แบบเสนอโครงการกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น
แบบจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
กองทุนสุขภาพตำบล อบต.จวบ รหัส กปท. L8422
อำเภอเจาะไอร้อง จังหวัดนราธิวาส
ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2567 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 17 (2) "ให้พิจารณาอนุมัติโครงการ หรือกิจกรรม ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุนตามข้อ 10"
อาศัยอำนาจของประกาศ ฯ ข้อ 10 "เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ" จึงได้จัดทำแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ประจำปีงบประมาณ 2568 โดยมีรายละเอียด ดังนี้
การฉีดวัคซีนเป็นหนึ่งในวิธีการป้องกันโรคที่มีประสิทธิภาพและคุ้มค่ามากที่สุดสำหรับเด็กอายุ 0 - 5 ปี ซึ่งเป็นช่วงอายุที่ระบบภูมิคุ้มกันของเด็กยังไม่พัฒนาเต็มที่ การได้รับวัคซีนที่ครบถ้วนในช่วงเวลานี้จะช่วยป้องกันโรคที่เป็นอันตราย เช่น โรคหัด คางทูม ไอกรน โปลิโอ และโรคไข้สมองอักเสบ ซึ่งหลายโรคมีโอกาสเสี่ยงที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรงหรือเสียชีวิตได้หากไม่ได้รับการป้องกัน นอกจากนี้ การฉีดวัคซีน อย่างทั่วถึงไม่เพียงแต่จะป้องกันเด็กแต่ละคน แต่ยังช่วยสร้างภูมิคุ้มกันโรคหมู่ ช่วยป้องกันการแพร่ระบาดของโรคในชุมชน และลดภาระทางเศรษฐกิจที่เกิดจากการรักษาโรคติดต่อ ซึ่งการฉีดวัคซีนเป็นเครื่องมือสำคัญในการป้องกันโรคและการแพร่ระบาดของโรคที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีนในเด็ก แต่ยังมีความท้าทายหลายประการที่ส่งผลให้เด็กอายุ 0 - 5 ปีบางส่วนไม่ได้รับวัคซีนตามกำหนด ซึ่งปัญหาเหล่านี้รวมถึงปัจจัยด้านเศรษฐกิจ สังคม การให้บริการสุขภาพ และความเข้าใจเกี่ยวกับวัคซีนที่ไม่เพียงพอ
หนึ่งในปัญหาหลักคือ การเข้าถึงบริการฉีดวัคซีนที่ไม่ทั่วถึง โดยเฉพาะในพื้นที่ที่ห่างไกลจากหน่วยบริการสาธารณสุข ทำให้ผู้ปกครองไม่สามารถพาเด็กไปฉีดวัคซีนได้ตรงตามเวลาที่กำหนด นอกจากนี้ ปัญหาด้านเศรษฐกิจ ก็เป็นอุปสรรคสำคัญ โดยเฉพาะในครอบครัวที่มีรายได้น้อย ผู้ปกครองอาจไม่สามารถหาเวลาเดินทางไปสถานบริการสาธารณสุขหรือแบกรับค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องได้ อีกประการหนึ่งที่ส่งผลกระทบ คือ ความเชื่อผิดเกี่ยวกับวัคซีน ซึ่งในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา การเผยแพร่ข้อมูลที่ไม่ถูกต้องเกี่ยวกับผลข้างเคียงของวัคซีนผ่านทางสื่อสังคมออนไลน์ ได้สร้างความไม่เชื่อมั่นในวัคซีนมากขึ้น ผู้ปกครองบางกลุ่มลังเลหรือปฏิเสธการฉีดวัคซีนให้บุตรหลาน ส่งผลให้เด็กเหล่านี้เสี่ยงต่อการติดเชื้อโรคที่สามารถป้องกันได้ นอกจากนี้ ผลกระทบจากสถานการณ์โรคระบาดใหม่ เช่น การระบาดของโรคโควิด - 19 ส่งผลให้การให้บริการฉีดวัคซีนหยุดชะงักในหลายพื้นที่ การเลื่อนหรือยกเลิกการนัดหมายฉีดวัคซีน ทำให้อัตราการได้รับวัคซีนลดลง ซึ่งเป็นการเพิ่มความเสี่ยงในการระบาดของโรคที่เคยสามารถควบคุมได้แล้ว
องค์การบริหารส่วนตำบลจวบ ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของปัญหาดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการป้องกันโรคหัดระบาดในพื้นที่ตำบลจวบ ประจำปีงบประมาณ 2568 เพื่อเป็นการสร้างความตระหนักและการเข้าถึงบริการวัคซีนที่ทั่วถึงยังคงเป็นสิ่งที่จำเป็นเพื่อให้เด็กทุกคนได้รับการป้องกันโรคอย่างเหมาะสม และลดโอกาสการแพร่ระบาดของโรคในสังคม
-
1. เพื่อสร้างภาคีเครือข่ายในการป้องกันโรคติดต่ออย่างต่อเนื่องตัวชี้วัด :ขนาดปัญหา เป้าหมาย 0.00
-
2. เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้ปกครองเด็กให้เกิดความพร้อมในการเฝ้าระวังและควบคุมป้องกันโรคตัวชี้วัด :ขนาดปัญหา เป้าหมาย 0.00
-
3. เพื่อสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องให้กับชุมชนในการฉีดวัคซีนป้องกันโรคหัดตัวชี้วัด :ขนาดปัญหา เป้าหมาย 0.00
-
4. เพื่อให้เด็กได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคหัด ครอบคลุมไม่ต่ำกว่าร้อยละ 95ตัวชี้วัด :ขนาดปัญหา เป้าหมาย 0.00
- 1. กิจกรรมประชุมภาคีเครือข่ายในการป้องกันโรคหัดระบาดในพื้นที่ตำบลจวบรายละเอียด
- ค่าอาหารว่าง 35บาท X 20 คน X 1 มื้อ เป็นเงิน 700.- บาท
งบประมาณ 700.00 บาท - 2. กิจกรรมอบรมให้ความรู้ผู้ปกครองศูนย์เด็กเล็กเกี่ยวกับการเฝ้าระวังและป้องกันโรคหัดรายละเอียด
- ค่าอาหารกลางวัน 60บาท X 144 คน X 1มื้อเป็นเงิน 8,640.- บาท
- ค่าอาหารว่าง 35บาท X 144 คน X 2 มื้อเป็นเงิน 10,080.- บาท
- ค่าวัสดุ 60บาท X 144 คน (สมุด 10บ./ปากกา10บ./กระเป๋า40บ.) เป็นเงิน 8,640.- บาท
- ค่าวิทยากร 600 บาท X 5 ชั่วโมงเป็นเงิน 3,000.- บาท
- ค่าไวนิลโครงการขนาด 1.3 X 2.5 เมตร X 1 ผืนเป็นเงิน800.-บาท
- รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 31,160.- บาท (สามหมื่นหนึ่งร้อยหกสิบบาทถ้วน)
งบประมาณ 31,160.00 บาท - 3. กิจกรรมอบรมให้ความรู้ผู้ปกครองนักเรียนอนุบาลเกี่ยวกับการเฝ้าระวังและป้องกันโรคหัด รุ่นที่ 1รายละเอียด
- ค่าอาหารกลางวัน 60บาท X 169 คน X ๑ มื้อ เป็นเงิน 10,140.- บาท
- ค่าอาหารว่าง 35บาท X 169 คน X 2 มื้อ เป็นเงิน 11,830.- บาท
- ค่าวัสดุ 60บาท X 169 คน (สมุด 10บ./ปากกา10บ./กระเป๋า40บ.) เป็นเงิน 10,140.- บาท
- ค่าวิทยากร 600 บาท X 5 ชั่วโมงเป็นเงิน 3,000.- บาท
- รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 35,110.- บาท (สามหมื่นห้าพันหนึ่งร้อยสิบบาทถ้วน)
งบประมาณ 35,110.00 บาท - 4. กิจกรรมอบรมให้ความรู้ผู้ปกครองนักเรียนอนุบาลเกี่ยวกับการเฝ้าระวังและป้องกันโรคหัด รุ่นที่ 2รายละเอียด
- ค่าอาหารกลางวัน 60บาท X 155 คน X 1 มื้อ เป็นเงิน 9,300.- บาท
- ค่าอาหารว่าง 35บาท X 155 คน X 2 มื้อ เป็นเงิน 10,850.- บาท
- ค่าวัสดุ 60บาท X 155 คน (สมุด 10บ./ปากกา10บ./กระเป๋า40บ.) เป็นเงิน 9,300.- บาท
- ค่าวิทยากร 600บาท X 5 ชั่วโมง เป็นเงิน 3,000.- บาท
- รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 32,450.- บาท (สามหมื่นสองพันสี่ร้อยห้าสิบบาทถ้วน)
งบประมาณ 32,450.00 บาท
ตั้งแต่ วันที่ 28 ตุลาคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2568
ตำบลจวบ อำเภอเจาะไอร้อง จังหวัดนราธิวาส
รวมงบประมาณโครงการ 99,420.00 บาท
- อัตราการป่วย/ตายด้วยโรคหัดในพื้นที่ลดลง
- ผู้ปกครองมีความรู้ ความเข้าใจ ที่ถูกต้อง และได้ตระหนักถึงการรับวัคซีนป้องกันโรคหัดของเด็ก
- มีภาคีเครือข่ายในการป้องกันโรคติดต่ออย่างต่อเนื่อง
ข้าพเจ้า ................................................................ ตำแหน่ง.................................................... หน่วยงาน................................................................................ หมายเลขโทรศัพท์......................................................... ในฐานะของผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
ขอรับรองว่า แผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ที่เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ ในครั้งนี้
- check_box_outline_blank ไม่ได้ซ้ำซ้อนกับงบประมาณที่ได้รับจากแหล่งอื่น
- check_box_outline_blank สอดคล้องกับแผนสุขภาพชุมชน ของ กปท.
- check_box_outline_blank รับทราบถึงกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ และวิธีการดำเนินงานตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2567 และที่แก้ไขเพิ่มเติม แล้ว
(............................................................)
ตำแหน่ง ............................................................
วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................
- ให้เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ
(............................................................)
ตำแหน่ง ............................................................
วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................
แบบเสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
กองทุนสุขภาพตำบล อบต.จวบ รหัส กปท. L8422
อำเภอเจาะไอร้อง จังหวัดนราธิวาส
ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2567 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 10 “เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ” นั้น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน ได้ดำเนินการจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม มาเพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณ กปท. ตามเอกสารแนบ
จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณาอนุมัติ
(...........................................................)
ตำแหน่ง ...............................................
วันที่-เดือน-พ.ศ. ......................................
แบบอนุมัติแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
กองทุนสุขภาพตำบล อบต.จวบ รหัส กปท. L8422
อำเภอเจาะไอร้อง จังหวัดนราธิวาส
ตามมติการประชุมคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพ ครั้งที่ ....................... เมื่อวันที่ .................................................... สรุปผลการพิจารณาแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ดังนี้
(....................................................................)
ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบการประชุม
วันที่-เดือน-พ.ศ. ....................................................
ตำแหน่ง ....................................................................
วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................