นระยะเวลา 1 เดือน และเจาะเลือดซ้ำ

0.00 100.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 300
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
ครู วิทยากร และเจ้าหน้าที่ดำเนินโครงการ 10
นักเรียนที่คัดกรองแล้วพบภาวะซีดปี67 40
ผู้ปกครองนักเรียนที่มีปัญหาภาวะซีด 10

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/02/2025

กำหนดเสร็จ 30/09/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมคัดกรองภาวะซีดในเด็กวัยเรียน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมคัดกรองภาวะซีดในเด็กวัยเรียน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รูปแบบวิธีการคัดกรองความเข้มข้นเลือดในเด็กวัยเรียน
1. ทำหนังสือถึงผู้อำนายการโรงเรียนอนุบาลสตูล โรงเรียนอนุบาลทักษิณสยาม
2. สำรวจใบตอบรับอนุญาตผู้ปกครอง ในการดำเนินการเจาะความเข้มข้นเลือดในนักเรียน
3. จัดทำแผนการดำเนินงานเจาะความเข้มข้นเลือดในโรงเรียน
4. ดำเนินการตามแผน เจาะความเข้มข้นเลือด ในนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ทุกคน
5. หากพบนักเรียนที่มีค่าความเข้มข้นเลือด น้อยกว่า 35% (ตามแนวทางการดำเนิงานอนามัยโรงเรียน สสจ.สตูล) ให้ยาเสริมธาตุเหล็ก ทานวันละ 1 เม็ด X 30 และเฝ้าติดตามเจาะซ้ำ ในระยะเวลา 3 เดือน งบประมาณ
1. จัดซื้อแผ่นตรวจ HemoCue Hb 801 Microcuvettes ราคาแผ่นละ 25 บาท จำนวน 300 คน เป็นเงิน 7,500 บาท
2. นำเด็กที่มีภาวะซีด ค่าความเข้มข้นเลือด น้อยกว่า 35 % ให้ยาเสริมธาตุเหล็ก Ferrous Fumarate 200 mg. ทานวันละ 1 เม็ด X 30 และเฝ้าติดตามเจาะซ้ำ ในระยะเวลา 3 เดือน

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2568 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เด็กวัยเรียนได้รับการคัดกรองภาวะซีด และติดตามรักษาต่อเนื่อง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
7500.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้เรื่องโภชนาการอาหารที่เหมาะสมกับภาวะซีด สูงดี สมส่วนในวัยเรียน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้เรื่องโภชนาการอาหารที่เหมาะสมกับภาวะซีด สูงดี สมส่วนในวัยเรียน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

การคัดเลือกกลุ่มเป้าหมายในการอบรม ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่1 ที่มีค่าความเข้มข้นเลือดน้อยกว่า 35 % ผู้ปกครองนักเรียนที่มีภาวะซีด จำนวน 10 คน
กำหนดการอบรมเชิงปฏิบัติการโครงการแก้ปัญหาซีดและโภชาการ สูงดี สมส่วนในวัยเรียน ปี 2568 อบรมให้ความรู้เรื่องโภชนาการอาหารที่เหมาะสมกับภาวะซีด สูงดี สมส่วนในวัยเรียน
เวลา 08.30 – 09.00 น. ลงทะเบียน/พิธีเปิดโครงการ
เวลา 09.00 - 12.00 น.ความรู้เรื่องโภชนาการอาหารที่เหมาะสมสำหรับภาวะซีดในวัยเรียน วิทยากรโดย นักโภชนาการ รพ.สตูล
เวลา 12.00 - 13.00 น. พักรับประทานอาหารเที่ยง
เวลา 13.00 - 16.00 น. ความรู้เรื่องโภชนาการอาหารที่เหมาะสมในเด็กวัยเรียนนำไปสู่ สูงดี สมส่วน วิทยากรโดยนักโภชนาการ รพ.สตูล
เวลา 16.15 - 16.30 น. สรุปโครงการ
หมายเหตุเวลา 10.30 – 10.45 น. พักรับประทานอาหารว่างและเครื่องดื่มเวลา 14.30 - 14.45 น.
พักรับประทานอาหารว่างและเครื่องดื่ม /กำหนดการอาจมีการเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสม
งบประมาณ
1.ค่าวิทยากร 2 คน คนละ 300 บาทX3 ชม. = 1,800 บาท
2.ค่าอาหารกลางวัน+น้ำ (นักเรียน+ผู้ปกครอง+ครู+วิทยากร+เจ้าหน้าที่ดำเนินโครงการ) 75X60 = 4,500 บาท
3.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม เช้า+บ่าย 30x2x60คน = 3,600 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2568 ถึง 31 พฤษภาคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

หลังเข้าร่วมโครงการผู้ปครองและนักเรียน มีความรู้ เพิ่มขึ้นร้อยละ 80

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
9900.00

กิจกรรมที่ 3 การติดตามประเมินซ้ำหลังให้ยาเสริมธาตุเหล็ก

ชื่อกิจกรรม
การติดตามประเมินซ้ำหลังให้ยาเสริมธาตุเหล็ก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.เมื่อครบ 3 เดือน ติดตามเจาะเลือดเพื่อประเมินภาวะซีดซ้ำ กรณีพบนักเรียนที่ยังมีความเข้มข้นเลือดต่ำกว่าเกณฑ์ แจ้งประสานครูอนามัยโรงเรียนและผู้ปกครองเพื่อนำนักเรียนตรวจรักษาโดยแพทย์ต่อไป
2.สรุปผลการดำเนินงานโครงการและจัดทำรายงานกลับมายังกองทุนฯ
งบประมาณ
1.สรุปผลการดำเนินงาน จำนวน 2 เล่ม เล่มละ 250 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กันยายน 2568 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เล่มรายงานสรุปผลการดำเนินโครงการ จำนวน 2 เล่ม

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
500.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 17,900.00 บาท

หมายเหตุ :
ทุกรายการถัวเฉลี่ยได้

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.เด็กวัยเรียนได้รับการคัดกรองภาวะซีด และได้รับการติดตาม ร้อยละ100
2.เด็กวัยเรียนได้รับการส่งต่อการรักษาโดยแพทย์ ร้อยละ 100 กรณีติดตาม 3 ครั้งแล้ว ค่าความเข้มข้นเลือดไม่เพิ่มขึ้น
3.ผู้ปกครองและเด็กวัยเรียนได้รับความรู้เรื่องโภชนาการอาหารที่เหมาะสบกับภาวะซีด สูงดี สมส่วนในวัยเรียน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 80


>