2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
3. สถานการณ์
โรคมะเร็งเป็นปัญหาสาธารณสุขสำคัญของประเทศไทยสำหรับ 5 อันดับแรกของมะเร็งที่พบบ่อยที่สุด ได้แก่มะเร็งตับและท่อน้ำดี มะเร็งปอด มะเร็งปากมดลูก มะเร็งเต้านม และมะเร็งลำไส้ใหญ่ (ตามลำดับ) ซึ่ง 1 ใน 3 ของผู้ป่วยที่เสียชีวิตจากมะเร็ง เกิดจากการมีพฤติกรรมทางด้านสุขภาพที่ไม่เหมาะสม ได้แก่ การสูบบุหรี่ การดื่มสุรา การมีน้ำหนักตัวที่มากเกินไป การรับประทานอาหารประเภทผักและผลไม้ที่น้อยเกินไป รวมทั้งการขาด การออกกำลังกายที่เพียงพอ การควบคุมมะเร็งให้มีประสิทธิภาพ นอกจากการปรับพฤติกรรม สุขภาพแล้ว มีหลักฐานการศึกษาที่ชัดเจนว่าการตรวจคัดกรองเพื่อตรวจหารอยโรคก่อนมะเร็ง และมะเร็ง ตั้งแต่ระยะเริ่มแรก สามารถลดอัตราการเสียชีวิตจากโรคมะเร็งที่สำคัญได้ โดยเฉพาะมะเร็งปากมดลูก มะเร็งเต้านม มะเร็งลำไส้ใหญ่ และมะเร็งปอด ซึ่งเป็นมะเร็งที่พบได้บ่อยโดยมะเร็งปากมดลูกมะเร็งเต้านมและมะเร็งลำไส้เป็นโรคมะเร็งที่พบได้บ่อยที่สุดและมีอัตราการเสียชีวิตมากที่สุดโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านศาลาตำเสาปีงบประมาณ 2567 พบว่าโรคมะเร็งเป็นสาเหตุการตายลำดับ 2 รองจากโรคชรา สำหรับการตรวจมะเร็งปากมดลูกแม้จะเป็นวิธีการตรวจคัดกรองที่ง่ายสะดวกแต่พบว่ากลุ่มเป้าหมายจำนวนมากยังมีทัศนคติและความเขินอายในการตรวจ สำหรับมะเร็งเต้านมกลุ่มเป้าหมายสามารถตรวจคัดกรองได้เองทุกเดือนหรือสามารถเข้ารับการตรวจโดยบุคลากรทางการแพทย์สถานบริการสาธารณสุขใกล้บ้านนอกจากจะสะดวกรวดเร็วและประหยัดค่าใช้จ่ายแล้วความจำเป็นในการตรวจคัดกรองเพื่อเป็นการหาเซลล์มะเร็งให้พบในระยะเริ่มแรกเพื่อรักษาให้หายขาดได้สำหรับมะเร็งลำไส้และมะเร็งตับเป็นมะเร็งที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปีเช่นกันนอกจากนั้นแล้วยังมีการป้องกันมะเร็งปากมดลูกในเด็กนักเรียนหญิงอายุ 11 - 20 ปี ซึ่งการฉีดป้องกันตั้งแต่ระยะเริ่มต้น
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านศาลาตำเสาได้เล็งเห็นถึงปัญหา และความสำคัญร่วมถึงตอบสนองนโยบายด้านสาธารณสุขประเด็น"มะเร็งครบวงจร" จึงจัดทำฌครงการพัฒนาระบบบริการ "มะเร็งครบวงจร"รพ.สต.บ้านศาลาตำเสา ประจำปีงบประมาณ 2568 ขึ้นโดยการให้ความรู้สร้างความตระหนักและกระตุ้นการตรวจคัดกรองมะเร็งเพิ่มมากขึ้นเพื่อค้นหาผู้ป่วยรายใหม่ให้รับการรักษาที่รวดเร็วเหมาะสมรวมไปถึงการติดตามผู้ป่วยรายใหม่ในระยะเริ่มต้นสู่กระบวนการรักษาที่ต่อเนื่องช่วยลดอัตราตายต่อไป
4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด
- บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
- ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
5. กลุ่มเป้าหมาย
6. ระยะเวลาดำเนินงาน
วันเริ่มต้น 03/02/2025
กำหนดเสร็จ 31/08/2025
7. วิธีการดำเนินงาน
- กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
- งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด
หมายเหตุ :
8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง
ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?1.ประชาชนกลุ่มเป้าหมายรับรู้ปัจจัยและพฤติกรรมเสี่ยงโรคมะเร็งมีความรู้ในการป้องกันการเกิดโรคเพื่อลดอัตราป่วยมะเร็งรายใม่และอัตราการตายด้วยโรคมะเร็ง
2.กลุ่มเป้าหมายได้รับการตรวจคัดกรองมากขึ้นและเข้าสู่กระบวนการรักษาอย่างรวดเร็วในรายที่ผิดปกติ
3.อัตราการป่วยและอัตราการตายจากโรคมะเร็งลดลง
4.ผู้ป่วยโรคมะเร็งได้รับการดูแลตามมาตรฐานการดูแลและการพยาบาลระยะท้าย