กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลนาโหนด

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการแก้ปัญหาเด็กเล็กที่ได้รับผลกระทบจากภาวะโรคมือเท้าปากระบาด ต.นาโหนด ปี 2568

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลนาโหนด

เทศบาลตำบลนาโหนด

ตำบลนาโหนด อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละเด็กเล็กที่ได้รับผลกระทบจากภาวะโรคมือเท้าปากระบาด

 

100.00

ตำบลนาโหนด มีเด็กเล็กอายุ ระหว่าง 2-5 ปี จำนวน 286 คน (ฐานข้อมูลจากระบบสารสนเทศสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพัทลุง) ซึ่งในปี 2567 มีเด็กเล็กอายุ 2-5 ปี เข้ารับการจัดประสบการณ์ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในสังกัดเทศบาลตำบลนาโหนด จำนวน 4 แห่ง รวมทั้งสิ้น 120คน โดยตั้งแต่เดือน มกราคม 2567-ตุลาคม 2567 มีเด็กที่ป่วยด้วยโรคมือเท้าปาาก จำนวน 20 คน โดยเด็กที่ป่วยได้กระจายอยู่ตามศูนย์พัฒนาเด็กเล็กต่าง ๆ ทั้ง 4 แห่ง ดังนี้
ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านวังไทรทอง เด็ก 49 คน ป่วย 7 คน
ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านโคกว่าวเด็ก26 คน ป่วย 6 คน
ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านนาโหนด เด็ก 24 คน ป่วย 3 คน
ศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์มัสยิดหนูรนเอียะสานเด็ก 21 คน ป่วย 4 คน
เมื่อมีเด็กป่วยด้วยโรคมือเท้าปากในแต่ละแห่งเกิน 3 คน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กจำเป็นต้องหยุดทำการเรียนการสอน และจะต้องประกาศปิดศูนย์ เพื่อทำความสะอาดพื้นที่ ตามหลักการควบคุมโรคของกระทรวงสาธารณสุข จึงทำให้เด็กเล็กคนอื่น ๆ ที่ไม่ได้ป่วยด้วยโรคมือเท้าปาก จำเป็นต้องหยูดเรียนไปด้วย
จากสภาพปัญหาดังกล่าว เทศบาลตำบลนาโหนด ซึ่งมีหน้าที่ตามมาตรา 50 (4) แห่งพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ.2496 รวมถึงแก้ไขเพิ่มเติมในการการป้องกันและระงับโรคติดต่อจึงได้จัดทำโครงการแก้ปัญหาเด็กเล็กที่ได้รับผลกระทบจากภาวะโรคมือเท้าปากระบาด ต.นาโหนด ปี 2568 ขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อแก้ปัญหาเด็กเล็กที่ได้รับผลกระทบจากภาวะโรคมือเท้าปากระบาด

การแก้ปัญหาเด็กเล็กที่ได้รับผลกระทบจากภาวะโรคมือเท้าปากระบาด(ร้อยละ)

100.00 100.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 120
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 120
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 20/11/2024

กำหนดเสร็จ 31/03/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมอบรมให้ความรู้และแนะนำการป้องกันโรคแก่ผู้ปกครองเด็กเล็ก และครูในศูนย์เด็กเล็ก

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมอบรมให้ความรู้และแนะนำการป้องกันโรคแก่ผู้ปกครองเด็กเล็ก และครูในศูนย์เด็กเล็ก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้และแนะนำการป้องกันโรคแก่ผู้ปกครองและครูประจำศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จำนวน 2 รุ่น งบประมาณ
1.ค่าสมนาคุณวิทยากร จำนวน 1 คน จำนวน 4 ชั่วโมง ๆ ละ 600 บาท เป็นเงิน 2,400บาท
2.ค่าอาหารว่างพร้อมเครื่องดื่มสำหรับผู้เข้ารับการอบรม เจ้าหน้าที่และวิทยากร รวม 130 คน ๆ ละ 1 มื้อ ๆ ละ 25 บาท เป็นเงิน 3,250 บาท
3.ค่าป้ายโครงการ จำนวน 1 ป้าย เป็นเงิน 518 บาท
4.ค่าเอกสารประกอบการอบรม จำนวน 125 ชุด ๆ ละ 15 บาท เป็นเงิน 1,800 บาท
รวมเงิน 7,968 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
2 ธันวาคม 2567 ถึง 23 ธันวาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต
ผู้ปกครอง และครู เข้ารับการอบรม ไม่น้อยกว่าร้อยละ 90 ของผู้ปกครองทั้งหมด
ผลลัพธ์
ผู้เข้ารับการอบรม มีความรู้ ความเข้าใจ วิธีการดูแลรักษาเด็กเล็กซึ่งป่วยด้วยโรคมือเท้าปาก และสามารถดูแลบุตรหลานของตนเองได้อย่างถูกต้องตามหลักการแพทย์ การเกิดโรคมือเท้าปากในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กลดลงจากปีที่ผ่านมา

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
7968.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมปรับสภาพแวดล้อมเพื่อลดปัญหาการระบาดของโรค

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมปรับสภาพแวดล้อมเพื่อลดปัญหาการระบาดของโรค
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดกิจกรรมปรับสภาพแวดล้อมในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก เช่น จัดเตรียมสบู่ หรือตั้งเจลล้างมือ การสร้างการรับรู้ให้เด็กเล็กไม่ใช้แก้วน้ำร่วมกัน จัดกิจกรรมทำความสะอาดบริเวณภายในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และของเล่นเด็กภายในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
งบประมาณ
ค่าจัดซื้อ สบู่ล้างมือ (สบู่เหลว) จำนวน 4 โหล ๆ ละ 660 บาท เป็นเงิน 2,640 บาท
ค่าจัดซื้อน้ำยาฆ่าเชื้อ/น้ำยาทำความสะอาดขนาด ไ่น้อยกว่า 1,000 มม. จำนวน 8 ขวด ๆ ละ 675 บาทเป็นเงิน 5,400 บาท
ค่าจัดซื้อถุงมือยาง ขนาด 100 ชิ้น/กล่อง ๆ ละ 140 บาท จำนวน 12 กล่องเป็นเงิน 1,680 บาท
ทุกรายการถั๋วเฉลี่ยได้

ระยะเวลาดำเนินงาน
20 พฤศจิกายน 2567 ถึง 31 มีนาคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต
เด็กเล็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ทุกคน
ผลลัพธ์
เด็กเล็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กทุกคน มีอุปกรณ์สำหรับทำกคกวามสะอาด มืออย่างเพียงพอ
อุปกรณ์ เครื่องเล่น สำหรับเด็ก ได้รับการทำความสะอาดแบะฆ่าเชื้อโรคอย่างสม้ำเสมอ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
9720.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 17,688.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

ผู้ปกครอง ครู ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ได้รับการอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับสาเหตุ อาการ และแนวทางการป้องกันโรคมือเท้าปากในเด็กเล็ก
เด็กเล็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก มีอุปกรณ์ทำความสะอาดมืออย่างเพียงพอ สามารถป้องกันโรคในเบื้องต้นได้
ห้องเรียน วัสดุ อุปกรณ์ เครื่องเล่นเด็ก ได้รับการทำความสะอาด ฆ่าเชื้อโรค อย่างม่ำเสมอ สามารถลดการเกิดโรคได้


>