โครงการพัฒนาระบบบริการ"มะเร็งครบวงจร"
ชื่อโครงการ | โครงการพัฒนาระบบบริการ"มะเร็งครบวงจร" |
รหัสโครงการ | 68-50105-01-02 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต. |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านศาลาตำเสา |
วันที่อนุมัติ | 22 มกราคม 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 3 กุมภาพันธ์ 2568 - 31 สิงหาคม 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | |
งบประมาณ | 16,525.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางศิรานันท์ บุตรบุรี |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | |
ละติจูด-ลองจิจูด | place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ | ||
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง | 1546 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง : |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด | |||
---|---|---|---|---|
1 | ร้อยละ90ของสตรีกลุ่มเป้าหมายอายุ30-70ปี ได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม | 93.00 | ||
2 | ร้อยละสตรีกลุ่มเป้าหมายอายุ30-60ปี ได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก HPV DNA TEST | 20.00 | ||
3 | ร้อยละของกลุ่มเป้าหมายได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่และลำไส้ตรงและส่งต่อได้รวดเร็ว | 90.00 | ||
4 | ร้อยละของกลุ่มเป้าหมายได้รับการตรวจคัดกรองไวรัสตับอักเสบบีและซีและส่งต่อได้รวดเร็ว | 80.00 | ||
5 | ร้อยละของเด็กนักเรียนหญิง อายุ 11-20ปีในโรงเรียนเขตรับผิดชอบได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก | 90.00 |
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
โรคมะเร็งเป็นปัญหาสาธารณสุขสำคัญของประเทศไทยสำหรับ 5 อันดับแรกของมะเร็งที่พบบ่อยที่สุด ได้แก่มะเร็งตับและท่อน้ำดี มะเร็งปอด มะเร็งปากมดลูก มะเร็งเต้านม และมะเร็งลำไส้ใหญ่ (ตามลำดับ) ซึ่ง 1 ใน 3 ของผู้ป่วยที่เสียชีวิตจากมะเร็ง เกิดจากการมีพฤติกรรมทางด้านสุขภาพที่ไม่เหมาะสม ได้แก่ การสูบบุหรี่ การดื่มสุรา การมีน้ำหนักตัวที่มากเกินไป การรับประทานอาหารประเภทผักและผลไม้ที่น้อยเกินไป รวมทั้งการขาด การออกกำลังกายที่เพียงพอ การควบคุมมะเร็งให้มีประสิทธิภาพ นอกจากการปรับพฤติกรรม สุขภาพแล้ว มีหลักฐานการศึกษาที่ชัดเจนว่าการตรวจคัดกรองเพื่อตรวจหารอยโรคก่อนมะเร็ง และมะเร็ง ตั้งแต่ระยะเริ่มแรก สามารถลดอัตราการเสียชีวิตจากโรคมะเร็งที่สำคัญได้ โดยเฉพาะมะเร็งปากมดลูก มะเร็งเต้านม มะเร็งลำไส้ใหญ่ และมะเร็งปอด ซึ่งเป็นมะเร็งที่พบได้บ่อยโดยมะเร็งปากมดลูกมะเร็งเต้านมและมะเร็งลำไส้เป็นโรคมะเร็งที่พบได้บ่อยที่สุดและมีอัตราการเสียชีวิตมากที่สุดโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านศาลาตำเสาปีงบประมาณ 2567 พบว่าโรคมะเร็งเป็นสาเหตุการตายลำดับ 2 รองจากโรคชรา สำหรับการตรวจมะเร็งปากมดลูกแม้จะเป็นวิธีการตรวจคัดกรองที่ง่ายสะดวกแต่พบว่ากลุ่มเป้าหมายจำนวนมากยังมีทัศนคติและความเขินอายในการตรวจ สำหรับมะเร็งเต้านมกลุ่มเป้าหมายสามารถตรวจคัดกรองได้เองทุกเดือนหรือสามารถเข้ารับการตรวจโดยบุคลากรทางการแพทย์สถานบริการสาธารณสุขใกล้บ้านนอกจากจะสะดวกรวดเร็วและประหยัดค่าใช้จ่ายแล้วความจำเป็นในการตรวจคัดกรองเพื่อเป็นการหาเซลล์มะเร็งให้พบในระยะเริ่มแรกเพื่อรักษาให้หายขาดได้สำหรับมะเร็งลำไส้และมะเร็งตับเป็นมะเร็งที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปีเช่นกันนอกจากนั้นแล้วยังมีการป้องกันมะเร็งปากมดลูกในเด็กนักเรียนหญิงอายุ 11 - 20 ปี ซึ่งการฉีดป้องกันตั้งแต่ระยะเริ่มต้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านศาลาตำเสาได้เล็งเห็นถึงปัญหา และความสำคัญร่วมถึงตอบสนองนโยบายด้านสาธารณสุขประเด็น"มะเร็งครบวงจร" จึงจัดทำฌครงการพัฒนาระบบบริการ "มะเร็งครบวงจร"รพ.สต.บ้านศาลาตำเสา ประจำปีงบประมาณ 2568 ขึ้นโดยการให้ความรู้สร้างความตระหนักและกระตุ้นการตรวจคัดกรองมะเร็งเพิ่มมากขึ้นเพื่อค้นหาผู้ป่วยรายใหม่ให้รับการรักษาที่รวดเร็วเหมาะสมรวมไปถึงการติดตามผู้ป่วยรายใหม่ในระยะเริ่มต้นสู่กระบวนการรักษาที่ต่อเนื่องช่วยลดอัตราตายต่อไป
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อให้สตรีกลุ่มเป้าหมายอายุ30-70ปี ได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม สตรีกลุ่มเป้าหมายอายุ30-70ปี ได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม มากกว่าร้อยละ 95 |
93.00 | 96.00 |
2 | เพื่อให้สตรีกลุ่มเป้าหมายอายุ30-60ปี ได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก HPV DNA TEST สตรีกลุ่มเป้าหมายอายุ30-60ปี ได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก HPV DNA TEST มากกว่าร้อยละ 40 |
20.00 | 40.00 |
3 | เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่และลำไส้ตรงและส่งต่อได้รวดเร็ว กลุ่มเป้าหมาย อายุ 50 - 70 ปี ได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่และลำไส้ตรง มากกว่าร้อยละ 90 และส่งต่อรายผิดปกติครบทุกราย |
90.00 | 95.00 |
4 | เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายได้รับการตรวจคัดกรองไวรัสตับอักเสบบีและซี กลุ่มเป้าหมายได้รับการตรวจคัดกรองไวรัสตับอักเสบบีและซี มากกว่าร้อยละ 80 |
80.00 | 85.00 |
5 | เพื่อให้เด็กนักเรียนหญิง อายุ 11-20ปีในโรงเรียนเขตรับผิดชอบได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก เด็กนักเรียนหญิง อายุ 11-20ปีในโรงเรียนเขตรับผิดชอบได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก มากกว่าร้อยละ 95 |
90.00 | 95.00 |
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรม | 0 | 16,525.00 | 0 | 0.00 | |
5 - 12 ก.พ. 68 | ประชุมวางแผนการดำเนินร่วมกันกับภาคีเครือข่าย | 0 | 0.00 | - | ||
11 ก.พ. 68 - 30 พ.ค. 68 | ตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมมะเร็งปากมดลูกในกลุ่มเป้าหมาย | 0 | 0.00 | - | ||
11 ก.พ. 68 - 30 เม.ย. 68 | ตรวจคัดกรองไวรัสตับอักเสบบีและซี | 0 | 3,600.00 | - | ||
12 - 28 ก.พ. 68 | จัดทำข้อมูลสารสนเทศและทบทวนการตรวจคัดกรอง แนวทางการดูแลผู้ป่วยโรคมะเร็ง | 0 | 0.00 | - | ||
12 - 28 ก.พ. 68 | รณรงค์การตรวจคัดกรองมะเร็งในชุมชน | 0 | 1,000.00 | - | ||
12 มี.ค. 68 | อบรมให้ความรู้เรื่องโรคมะเร็ง | 0 | 11,925.00 | - | ||
1 เม.ย. 68 - 28 พ.ค. 68 | ตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้กลุ่มเป้าหมาย (Fit Test) | 0 | 0.00 | - | ||
7 - 29 พ.ค. 68 | ฉีดวัคซีนป้องกันโรคมะเร็งปากมดลูกในเด็กนักเรียนหญิงอายุ 11-20 ปี โรงเรียนบ้านหยีในสามัคคี | 0 | 0.00 | - |
1.ประชาชนกลุ่มเป้าหมายรับรู้ปัจจัยและพฤติกรรมเสี่ยงโรคมะเร็งมีความรู้ในการป้องกันการเกิดโรคเพื่อลดอัตราป่วยมะเร็งรายใม่และอัตราการตายด้วยโรคมะเร็ง 2.กลุ่มเป้าหมายได้รับการตรวจคัดกรองมากขึ้นและเข้าสู่กระบวนการรักษาอย่างรวดเร็วในรายที่ผิดปกติ 3.อัตราการป่วยและอัตราการตายจากโรคมะเร็งลดลง 4.ผู้ป่วยโรคมะเร็งได้รับการดูแลตามมาตรฐานการดูแลและการพยาบาลระยะท้าย
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 17 ต.ค. 2567 08:55 น.