กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.จวบ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการป้องกันโรคหัดระบาดในพื้นที่ตำบลจวบ ประจำปีงบประมาณ 2568

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.จวบ

องค์การบริหารส่วนตำบลจวบ

ตำบลจวบ อำเภอเจาะไอร้อง จังหวัดนราธิวาส

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

การฉีดวัคซีนเป็นหนึ่งในวิธีการป้องกันโรคที่มีประสิทธิภาพและคุ้มค่ามากที่สุดสำหรับเด็กอายุ 0 - 5 ปี ซึ่งเป็นช่วงอายุที่ระบบภูมิคุ้มกันของเด็กยังไม่พัฒนาเต็มที่ การได้รับวัคซีนที่ครบถ้วนในช่วงเวลานี้จะช่วยป้องกันโรคที่เป็นอันตราย เช่น โรคหัด คางทูม ไอกรน โปลิโอ และโรคไข้สมองอักเสบ ซึ่งหลายโรคมีโอกาสเสี่ยงที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรงหรือเสียชีวิตได้หากไม่ได้รับการป้องกัน นอกจากนี้ การฉีดวัคซีน อย่างทั่วถึงไม่เพียงแต่จะป้องกันเด็กแต่ละคน แต่ยังช่วยสร้างภูมิคุ้มกันโรคหมู่ ช่วยป้องกันการแพร่ระบาดของโรคในชุมชน และลดภาระทางเศรษฐกิจที่เกิดจากการรักษาโรคติดต่อ ซึ่งการฉีดวัคซีนเป็นเครื่องมือสำคัญในการป้องกันโรคและการแพร่ระบาดของโรคที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีนในเด็ก แต่ยังมีความท้าทายหลายประการที่ส่งผลให้เด็กอายุ 0 - 5 ปีบางส่วนไม่ได้รับวัคซีนตามกำหนด ซึ่งปัญหาเหล่านี้รวมถึงปัจจัยด้านเศรษฐกิจ สังคม การให้บริการสุขภาพ และความเข้าใจเกี่ยวกับวัคซีนที่ไม่เพียงพอ
หนึ่งในปัญหาหลักคือ การเข้าถึงบริการฉีดวัคซีนที่ไม่ทั่วถึง โดยเฉพาะในพื้นที่ที่ห่างไกลจากหน่วยบริการสาธารณสุข ทำให้ผู้ปกครองไม่สามารถพาเด็กไปฉีดวัคซีนได้ตรงตามเวลาที่กำหนด นอกจากนี้ ปัญหาด้านเศรษฐกิจ ก็เป็นอุปสรรคสำคัญ โดยเฉพาะในครอบครัวที่มีรายได้น้อย ผู้ปกครองอาจไม่สามารถหาเวลาเดินทางไปสถานบริการสาธารณสุขหรือแบกรับค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องได้ อีกประการหนึ่งที่ส่งผลกระทบ คือ ความเชื่อผิดเกี่ยวกับวัคซีน ซึ่งในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา การเผยแพร่ข้อมูลที่ไม่ถูกต้องเกี่ยวกับผลข้างเคียงของวัคซีนผ่านทางสื่อสังคมออนไลน์ ได้สร้างความไม่เชื่อมั่นในวัคซีนมากขึ้น ผู้ปกครองบางกลุ่มลังเลหรือปฏิเสธการฉีดวัคซีนให้บุตรหลาน ส่งผลให้เด็กเหล่านี้เสี่ยงต่อการติดเชื้อโรคที่สามารถป้องกันได้ นอกจากนี้ ผลกระทบจากสถานการณ์โรคระบาดใหม่ เช่น การระบาดของโรคโควิด - 19 ส่งผลให้การให้บริการฉีดวัคซีนหยุดชะงักในหลายพื้นที่ การเลื่อนหรือยกเลิกการนัดหมายฉีดวัคซีน ทำให้อัตราการได้รับวัคซีนลดลง ซึ่งเป็นการเพิ่มความเสี่ยงในการระบาดของโรคที่เคยสามารถควบคุมได้แล้ว
องค์การบริหารส่วนตำบลจวบ ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของปัญหาดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการป้องกันโรคหัดระบาดในพื้นที่ตำบลจวบ ประจำปีงบประมาณ 2568 เพื่อเป็นการสร้างความตระหนักและการเข้าถึงบริการวัคซีนที่ทั่วถึงยังคงเป็นสิ่งที่จำเป็นเพื่อให้เด็กทุกคนได้รับการป้องกันโรคอย่างเหมาะสม และลดโอกาสการแพร่ระบาดของโรคในสังคม

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อสร้างภาคีเครือข่ายในการป้องกันโรคติดต่ออย่างต่อเนื่อง

 

0.00
2 เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้ปกครองเด็กให้เกิดความพร้อมในการเฝ้าระวังและควบคุมป้องกันโรค

 

0.00
3 เพื่อสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องให้กับชุมชนในการฉีดวัคซีนป้องกันโรคหัด

 

0.00
4 เพื่อให้เด็กได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคหัด ครอบคลุมไม่ต่ำกว่าร้อยละ 95

 

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 144
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 324
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 28/10/2024

กำหนดเสร็จ 30/09/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมประชุมภาคีเครือข่ายในการป้องกันโรคหัดระบาดในพื้นที่ตำบลจวบ

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมประชุมภาคีเครือข่ายในการป้องกันโรคหัดระบาดในพื้นที่ตำบลจวบ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารว่าง 35บาท X 20 คน X 1 มื้อ เป็นเงิน  700.- บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
28 ตุลาคม 2567 ถึง 28 ตุลาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • อัตราการป่วย/ตายด้วยโรคหัดในพื้นที่ลดลง
  • ผู้ปกครองมีความรู้ ความเข้าใจ ที่ถูกต้อง และได้ตระหนักถึงการรับวัคซีนป้องกันโรคหัดของเด็ก
  • มีภาคีเครือข่ายในการป้องกันโรคติดต่ออย่างต่อเนื่อง
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
700.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมอบรมให้ความรู้ผู้ปกครองศูนย์เด็กเล็กเกี่ยวกับการเฝ้าระวังและป้องกันโรคหัด

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมอบรมให้ความรู้ผู้ปกครองศูนย์เด็กเล็กเกี่ยวกับการเฝ้าระวังและป้องกันโรคหัด
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารกลางวัน 60บาท X 144 คน X 1มื้อเป็นเงิน 8,640.- บาท
  • ค่าอาหารว่าง 35บาท X 144 คน X 2 มื้อเป็นเงิน 10,080.- บาท
  • ค่าวัสดุ 60บาท X 144 คน (สมุด 10บ./ปากกา10บ./กระเป๋า40บ.) เป็นเงิน 8,640.- บาท
  • ค่าวิทยากร 600 บาท X 5 ชั่วโมงเป็นเงิน 3,000.- บาท
  • ค่าไวนิลโครงการขนาด 1.3 X 2.5 เมตร X 1 ผืนเป็นเงิน800.-บาท
  • รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 31,160.- บาท (สามหมื่นหนึ่งร้อยหกสิบบาทถ้วน)
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤศจิกายน 2567 ถึง 1 พฤศจิกายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • อัตราการป่วย/ตายด้วยโรคหัดในพื้นที่ลดลง
  • ผู้ปกครองมีความรู้ ความเข้าใจ ที่ถูกต้อง และได้ตระหนักถึงการรับวัคซีนป้องกันโรคหัดของเด็ก
  • มีภาคีเครือข่ายในการป้องกันโรคติดต่ออย่างต่อเนื่อง
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
31160.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมอบรมให้ความรู้ผู้ปกครองนักเรียนอนุบาลเกี่ยวกับการเฝ้าระวังและป้องกันโรคหัด รุ่นที่ 1

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมอบรมให้ความรู้ผู้ปกครองนักเรียนอนุบาลเกี่ยวกับการเฝ้าระวังและป้องกันโรคหัด รุ่นที่ 1
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารกลางวัน 60บาท X 169 คน X ๑ มื้อ เป็นเงิน 10,140.- บาท
  • ค่าอาหารว่าง 35บาท X 169 คน X 2 มื้อ เป็นเงิน 11,830.- บาท
  • ค่าวัสดุ 60บาท X 169 คน (สมุด 10บ./ปากกา10บ./กระเป๋า40บ.) เป็นเงิน 10,140.- บาท
  • ค่าวิทยากร 600 บาท X 5 ชั่วโมงเป็นเงิน 3,000.- บาท
  • รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 35,110.- บาท (สามหมื่นห้าพันหนึ่งร้อยสิบบาทถ้วน)
ระยะเวลาดำเนินงาน
4 พฤศจิกายน 2567 ถึง 4 พฤศจิกายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • อัตราการป่วย/ตายด้วยโรคหัดในพื้นที่ลดลง
  • ผู้ปกครองมีความรู้ ความเข้าใจ ที่ถูกต้อง และได้ตระหนักถึงการรับวัคซีนป้องกันโรคหัดของเด็ก
  • มีภาคีเครือข่ายในการป้องกันโรคติดต่ออย่างต่อเนื่อง
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
35110.00

กิจกรรมที่ 4 กิจกรรมอบรมให้ความรู้ผู้ปกครองนักเรียนอนุบาลเกี่ยวกับการเฝ้าระวังและป้องกันโรคหัด รุ่นที่ 2

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมอบรมให้ความรู้ผู้ปกครองนักเรียนอนุบาลเกี่ยวกับการเฝ้าระวังและป้องกันโรคหัด รุ่นที่ 2
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารกลางวัน 60บาท X 155 คน X 1 มื้อ    เป็นเงิน 9,300.- บาท
  • ค่าอาหารว่าง 35บาท X 155 คน X 2 มื้อ เป็นเงิน 10,850.- บาท
  • ค่าวัสดุ 60บาท X 155 คน (สมุด 10บ./ปากกา10บ./กระเป๋า40บ.)    เป็นเงิน 9,300.- บาท
  • ค่าวิทยากร 600บาท X 5 ชั่วโมง  เป็นเงิน 3,000.- บาท
  • รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 32,450.- บาท (สามหมื่นสองพันสี่ร้อยห้าสิบบาทถ้วน)
ระยะเวลาดำเนินงาน
5 พฤศจิกายน 2567 ถึง 5 พฤศจิกายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • อัตราการป่วย/ตายด้วยโรคหัดในพื้นที่ลดลง
  • ผู้ปกครองมีความรู้ ความเข้าใจ ที่ถูกต้อง และได้ตระหนักถึงการรับวัคซีนป้องกันโรคหัดของเด็ก
  • มีภาคีเครือข่ายในการป้องกันโรคติดต่ออย่างต่อเนื่อง
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
32450.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 99,420.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

- อัตราการป่วย/ตายด้วยโรคหัดในพื้นที่ลดลง
- ผู้ปกครองมีความรู้ ความเข้าใจ ที่ถูกต้อง และได้ตระหนักถึงการรับวัคซีนป้องกันโรคหัดของเด็ก
- มีภาคีเครือข่ายในการป้องกันโรคติดต่ออย่างต่อเนื่อง


>