กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ชะมวง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการหนูน้อยฟันดี

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ชะมวง

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหัวถนน

-

พื้นที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหัวถนน หมู่ที่ 1,2,4,5,6,9,10,11,13

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละเด็กก่อนวัยเรียน ( 0-3 ปี) มีปัญหาฟันผุ

 

41.67

สุขภาพช่องปากมีความสำคัญต่อสุขภาพของทุกคน โดยเฉพาะในเด็กปฐมวัย โรคฟันผุในเด็กสามารถ พบได้ตั้งแต่ฟันเริ่มขึ้นในช่วงขวบปีแรก และอัตราการผุเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว จากการสำรวจสภาวะช่องปากในเด็กอายุ3 ปี ตั้งแต่ปี 2565 2566 2567 มีอัตราฟันผุร้อยละ 21.43 13.33 41.67 ตามลำดับ ซึ่งมีแนวโน้มที่สูงขึ้น สาเหตุหลักที่ ทำให้เด็กมีฟันผุ มาจากพฤติกรรมของผู้ปกครองหรือผู้ดูแลเด็ก ในการเลี้ยงดูบุตรที่ไม่ถูกต้อง รวมถึงการดูแลทำความสะอาด ช่องปากไม่ถูกวิธี และมีพฤติกรรมการบริโภคที่ไม่เหมาะสมก่อให้เกิดโรคฟันผุในฟันน้ำนมอย่างรุนแรงทำให้ เด็กมีความเจ็บปวด เคี้ยวอาหารไม่ได้ตามปกติ ได้รับสารอาหารที่จำเป็นไม่เพียงพอและส่งผลต่อพัฒนาการ การเจริญเติบโตของเด็กได้ การเกิดฟันผุในฟันน้ำนม นอกจากจะมีผลเสียโดยตรงต่อสุขภาพของเด็กในขณะนั้นแล้ว ยังมีผลเสีย ต่อฟันแท้ของเด็กในอนาคตด้วย กล่าวคือ ฟันน้ำนมที่เสีย ถูกถอน หรือหลุดไปก่อนที่ฟันแท้จะขึ้นแทนที่ จะทำให้ฟันที่อยู่ติดกัน เก ล้ม เอียง เข้าหาช่องว่าง ทำให้ฟันแท้ที่จะขึ้นแทนตำแหน่งนั้นไม่สามารถขึ้นได้ อย่างปกติ อาจจะขึ้นมาในลักษณะบิด ซ้อนกันหรือมีขนาดใหญ่ ไม่เหมาะสมกับใบหน้าของเด็ก ซึ่งจะเป็น ปมด้อยทำให้เด็กไม่กล้าในการแสดงออก การแก้ไขปัญหาดังกล่าวควรเริ่มดูแลช่องปากตั้งแต่แรกเกิดตั้งแต่ฟันยังไม่งอกจนฟันซี่แรกขึ้น ทำได้โดยการใช้รูปแบบการให้บริการทันตกรรมครบวงจรให้ทันตสุขศึกษาตั้งแต่ฟันยังไม่งอก เมื่อฟันงอกแล้วให้บริการตรวจสุขภาพช่องปาก การให้ทันตสุขศึกษาสอนการแปรงฟันที่ถูกวิธี บริการทาฟลูออไรด์และการติดตามประเมินผล
ดังนั้นทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลชะมวง ร่วมกับกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลชะมวง ได้ให้ความสำคัญในการเฝ้าระวังทันตสุขภาพและตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมป้องกันทันตสุขภาพในคลีนิกเด็กดีขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้ปกครองหรือผู้ดูแลเล็กก่อนวัยเรียน มีความรู้ และตระหนักถึงความสำคัญในการดูแลสุขภาพช่องปากของเด็ก

ร้อยละ 80 ของผู้ปกครอง และผุู้ดูแลเด็กก่อนวัยเรียน มีความรู้เรื่องทันตสุขภาพ

80.00 80.00
2 เพื่อให้ผู้ปกครอง และผู้ดูแลเด็กก่อนวัยเรียน มีการดูแลสุขภาพช่องปากของเด็กได้อย่างถูกต่้อง

ร้อยละ 80 ของผู้ปกครอง และผู้ดูแลเด็กก่อนวัยเรียน ผ่านเกณฑ์การประเมินทักษะความสามารถในการแปรงฟัน และใช้ไหมขัดฟันให้กับเด็ก

80.00 80.00
3 เพื่อลดปัญหาฟันผุในเด็กก่อนวัยเรียน(อายุ 0-3ปี)

ฟันผุในเด็กก่อนวัยเรียน(อายุ 0-3 ปี) ลดลงร้อยละ 5

5.00 5.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 46
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น : 03/02/2025

กำหนดเสร็จ : 31/08/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 จัดประชุมคณะทำงาน ค้นหากลุ่มเป้าหมาย และกำหนดแผนปฏิบัติ

ชื่อกิจกรรม
จัดประชุมคณะทำงาน ค้นหากลุ่มเป้าหมาย และกำหนดแผนปฏิบัติ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดประชุม อสม. เพื่อชี้แจงโครงการ ค้นหากลุ่มเป้าหมายและกำหนดแผนปฏิบัติงาน
ไม่มีค่าใช้จ่าย

ระยะเวลาดำเนินงาน
8 เมษายน 2568 ถึง 8 เมษายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต
ทุกหมู่บ้านในเขตรับผิดชอบ รพ.สต.บ้านหัวถนน ได้รับการสำรวจกลุ่มเป้าหมายร้อยละ 100
ผลลัพธ์
มีแผนปฏิบัติ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 จัดอบรมให้ความรู้แก่ผู้ปกครองหรือผู้ดูแลเด็ก เรื่องการดูแลทันตสุขภาพ โภชนาการในเด็ก และตรวจสุขภาพช่องปากเด็กก่อนวัยเรียน

ชื่อกิจกรรม
จัดอบรมให้ความรู้แก่ผู้ปกครองหรือผู้ดูแลเด็ก เรื่องการดูแลทันตสุขภาพ โภชนาการในเด็ก และตรวจสุขภาพช่องปากเด็กก่อนวัยเรียน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.จัดอบรมให้ความรู้แก้ผู้ปกครองหรือผู้ดูแลเด็ก เรื่องการดูแลทันตสุขภาพ โภชนาการในเด็ก และฝึกทักษะในการแปรงฟัน
2.ตรวจ ประเมินสภาวะสุขภาพช่องปากเด็ก คืนข้อมูลให้ผู้ปกครองทราบ
- ค่าสมนาคุณวิทยากร 3 ชั่วโมงๆละ 600 บาท เป็น 1,800 บาท
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ผู้เข้าร่วมประชุม วิทยากรและคณะทำงานจำนวน 1 มื้อๆละ 25 บาท จำนวน 48 คน เป็นเงิน 1,200 บาท
- ค่าชุดแปรงฟันเด็ก พร้อมกระเป๋า จำนวน 46 ชุดๆละ 110 บาท เป็นเงิน 5,060 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2568 ถึง 1 พฤษภาคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต
ร้อยละ 80 ของผู้ปกครอง และผุู้ดูแลเด็กก่อนวัยเรียน มีความรู้เรื่องทันตสุขภาพและมีทักษะในการแปรงฟันได้
ผลลัพธ์ ผู้ปกครองและผู้ดูแลเด็กรับรู้ผลสุขภาพช่องปากของเด็ก สามารถนำความรู้ที่ได้ไปดูแลเด็กได้อย่างถูกต้อง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
8060.00

กิจกรรมที่ 3 ให้บริการเคลือบฟลูออไรด์ในเด็กอายุ 0-3 ปี ที่มีฟันน้ำนมขึ้นแล้ว

ชื่อกิจกรรม
ให้บริการเคลือบฟลูออไรด์ในเด็กอายุ 0-3 ปี ที่มีฟันน้ำนมขึ้นแล้ว
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ให้บริการเคลือบหลุ่มร่องฟันเด็กอายุ 0-3 ปี ที่มีฟันน้ำนมขึ้นแล้ว
    ไม่มีค่าใช้จ่าย
ระยะเวลาดำเนินงาน
3 กุมภาพันธ์ 2568 ถึง 31 สิงหาคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต
เด็กอายุ 0-3 ปี ได้รับบริการเคลือบหลุ่มร่องฟันร้อยละ 75
ผลลัพธ์
เด็กอายุ 0-3 ปี มีฟันผุลดลงร้อยละ 5

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 4 ติดตาม และประเมินสภาวะสุขภาพช่องปากเด็กก่อนวัยเรียน

ชื่อกิจกรรม
ติดตาม และประเมินสภาวะสุขภาพช่องปากเด็กก่อนวัยเรียน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ติดตาม ประเมินสภาวะสุขภาพช่องปากเด็ก และเคลือบฟูลออไรด์ทุก 6 เดือน ในรายที่ไม่มีฟันผุ
2.ติดตาม ประเมินสภาวะสุขภาพช่องปากเด็ก และเคลือบฟูลออไรด์ทุก 3 เดือน ในรายที่มีฟันผุ
3.คืนข้อมูลการประเมินให้ผู้ปกครองหรือผู้ดูแลทราบ
4.ส่งต่อในรายที่ฟันผุระยะลุกลามเพื่อพบทันตแพทย์
ไม่มีค่าใช้จ่าย

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2568 ถึง 31 สิงหาคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต
เด็กก่อนวัยเรียนได้รับการติดตามและประเมินสภาวะสุขภาพช่องปากร้อยละ 90
ผลลัพธ์
เด็กก่อนวัยเรียนได้รับการส่งต่อในรายที่ฟันผุระยะลุกลาม

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 8,060.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ผู้ปกครอง หรือผู้ดูแลเด็กสามารถมีความรู้เรื่องทันตสุขภาพเพิ่มขึ้นร้อยละ 80
2.ฟันผุในเด็กก่อนวัยเรียน(อายุ 0-3 ปี) ลดลงร้อยละ 5


>