กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปากน้ำ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการ อสม.ห่วงใย ห่างไกลโรคเรื้อรัง หมู่ที่ 5 บ้านท่ายาง

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปากน้ำ

คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับหมู่บ้าน บ้านท่ายาง

1.นายรอหมาด สอและ

2.นางวันทนี สอเหลบ

3.นางนิตยา อุศมา

4.น.ส.ศิริวรรณ คล่ำคง

5.นางสุดารัตน์ อุศมา

หมู่ที่ 5 บ้านท่ายาง ตำบลปากน้ำ อำเภอละงู จังหวัดสตูล

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของประชาชนที่ป่วยเป็นโรคเบาหวาน

 

3.60
2 ร้อยละของประชาชนที่ป่วยเป็นโรคความดัน

 

7.63
3 ร้อยละของประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน

 

16.25
4 ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง

 

25.00

ปัจจุบันเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทย มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ส่งผลต่อการดำเนินชีวิตของประชาชน มีการแข่งขันสร้างความมั่นคงให้แก่ครอบครัว ทำให้วิถีชีวิตมีการเปลี่ยนแปลง เช่น การเร่งรีบกับการทำงาน บริโภคอาหารที่ไม่มีคุณค่าทางโภชนาการ มีการเคลื่อนไหวทางร่ายน้อยลง การออกกำลังกายน้อยลง มีความเครียดทำให้มีโอกาสเสี่ยงต่อการเจ็บป่วย ด้วยโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวาน ถือเป็นภัยเงียบ ซึ่งเป็นปัญหาสาธารณสุข เป็นกลุ่มโรคที่มีปัจจัยเสี่ยงร่วมและเสียชีวิตก่อนวัยอันควร ซึ่งโรคนี้สามารถป้องกันได้ โดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เช่นการรับประธานอาหารตามหลักโภชนาการ และมีกิจกรรมทางกายที่เหมาะสม บ้านท่ายางมีครัวเรือน 143 ครัวเรือน มีประชากรทั้งหมด 563 คน มีผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง 43 คน คิดเป็นร้อยละ 7.63 คน มีผู้ป่วยเบาหวาน 20 คน คิดเป็นร้อยละ 3.6 เส้นเลือดสมองตีบ 3 คน เส้นเลือดหัวใจตีบ 2 คน จากการคัดกรองประชาชนที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไป ร่วมกับเจ้าหน้าที่ รพ.สต. ตำบลปากน้ำ ประจำปี 2566 เป้าหมายทั้งหมด จำนวน 230 คน แต่ได้เข้าร่วมคัดกรองเพียงแค่ 80 คน คิดเป็นร้อยละ 34.8 และพบกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 20 คน และเสี่ยงเบาหวาน 13 คน และพบเสี่ยงมาก 4 คน และได้ส่งต่อไปยัง รพ.สต.ปากน้ำ เพื่อทำการประเมินสุขภาพและรักษาต่อไป และยังมีอีกจำนวนมากที่ยังไม่ได้เข้าร่วมคัดกรอง จากสาเหตุการทำงาน เช่นการอดอาหาร กรีดยาง และที่าำคัญ อุปกรณ์ไม่เพียงพอ กลุ่มเสี่ยงบางรายยังไม่สามารถ ควบคุมระดับน้ำตาลและความดันให้อยู่ในเกณฑ์ปกติได้อย่างสม่ำเสมอ ซึ่งส่งผลกระทบ นั่นคือ การเกิดภาวะแทรกซ้อนในอนาคตได้ อสม. หมู่ที่ 5 บ้านท่ายาง ได้เล็งเห็นความสำคัญดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการ "อสม.ห่วงใย ห่างไกล โรคเรื้องรัง " ประจำปีงบประมาณ 2568 ขึ้น เพื่อคัดกรองกลุ่มเป้าหมายและได้รับความรู้ สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและลดการเกิดโรคเรื้องรัง และป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตได้

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ประชาชนได้รับการคัดกรองเพิ่มขึ้น

ร้อยละ 80 ของประชาชนได้รับการคัดกรองเพิ่มขึ้น

80.00 1.00
2 เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงได้รับการติดตามและส่งต่อหน่วยบริการ

ร้อยละ 100 ของประชาชนกลุ่มเสี่ยงได้รับการติดตามและส่งต่อหน่วยบริการ

100.00 1.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 50
กลุ่มผู้สูงอายุ 50
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น : 01/10/2024

กำหนดเสร็จ : 30/09/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุมคณะทำงาน

ชื่อกิจกรรม
ประชุมคณะทำงาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประชุมให้ความรู้และชี้แจงทำความเข้าใจโครงการ และจัดเก็บข้อมูลกลุ่มเป้าหมาย

-ค่าอาหารว่าง 10 คน x 35 = 350 บาท

-ค่าวัสดุอุปกรณ์ ได้แก่ ปากคาเคมี จำนวน 5 ด้าม ด้ามละ 15 บาท เป็นเงิน 75 บาท เทปกาวย่น จำนวน 1 อัน อันละ 35 บาท เป็นเงิน 35 บาท กระดาษฟลิบชาร์ท จำนวน 10 แผ่น แผ่นละ 5 บาท เป็นเงิน 50 บาท สมุด จำนวน 10 เล่ม
เล่มละ 10 บาท เป็นเงิน 100 ปากกาลูกลื่น จำนวน 10 ด้าม ด้ามละ 10 บาท เป็นเงิน 100 บาท

รวมเป็นเงิน 360 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
6 มกราคม 2568 ถึง 6 มกราคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต คณะทำงานเข้าใจและรับรู้การทำงานไปในทิศทางเดียวกัน ผลลัพธ์ ได้กลุ่มเป้าหมาย

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
710.00

กิจกรรมที่ 2 คัดกรองกลุ่มเป้าหมายอายุ 35 ปีขึ้นไป จำนวน 100 คน

ชื่อกิจกรรม
คัดกรองกลุ่มเป้าหมายอายุ 35 ปีขึ้นไป จำนวน 100 คน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

คัดกรองกลุ่มเป้าหมายอายุ 35 ปีขึ้นไป 100 คน

-ค่าอาหารว่าง 100 คน x 35 บาท = 3,500 บาท

-ค่าวัสดุอุปกรณ์ ได้แก่ สมุดปกเคลือบน้ำมัน 4 เล่ม เล่มละ 60 บาท เป็นเงิน 240 บาท ปากกาลบคำผิด 1 ด้าม ด้ามละ 70 บาท เป็นเงิน 75 บาท ปากกาแดง 2 ด้าม ด้ามละ 10 บาท เป็นเงิน 20 บาท ไม้บรรทัด 2 อัน อันละ 10 บาท เป็นเงิน 20 บาท รวมเป็นเงิน 350 บาท

จัดซื้ออุปกรณ์ดังนี้

-เครื่องวัดความดันจำนวน 2 เครื่อง เครื่องละ 2,500 บาท x 2 = 5,000 บาท

-เครื่องเจาะน้ำตาลจำนวน 1 เครื่อง เครื่องละ 2,500 บาท

-เครื่องชั่งน้ำหนักดิจิตอล จำนวน 2 เครื่อง เครื่องละ 1,250 บาท x 2 = 2,500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
20 มกราคม 2568 ถึง 20 มกราคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต กลุ่มเป้าหมายอายุ 35 ปีขึ้นไป จำวน 100 คน ได้รับการคัดกรอง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
13850.00

กิจกรรมที่ 3 อบรมให้ความรู้ถึงสาเหตุและปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวาน การป้องกันและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ตามหลัก 3 อ.2 ส.

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้ถึงสาเหตุและปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวาน การป้องกันและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ตามหลัก 3 อ.2 ส.
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

อบรมให้ความรู้กลุ่มเป้าหมายอายุ 35 ปีขึ้นไป 40 คน

-ค่าอาหารกลางวัน 40 คน x 100 บาท = 4,000 บาท

-ค่าอาหารว่าง 2 มื้อ x 35 บาท x 40 คน = 2,800 บาท

-ค่าวิทยากร 2 คน x 600 บาท x 3 ชม. = 3,600 บาท

-ค่าป้ายไวนิลโครงการ 1 ป้าย ขนาด 1.2 เมตร x 3 เมตร = 800 บาท

-ป้ายประชาสัมพันธ์พร้อมติดตั้ง ขนาด 1.2 เมตร X 3 เมตร 2,500 X 2 = 5,000 บาท (ติดที่มัสยิดบ้านท่ายางกับโรงเรียนบ้านท่ายาง)

-ค่าวัสดุอุปกรณ์ ได้แก่ สมุด 40 เล่ม เล่มละ 10 บาท เป็นเงิน 400 บาท ปากกา 40 ด้าม ด้ามละ 10 บาท เป็นเงิน 400 บาท แฟ้มกระดุม ซองพลาสติก 40 ชิ้น ชิ้นละ 15 บาท เป็นเงิน 600 บาทรวมเป็นเงิน 1,400 บาท

-ค่าคู่มือประกอบการอบรม 40 เล่ม เล่มละ 30 บาท รวมเป็นเงิน 1,200 บาท

-ค่าสถานที่ = 500 บาท

กำหนดการการอบรม

08.00 น. - 08.30 น.ลงทะเบียน

08.30 น.- 10.30 น. บรรยายให้ความรู้เรื่องโรคไม่ติดต่อเรื้องรัง สถานการณ์การเจ็บป่วยบ้านท่ายาง วิทยากรโดย นางสาวสุนิดา ง๊ะสมัน

10.30 น. - 12.00 น.การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ วิทยากรโดย นางสาวสุนิดา ง๊ะสมัน

12.00 น. - 13.00 น.รับประทานอาหารเที่ยง

13.00 น. - 14.30 น.ภาวะโภชนาการการป้องกันโรค วิทยากรโดย

14.30 น. - 16.30ิน. กิจกรรมทางกายป้องกันโรคและเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ วิทยากรโดย

หมายเหตุ กำหนดการอาจเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม อาหารว่าง ช่วงเช้า 10.30 น. ช่วงบ่าย 14.30 น.

ระยะเวลาดำเนินงาน
3 กุมภาพันธ์ 2568 ถึง 3 กุมภาพันธ์ 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

กลุ่มเป้าหมายได้รับความรู้ความเข้าใจเกี่ยวโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวาน กลุ่มเป้าหมายได้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพตามหลัก 3 อ. 2 ส. เพื่อให้กุล่มป่วยได้รับการดูแลและส่งต่อ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
19300.00

กิจกรรมที่ 4 สรุปโครงการ

ชื่อกิจกรรม
สรุปโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

สรุปโครงการเป็นรูปเล่ม 2 เล่ม เล่มละ 500 บาท x 2 เล่ม = 1,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
24 กุมภาพันธ์ 2568 ถึง 24 กุมภาพันธ์ 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ได้งานที่สมบูรณ์ตามวัตถุประสงค์

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 34,860.00 บาท

หมายเหตุ :
ทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยกันได้

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. กลุ่มเป้าหมายอายุ 35 ปีขึ้นไป ได้รับการตรวจคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวาน

2. กลุ่มเป้าหมายอายุ 35 ปีขึ้นไป มีความรู้ความเข้าใจในการดูแลสุขภาพเบื้องต้น ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ

3. กลุ่มเป้าหมายอายุ 35 ปีขึ้นไป ตระหนักถึงอันตรายของโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวาน


>