กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการคู่คิดพิชิตเบาหวาน
รหัสโครงการ 68-L2981-1-05
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนาประดู่
วันที่อนุมัติ 29 ตุลาคม 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤศจิกายน 2567 - 30 กันยายน 2568
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2568
งบประมาณ 29,210.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสุธาทิพย์ จันทคุตโต
พี่เลี้ยงโครงการ นางฟาฏิมะฮ จารู
พื้นที่ดำเนินการ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนาประดู่ อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 20 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 106 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไม่ติดต่อยังคงเป็นปัญหาสุขภาพอันดับหนึ่งของประชาชนไทยทั้งในแง่ภาระโรค และอัตราการเสียชีวิตอัตราการเสียชีวิตก่อนวัยอันควร (30 - 69 ปี) จากโรคไม่ติดต่อที่สำคัญประกอบด้วย โรคหลอดเลือดสมอง, โรคหัวใจขาดเลือด, โรคเบาหวาน, ภาวะความดันโลหิตสูง และโรคทางเดินหายใจอุดกั้นเรื้อรัง มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2557 ถึง ปี พ.ศ. 2559 หลังจากนั้น มีแนวโน้มลดลงเล็กน้อยและคงที่ ในปี พ.ศ. 2561 สำหรับสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดโรคดังกล่าว มักเกิดจาก“กรรมพันธุ์และพฤติกรรม” ตามที่นโยบายของกระทรวงสาธารณสุขได้ไห้ความสำคัญกับกระบวนการมีส่วนร่วมของทุกคนภาคส่วนในสังคมในการพัฒนาประเทศด้านต่าง ๆ โดยเฉพาะด้านการเสริมสร้างสุขภาวะให้คนไทยมีสุขภาพแข็งแรงทั้งกายและใจ สามารถดูแลตนเองได้โดยมุ่งเน้นการวิจัยและพัฒนาทุนสังคม และภูมิปัญญาชุมชน ตลอดจนการมีส่วนร่วมของพื้นที่ในระดับท้องถิ่น กระทรวงสาธารณสุขได้กำหนดเกณฑ์ชี้วัดความสำเร็จของการสร้างสุขภาวะให้คนไทยแข็งแรง ส่วนหนึ่งนั้นโดยได้กำหนดตัวชี้วัดของโรคไม่ติดต่อ ได้แก่ โรคความดันโลหิตสูง โรคอัมพฤกษ์ อัมพาต โรคเบาหวาน โรคหลอดเลือดหัวใจ โดยกำหนดให้มีกิจกรรมการคัดกรอง ค้นหาผู้ป่วยในชุมชน และให้มีการลดละกิจกรรมเสี่ยงอันได้แก่ละเลิกการสูบบุหรี่ ดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ลดอาหารที่มีรสหวาน มัน เค็ม และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานผักผลไม้เพิ่มขึ้น มีการออกกำลังกายเป็นประจำ ลดภาวะน้ำหนักเกิน การดำเนินงานให้ประสบความสำเร็จอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืนนั้นจำเป็นจะต้องอาศัยการมีส่วนร่วมจากทุกภาคทุกส่วนที่เกี่ยวข้อง และการกำหนดยุทธศาสตร์ที่เหมาะสมของพื้นที่
จากจำนวนประชากรอายุ 35 ปีที่ได้รับการคัดกรองเพื่อวินิจฉัยเบาหวาน ในปีงบประมาณ 2567 จำนวน 660 คน มีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน 542 คน พบผู้ป่วยโรคเบาหวานของตำบลนาประดู่ในปี 2567 จำนวน 150 คน คิดเป็นร้อยละ 27.67 ของประชาชากร และพบว่ากลุ่มผู้ป่วยดังกล่าวมีระดับน้ำตาลในเลือดที่สูง ซึ่งเสี่ยงต่อการเกิดโรคแทรกซ้อนทางไต และภาวะแทรกซ้อนของโรคอื่น ๆ อันจะส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยได้ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนาประดู่ มุ่งหวังเพิ่มประสิทธิภาพในการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวาน จึงได้จัดทำโครงการคู่คิดพิชิตเบาหวาน เพื่อให้ผู้ป่วยปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ส่งผลในอาการของโรคแย่ลง โดยมีอาสาสมัครสาธารณสุขเข้ามามีส่วนร่วมในการช่วยเป็นคู่คิดในการปรับเปลี่ยน และเฝ้าระวังสังเกตอาการผิดปกติร่วมกัน อันจะส่งผลให้ผู้ป่วยสามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้เกิดภาคีเครือข่ายความร่วมมือในการดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวาน

เกิดภาคีเครือข่ายความร่วมมือในการดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวาน

126.00 126.00
2 เพื่อให้ผู้ป่วยโรคเบาหวานและผู้ดูแลมีความรู้ ความเข้าใจ การดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวานให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ

ผู้ป่วยโรคเบาหวานและผู้ดูแลมีความรู้ ความเข้าใจ การดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวานให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ

126.00 126.00
3 เพื่อให้ผู้ป่วยโรคเบาหวานที่เข้าร่วมกิจกรรมสามารถควบคุมระดับน้ำตาลให้อยู่ในเกณฑ์ควบคุมได้

ผู้ป่วยโรคเบาหวานที่เข้าร่วมกิจกรรมสามารถควบคุมระดับน้ำตาลให้อยู่ในเกณฑ์ควบคุมได้

126.00 126.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 29,210.00 0 0.00
1 พ.ย. 67 - 30 ก.ย. 68 อบรมให้ความรู้ 0 29,210.00 -
1 พ.ย. 67 - 30 ก.ย. 68 เจาะเลือดเพื่อหาค่าระดับน้ำตาลสะสมในกลุ่มผู้ป่วยโรคเหวาน 0 0.00 -
1 พ.ย. 67 - 30 ก.ย. 68 ติดตามประเมินผลระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วย เพื่อประเมินการดูแลตนเองของผู้ป่วย ทุก 3 เดือน 0 0.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  • ผู้ป่วยเบาหวานมีความรู้ ความเข้าใจ และเกิดความตระหนักถึงความสำคัญในการดูแลตนเอง

  • ผู้ป่วยเบาหวานที่เข้าร่วมกิจกรรมสามารถควบคุมระดับน้ำตาลให้อยู่ในเกณฑ์ควบคุมได้

  • สามารถป้องกัน/ลดการเกิดภาวะแทรกซ้อนของผู้ป่วยโรคเบาหวานที่มาร่วมกิจกรรม

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 15 ต.ค. 2567 14:19 น.