กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการป้องกันภาวะซีดและส่งเสริมโภชนาการ สูงดี สมส่วนในเด็กนักเรียน ปี 2568
รหัสโครงการ 68-L8008-01-12
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์สุขภาพชุมชนพิมาน ตำบลพิมาน อำเภอเมือง จังหวัดสตูล
วันที่อนุมัติ 10 มกราคม 2568
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กุมภาพันธ์ 2568 - 30 กันยายน 2568
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ตุลาคม 2568
งบประมาณ 17,900.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวอภิชญา หิมมา
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 ก.พ. 2568 30 ก.ย. 2568 17,900.00
รวมงบประมาณ 17,900.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 300 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

ระบุ

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของนักเรียนชั้นป.1 ที่มีภาวะซีด(จำนวน 229 ราย มีภาวะซีด 54 ราย )

ผลการตรวจคัดกรอง ปี 2565-2566 ตรวจคัดกรองความเข้มข้นเลือด 10 % ของนักเรียนทั้งหมด

23.58
2 ร้อยละของนักเรียน ชั้นป.1 ที่มีภาวะซีด (จำนวน 160 ราย มีภาวะซีด 30 ราย )
18.75
3 ร้อยละของนักเรียน ชั้นป.1-ป.6 สูงดี สมส่วน (ชั่งน้ำหนัก 1,999 ราย สูงดี สมส่วน จำนวน 1,128 ราย)
56.43

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ภาวะซีดหรือภาวะโลหิตจาง เป็นภาวะที่พบได้บ่อยในเด็กและเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญช่วงอายุที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก ได้แก่เด็กวัยเรียนอายุ 6-12 ปี โดยฉพาะนักเรียนชั้นป.1 ในปี2567 พบภาวะซีดมากกว่า ร้อยละ 30 ซึ่งมากกว่าเกณฑ์ที่กำหนด คือร้อยละ 20 อย่างไรก็ตามการขาดธาตุเหล็กในเด็กวัยเรียน ถือว่ามีความสำคัญไม่น้อยกว่าวัยอื่นๆ เนื่องจากการขาดธาตุเหล็กเรื้อรังในเด็กวัยนี้ส่งผลต่อพัฒนาการระดับสติปัญญา และความสามารถในการเรียนรู้ รวมถึงภาวะโภชนาการ สูงดี สมส่วน
ดังนี้ ในปี 2565 พบว่า นักเรียนที่ชั่งน้ำหนักทั้งหมด 2,138 ราย สูงดี สมส่วน จำนวน 1,187 ราย ร้อยละ 55.52 ปี 2566 นักเรียนที่ชั่งน้ำหนักทั้งหมด 1,911 ราย สูงดี สมส่วน จำนวน 1,050 ราย ร้อยละ 54.95 และในปี 2567 นักเรียนที่ชั่งน้ำหนักทั้งหมด 1,999 ราย สูงดี สมส่วน จำนวน 1,128 ราย ร้อยละ 56.43 ซึ่งมีจำนวนร้อยละที่ต่ำกว่ากระทรวงกำหนด คือ ร้อยละ 57
ดังนั้น การส่งเสริมความรู้ด้านโภชนาการ อาหารที่เหมาะสม เพื่อป้องกันภาวะซีด และมีโภชนาการที่สมส่วน การตรวจคัดกรองภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กการให้การป้องกันในกลุ่มที่เสี่ยงต่อการเกิดภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กและการให้การรักษาตั้งแต่ระยะเริ่มแรกจึงมีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตของร่างกายและสมอง จากการเก็บข้อมูลการเจาะความเข้มข้นของเลือดเด็กวัยเรียน อายุ 6-12 ปี ในงานอนามัยโรงเรียน ศูนย์สุขภาพชุมชนพิมาน ย้อนหลัง 3 ปี พบภาวะซีด ความเข้มข้นของเลือดต่ำกว่า 33 %
ตั้งแต่ ปี 2565-2567 ปี 2565-2566 ตรวจคัดกรองความเข้มข้นเลือด 10 % ของนักเรียนทั้งหมด ชั้นป.1-ป.6 จำนวน 160 ราย มีภาวะซีด 30 ราย คิดเป็นร้อยละ 18.75 ซึ่งพบมากในเด็กชั้น ป.1 มากที่สุด ในปี 2567 กระทรวงสาธารณสุขมีนโยบายคัดกรองภาวะซีดในเด็กชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ร้อยละ 100 เพื่อค้นหาเด็กที่มีภาวะซีดและรับการรักษาต่อไป
ศูนย์สุขภาพชุมชนพิมาน งานอนามัยโรงเรียนคัดกรองภาวะซีด พบว่า การตรวจความเข้มข้นเลือดนักเรียนชั้นป.1 จำนวน 229 ราย มีภาวะซีด 54 ราย คิดเป็นร้อยละ 23.58 ซึ่งนักเรียนชั้นป.1 ดังกล่าวได้รับการรักษานัดตรวจซ้ำพบผลเลือดปกติร้อยละ 100 และ จากปัญหาที่พบ ในปีงบประมาณ 2568 ทางศูนย์สุขภาพชุมชนพิมานได้จัดทำโครงการแก้ปัญหาซีดและโภชนาการ สูงดี สมส่วนในวัยเรียน ปี 2568 เพื่อให้เด็กได้รับการคัดกรองภาวะซีด ติดตามทานยาต่อเนื่อง 1 และในรายที่ติดตาม 3 ครั้งค่าความเข้มข้นเลือดไม่เพิ่มขึ้น ส่งต่อรักษาแพทย์ โรงพยาบาลสตูลต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อคัดกรองภาวะซีดในเด็กนักเรียน

ร้อยละ 100 ของเด็กวัยเรียนได้รับการคัดกรองความเข้มข้นของเลือด

300.00 300.00
2 เพื่อให้เด็กวัยเรียนที่ได้รับการติดตามแล้วยังพบภาวะซีดได้รับการส่งต่อพบแพทย์เพื่อรับการรักษาต่อไป

ร้อยละ 100 ของเด็กวัยเรียนที่ได้รับการทานยา ได้รับการส่งต่อในการรักษาโดยแพทย์

0.00 100.00
3 เพื่อให้ผู้ปกครองและเด็กวัยเรียน มีความรู้เรื่องโภชนาการอาหารที่เหมาะสบกับภาวะซีด สูงดี สมส่วนในวัยเรียน

ผู้ปกครองและเด็กวัยเรียนมีความรู้ความเข้าใจอย่างน้อย ร้อยละ 80 หลังเข้าร่วมโครงการ

0.00 80.00
4 นักเรียนที่มีภาวะซีดได้รับการทานยาเสริมธาตุเหล็ก

ร้อยละ 100 ของเด็กที่มีภาวะซีดทานยาเสริมธาตุเหล็กต่อเนื่องทุกวัน เป็นระยะเวลา 1 เดือน และเจาะเลือดซ้ำ

0.00 100.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
1 ก.พ. 68 - 30 ก.ย. 68 กิจกรรมคัดกรองภาวะซีดในเด็กวัยเรียน 0 7,500.00 7,500.00
1 เม.ย. 68 - 31 พ.ค. 68 กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้เรื่องโภชนาการอาหารที่เหมาะสมกับภาวะซีด สูงดี สมส่วนในวัยเรียน 0 9,900.00 9,900.00
1 - 30 ก.ย. 68 การติดตามประเมินซ้ำหลังให้ยาเสริมธาตุเหล็ก 0 500.00 -
รวม 0 17,900.00 2 17,400.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.เด็กวัยเรียนได้รับการคัดกรองภาวะซีด และได้รับการติดตาม ร้อยละ100
2.เด็กวัยเรียนได้รับการส่งต่อการรักษาโดยแพทย์ ร้อยละ 100 กรณีติดตาม 3 ครั้งแล้ว ค่าความเข้มข้นเลือดไม่เพิ่มขึ้น
3.ผู้ปกครองและเด็กวัยเรียนได้รับความรู้เรื่องโภชนาการอาหารที่เหมาะสบกับภาวะซีด สูงดี สมส่วนในวัยเรียน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 80

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 15 ต.ค. 2567 14:11 น.