2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
3. สถานการณ์
โรคไม่ติดต่อยังคงเป็นปัญหาสุขภาพอันดับหนึ่งของประชาชนไทยทั้งในแง่ภาระโรค และอัตราการเสียชีวิตอัตราการเสียชีวิตก่อนวัยอันควร (30 - 69 ปี) จากโรคไม่ติดต่อที่สำคัญประกอบด้วย โรคหลอดเลือดสมอง, โรคหัวใจขาดเลือด, โรคเบาหวาน, ภาวะความดันโลหิตสูง และโรคทางเดินหายใจอุดกั้นเรื้อรัง มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2557 ถึง ปี พ.ศ. 2559 หลังจากนั้น มีแนวโน้มลดลงเล็กน้อยและคงที่ ในปี พ.ศ. 2561 สำหรับสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดโรคดังกล่าว มักเกิดจาก“กรรมพันธุ์และพฤติกรรม” ตามที่นโยบายของกระทรวงสาธารณสุขได้ไห้ความสำคัญกับกระบวนการมีส่วนร่วมของทุกคนภาคส่วนในสังคมในการพัฒนาประเทศด้านต่าง ๆ โดยเฉพาะด้านการเสริมสร้างสุขภาวะให้คนไทยมีสุขภาพแข็งแรงทั้งกายและใจ สามารถดูแลตนเองได้โดยมุ่งเน้นการวิจัยและพัฒนาทุนสังคม และภูมิปัญญาชุมชน ตลอดจนการมีส่วนร่วมของพื้นที่ในระดับท้องถิ่น กระทรวงสาธารณสุขได้กำหนดเกณฑ์ชี้วัดความสำเร็จของการสร้างสุขภาวะให้คนไทยแข็งแรง ส่วนหนึ่งนั้นโดยได้กำหนดตัวชี้วัดของโรคไม่ติดต่อ ได้แก่ โรคความดันโลหิตสูง โรคอัมพฤกษ์ อัมพาต โรคเบาหวาน โรคหลอดเลือดหัวใจ โดยกำหนดให้มีกิจกรรมการคัดกรอง ค้นหาผู้ป่วยในชุมชน และให้มีการลดละกิจกรรมเสี่ยงอันได้แก่ละเลิกการสูบบุหรี่ ดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ลดอาหารที่มีรสหวาน มัน เค็ม และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานผักผลไม้เพิ่มขึ้น มีการออกกำลังกายเป็นประจำ ลดภาวะน้ำหนักเกิน การดำเนินงานให้ประสบความสำเร็จอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืนนั้นจำเป็นจะต้องอาศัยการมีส่วนร่วมจากทุกภาคทุกส่วนที่เกี่ยวข้อง และการกำหนดยุทธศาสตร์ที่เหมาะสมของพื้นที่
จากจำนวนประชากรอายุ 35 ปีที่ได้รับการคัดกรองเพื่อวินิจฉัยเบาหวาน ในปีงบประมาณ 2567 จำนวน 660 คน มีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน 542 คน พบผู้ป่วยโรคเบาหวานของตำบลนาประดู่ในปี 2567 จำนวน 150 คน คิดเป็นร้อยละ 27.67 ของประชาชากร และพบว่ากลุ่มผู้ป่วยดังกล่าวมีระดับน้ำตาลในเลือดที่สูง ซึ่งเสี่ยงต่อการเกิดโรคแทรกซ้อนทางไต และภาวะแทรกซ้อนของโรคอื่น ๆ อันจะส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยได้
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนาประดู่ มุ่งหวังเพิ่มประสิทธิภาพในการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวาน จึงได้จัดทำโครงการคู่คิดพิชิตเบาหวาน เพื่อให้ผู้ป่วยปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ส่งผลในอาการของโรคแย่ลง โดยมีอาสาสมัครสาธารณสุขเข้ามามีส่วนร่วมในการช่วยเป็นคู่คิดในการปรับเปลี่ยน และเฝ้าระวังสังเกตอาการผิดปกติร่วมกัน อันจะส่งผลให้ผู้ป่วยสามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด
- บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
- ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
5. กลุ่มเป้าหมาย
6. ระยะเวลาดำเนินงาน
วันเริ่มต้น 01/11/2024
กำหนดเสร็จ 30/09/2025
7. วิธีการดำเนินงาน
- กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
- งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด
หมายเหตุ :
8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง
ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?- ผู้ป่วยเบาหวานมีความรู้ ความเข้าใจ และเกิดความตระหนักถึงความสำคัญในการดูแลตนเอง
- ผู้ป่วยเบาหวานที่เข้าร่วมกิจกรรมสามารถควบคุมระดับน้ำตาลให้อยู่ในเกณฑ์ควบคุมได้
- สามารถป้องกัน/ลดการเกิดภาวะแทรกซ้อนของผู้ป่วยโรคเบาหวานที่มาร่วมกิจกรรม