กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ทุ่งยาว

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมการใช้สมุนไพร ใส่ใจสุขภาพ

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ทุ่งยาว

ชมรมอสม. รพ.สต.ทุ่งยาว

นางสาวสุพัตรา หูเขียว
นางสาวศศิธรรอดเข็ม

ตำบลทุ่งยาว

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกิจกรรมทางกาย

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

องค์ความรู้ ภูมิปัญญา หรือศาสตร์ทางการแพทย์แผนไทย เป็นสิ่งที่อยู่คู่คนไทยมานับพันปี แต่เมื่อการแผนปัจจุบันเริ่มเข้ามามีบทบาทในบ้านเรา ภูมิปัญญาโบราณก็เริ่มถูกบดบังไปเรื่อยๆ และถูกทอดทิ้งไปในที่สุด ซึ่งความเป็นจริงคนส่วนใหญ่ก็พอรู้กันว่า สมุนไพรไทยเป็นสิ่งที่มีคุณค่าใช้ประโยชน์ได้จริง และใช้ได้อย่างกว้างขวาง ตามที่รัฐบาลมีนโยบายพัฒนาสมุนไพรไทยอย่างเป็นระบบและยั่งยืน ส่งเสริมการพัฒนาต่อยอดยารักษาโรค เน้นการใช้ยาสมุนไพรทดแทนยาแผนปัจจุบัน ตลอดจนส่งเสริมให้เกษตรกรมีการเพาะปลูกสมุนไพรในแต่ละชุมชน เพื่อช่วยกระจายโอกาส สร้างอาชีพและสร้างรายได้ให้กับชุมชน
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุ่งยาว ต้องการส่งเสริมการใช้สมุนไพรในการดูแลสุขภาพเบื้องต้น โดยให้ประชาชนในพื้นที่ มีความรู้ด้านการใช้สมุนไพรและสามารถนำสมุนไพรไทยไปใช้ดูแลตนเอง คนในครอบครัว และชุมชนได้

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อผู้เข้าร่วมโครงการ รู้จัก ชื่อ สรรพคุณ และโทษ ของสมุนไพรในท้องถิ่น

ร้อยละ 80 ของผู้เข้าร่วมโครงการสามารถตอบคำถาม เกี่ยวกับสมุนไพร รู้จัก ชื่อ สรรพคุณ และโทษ ของสมุนไพรในท้องถิ่นได้ถูกต้อง (มากกว่าร้อยละ 60)

1.00
2 ผู้เข้าร่วมโครงการ มีความรู้และทักษะในการใช้สมุนไพรเพื่อการดูแลสุขภาพ

ร้อยละ 80 ของผู้เข้าร่วมโครงการสามารถนำสมุนไพรมาใช้ในการดูแลสุขภาพได้

1.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 60
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/10/2024

กำหนดเสร็จ 30/09/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ส่งเสริมการใช้สมุนไพร ใส่ใจสุขภาพ

ชื่อกิจกรรม
ส่งเสริมการใช้สมุนไพร ใส่ใจสุขภาพ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. คาอาหารว่างและเครื่องดื่มผู้เข้าร่วมอบรม จำนวน 60 คนๆละ 35 บาท จำนวน 2 มื้อ เป็นเงิน  4,200 บาท
  2. ค่าอาหารกลางวันผู้เข้าอบรม  จำนวน  60 คนๆละ 70 บาท จำนวน 1 มื้อ เป็นเงิน 4,200 บาท
  3. ค่าแผ่นป้ายไวนิลโครงการขนาด 1 เมตร x 3 เมตร จำนวน 1 ป้าย เป็นเงิน 450 บาท
  4. ค่าสมนาคุณวิทยากร จำนวน 1 คน จำนวน 6 ชม.ๆละ 600 บาท เป็นเงิน  3,600 บาท
  5. ค่าอุปกรณ์และสมุนไพรทำยาหม่องไพล ชุดละ 120 บาท จำนวน 60 คน เป็นเงิน 7,200 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
19650.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 19,650.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

๑. ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ ความเข้าใจ และทักษะการใช้ศาสตร์ทางการแพทย์แผนไทยในการดูแลสุขภาพ และป้องกันโรค
๒. ชุมชนมีการใช้ภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยในการดูแลสุขภาพมากยิ่งขึ้น


>