กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตะปอเยาะ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการการป้องกันและการควบคุมโรคไข้เลือดออกในชุมชน ปี2568

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตะปอเยาะ

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตะปอเยาะ อำเภอยี่งอ จังหวัดนราธิวาส

นายฮัมดี ดอลอ นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตะปอเยาะ อำเภอยี่งอ จังหวัดนราธิวาส

ตำบลตะปอเยาะ อำเภอยี่งอ จังหวัดนราธิวาส

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว , แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด , แผนงานปัญหาสุขภาพอุบัติใหม่

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ไข้เลือดออกเป็นปัญหาสาธารณสุขของประเทศไทยส่วนใหญ่มักเป็นในเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปีในผู้ใหญ่อาจพบได้บ้างบางรายอาการรุนแรงจนทำให้เสียชีวิตได้ มักระบาดในช่วงหน้าฝนเพราะพาหะของโรคคือยุงลายลักษณะที่อยู่อาศัยของยุงลาย พบมากตามบ้านที่อยู่อาศัย

 

0.00

โรคไข้เลือดออกเป็นปัญหาสาธารณสุขของประเทศไทย มักระบาดในช่วงหน้าฝนโดยมีพาหะของโรคคือยุงลาย ส่วนใหญ่มักเป็นในเด็กวัยเรียนช่วงอายุ 10 - 14 ปี บางรายอาการรุนแรงจนทำให้เสียชีวิตได้
แต่ปัจจุบันยังพบผู้ป่วยไข้เลือดออกในผู้ใหญ่และมีการเกิดโรคตลอดทั้งปีอีกด้วย การดำเนินงานควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกให้ประสบผลสำเร็จและเกิดประสิทธิภาพนั้นจำเป็นต้องระดมความร่วมมือจากทุกฝ่าย
ที่เกี่ยวข้องในการกำจัดลูกน้ำยุงลายที่เป็นพาหะนำโรคและรณรงค์ให้ชุมชนตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาโรคไข้เลือดออกและร่วมมือกันเฝ้าระวังป้องกันการแพร่ระบาดของโรคนี้ พื้นที่ตำบลนาหม่อมเป็นพื้นที่
ที่มีการระบาดของไข้เลือดออกอย่างต่อเนื่อง จำนวน 5 หมู่บ้าน จากข้อมูล 5 ปีย้อนหลังพบผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกและปัจจุบันได้เกิดโรคระบาดรุนแรงยิ่งขึ้น
ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตะปอเยาะ อำเภอยี่งอ จังหวัดนราธิวาสได้ตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาและสถานการณ์ที่เกิดขึ้นจึงได้จัดทำโครงการเฝ้าระวัง
ป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก ประจำปีงบประมาณ 2568 ขึ้นเพื่อป้องกันการระบาดของโรคไข้เลือดออกจึงต้องมีการกระตุ้นให้ชุมชน โรงเรียนได้ทราบและเล็งเห็นความสำคัญ
ของการป้องกันและควบคุมโรคด้วยการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงและกำจัดลูกน้ำยุงลายเพื่อเป็นการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคในชุมชน ส่งผลให้ประชาชนมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ปลอดภัยจากโรคไข้เลือดออกได้

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อป้องกันและควบคุมการระบาด โรคไข้เลือดออกโดยการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย

สามารถควบคุมโรคไข้เลือดออกได้อย่างรวดเร็วและยั่งยืนเพื่อ มิให้มีการแพร่ระบาดในชุมชนและโรงเรียน - อัตราป่วยลดลงร้อยละ 20 ของค่ามัธยฐาน ย้อนหลัง 5 ปี
- ร้อยละ 80 ของหมู่บ้านมีค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายน้อยกว่าหรือเท่ากับ 10 - ร้อยละ 100 ของโรงเรียนและวัดมีค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายน้อยกว่าหรือเท่ากับ 10 - ร้อยละ 100 ของการควบคุมการระบาดโรคได้ตามมาตรฐาน

0.00
2 เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมในการป้องกันควบคุมโรคโดยชุมชน

ชุมชนโรงเรียน หน่วยงานราชการ มัสยิด ให้ความร่วมมือในการแก้ไขปัญหาและควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก - อัตราป่วยลดลงร้อยละ 20 ของค่ามัธยฐาน ย้อนหลัง 5 ปี
- ร้อยละ 80 ของหมู่บ้านมีค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายน้อยกว่าหรือเท่ากับ 10 - ร้อยละ 100 ของโรงเรียนและวัดมีค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายน้อยกว่าหรือเท่ากับ 10 - ร้อยละ 100 ของการควบคุมการระบาดโรคได้ตามมาตรฐาน

0.00
3 เพื่อให้ลดอัตราป่วยโรคไข้เลือดออก

อัตราการเกิดโรคไข้เลือดออกของประชาชนในพื้นที่ลดลงร้อยละ 90 - อัตราป่วยลดลงร้อยละ 20 ของค่ามัธยฐาน ย้อนหลัง 5 ปี
- ร้อยละ 80 ของหมู่บ้านมีค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายน้อยกว่าหรือเท่ากับ 10 - ร้อยละ 100 ของโรงเรียนและวัดมีค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายน้อยกว่าหรือเท่ากับ 10 - ร้อยละ 100 ของการควบคุมการระบาดโรคได้ตามมาตรฐาน

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 50
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 70
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น : 01/01/2025

กำหนดเสร็จ : 30/09/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุมเชิงปฏิบัติการ เพื่อถอดบทเรียนการดำเนินงานควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกในชุมชน อสม.และผู้นำชุมชน

ชื่อกิจกรรม
ประชุมเชิงปฏิบัติการ เพื่อถอดบทเรียนการดำเนินงานควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกในชุมชน อสม.และผู้นำชุมชน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดอบรมให้ความรู้โรคไข้เลือดออก และการดำเนินงานควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกในชุมชนแก่ อสม. 1. ป้ายไวนิลประชาสัมพันธ์โครงการฯ ขนาด 1.20*2.35 ม.จำนวน 1 ผืนๆละ 720 บาท 2. ค่าอาหารกลางวันและอาหารว่างพร้อมเครื่องดื่มของผู้เข้าร่วมประชุมถอดบทเรียนการดำเนินงานจำนวน 106 คนๆละ 140 บาท เป็นเงิน14,840 บาท 2.ค่าสมนาคุณวิทยากร จำนวน 5 ชั่วโมง ๆ ละ 600 บาท จำนวน 2 วัน เป็นเงิน6,000.-บาท

เป็นเงิน 21,560 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2568 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ เพื่อถอดบทเรียนการดำเนินงานควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกในชุมชน อสม.และผู้นำชุมชน 2.ดำเนินการประชาสัมพันธ์และปรับปรุงสิ่งแวดล้อมภายในหมู่บ้านโดยใช้หลักการ 5 ป.1 ข.ทุกเดือนในหมู่บ้าน/ชุมชนลงพื้นที่รณรงค์ประชาสัมพันธ์

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
21560.00

กิจกรรมที่ 2 ลงพื้นที่รณรงค์ประชาสัมพันธ์ในชุมชน การดำเนินการประชาสัมพันธ์และปรับปรุงสิ่งแวดล้อมภายในหมู่บ้านโดยใช้หลักการ 5 ป.1 ข.ดอบรมให้ความรู้โรคไข้เลือดออก และ การดำเนินงานควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกให้กับประชาชนในชุมชน จำนวน 5 หมู่บ้าน

ชื่อกิจกรรม
ลงพื้นที่รณรงค์ประชาสัมพันธ์ในชุมชน การดำเนินการประชาสัมพันธ์และปรับปรุงสิ่งแวดล้อมภายในหมู่บ้านโดยใช้หลักการ 5 ป.1 ข.ดอบรมให้ความรู้โรคไข้เลือดออก และ การดำเนินงานควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกให้กับประชาชนในชุมชน จำนวน 5 หมู่บ้าน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมที่ 2 จัดอบรมให้ความรู้โรคไข้เลือดออก และ การดำเนินงานควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกให้กับประชาชนในชุมชน จำนวน 5 หมู่บ้าน 1. ค่าอาหารกลางวันและอาหารว่างพร้อมเครื่องดื่มของผู้เข้าร่วมจัดอบรมให้ความรู้โรคไข้เลือดออกในหมู่บ้านและ การดำเนินงานควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกทั้งหมด 5 หมู่บ้าน ๆละ 50 คนๆ ละ 140 บาท เ

เป็นเงิน 35,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2568 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ลงพื้นที่พ่นหมอกควัน ติดตามเฝ้าระวังความชุกของลูกน้ำยุงลายในพื้นที่ - พ่นหมอกควันบ้านผู้ป่วยไข้เลือดออก
-รณรงค์พ่นหมอกควันช่วงการระบาดของโรคในหมู่บ้าน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
35000.00

กิจกรรมที่ 3 ลงพื้นที่พ่นหมอกควัน ติดตามเฝ้าระวังความชุกของลูกน้ำยุงลายในพื้นที่ระบาดและส่วนราชการ โรงเรียน ชุมชนในพื้นที่ตำบลตะปอเยาะ

ชื่อกิจกรรม
ลงพื้นที่พ่นหมอกควัน ติดตามเฝ้าระวังความชุกของลูกน้ำยุงลายในพื้นที่ระบาดและส่วนราชการ โรงเรียน ชุมชนในพื้นที่ตำบลตะปอเยาะ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. เครื่องพ่นหมอกควัน 1 ตัว ๆ ละ 46,000 บาท 2.ค่าวัสดุ-อุปกรณ์ในการพ่นหมอกควันลูกน้ำยุงลาย
    2.1น้ำยาพ่นหมอกควัน 1 ขวดๆ ละ 1,800 เป็นเงิน 1,800 บาท 2.2 รณรงค์พ่นหมอกควันช่วงการระบาดของโรคไข้เลือดออกในหมู่บ้าน -น้ำมันเบนซิน 10 ลิตรๆ ละ 40 บาท 5 หมู่บ้านเป็นเงิน 2,000 บาท -น้ำมันดีเซล 30 ลิตรๆ ละ 30 บาท 5 หมู่บ้านเป็นเงิน4,500 บาท

- ค่าจ้างพ่นหมวกควันรณรงค์ในหมู่บ้าน คนละ 300 บาท จำนวน
4 คน 5 หมู่บ้าน เป็นเงิน 6,000 บาท 2.3 พ่นหมอกควันในโรงเรียนก่อนเปิดเทอมแรก จำนวน 6 โรงเรียน -น้ำมันเบนซิน 5 ลิตรๆ ละ 40 บาท
6 โรงเรียน เป็นเงิน 1,200 บาท -น้ำมันดีเซล 15 ลิตรๆ ละ 30 บาทเป็นเงิน2,700 บาท - ค่าจ้างพ่นหมวกควันในโรงเรียน คนละ 300 บาทจำนวน 2 คน6 โรงเรียน เป็นเงิน
3,600 บาท

เป็นเงิน 67,800 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2568 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ลงพื้นที่พ่นหมอกควัน ติดตามเฝ้าระวังความชุกของลูกน้ำยุงลายในพื้นที่ -พ่นหมอกควันบ้านผู้ป่วยไข้เลือดออก
-รณรงค์พ่นหมอกควันช่วงการระบาดของโรคในหมู่บ้าน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
67800.00

กิจกรรมที่ 4 กิจกรรมที่ 4 ลงพื้นที่ออกสอบสวนโรคไข้เลือดออกที่บ้านผู้ป่วยยืนยันและแจกอุปกรณ์กำจัดยุงตัวแก่และครีม โลชั่นป้องกันยุง

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 4 ลงพื้นที่ออกสอบสวนโรคไข้เลือดออกที่บ้านผู้ป่วยยืนยันและแจกอุปกรณ์กำจัดยุงตัวแก่และครีม โลชั่นป้องกันยุง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ค่าอุปกรณ์กำจัดยุงตัวแก่ สเปรย์ฉีดกันยุง ขนาด 600 ml จำนวน 80 ราย รายละ 2 กระป่อง ๆ ละ 150 บาท เป็นเงิน  24,000 -บาท
  2. ทรายอะเบท 2 ถังๆละ 5,000 บาทเป็นเงิน  10,000.-บาท 3 .ค่าผลิตภัณฑ์ป้องกันยุง ครีม โลชั่นกันยุง ชนิดสเปรย์ จำนวน 80 ขวดๆ ละ 70 บาท เป็นเงิน  5,600.-บาท เป็นเงิน 39,600 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2568 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ลงพื้นที่พ่นหมอกควัน ติดตามเฝ้าระวังความชุกของลูกน้ำยุงลายในพื้นที่ -พ่นหมอกควันบ้านผู้ป่วยไข้เลือดออก
-รณรงค์พ่นหมอกควันช่วงการระบาดของโรคในหมู่บ้าน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
39600.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 163,960.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. สามารถลดอัตราผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกของประชาชนและนักเรียนในเขต
2. ผู้นำชุมชน/ประชาชน/นักเรียน มีความรู้ ความเข้าใจเรื่องไข้เลือดออกตลอดจนตระหนักถึงภัยไข้เลือดออก
3. สามารถควบคุมโรคไข้เลือดออกได้อย่างรวดเร็วและยั่งยืนเพื่อมิให้มีการแพร่ระบาดในชุมชนและโรงเรียน
4. ชุมชนและโรงเรียน ร่วมมือร่วมใจในการแก้ไขปัญหาและควบคุมโรคไข้เลือดออก


>