กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ขุนตัดหวาย

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการเฝ้าระวังและควบคุมโรคไข้เลือดออกในชุมชน ปี 2568

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ขุนตัดหวาย

ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลขุนตัดหวาย

นางอัญชลีนิลรัตน์
นางรัชนีแก้วทอง
นางนุชรีย์มะปิ
นางรีเย๊าะวิชัยดิษฐ
นางสาวรอหน๊ะบูดี

หมู่ที่ 1-9ตำบลขุนตัดหวายอำเภอจะนะจังหวัดสงขลา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ไข้เลือดออก เป็นโรคที่เกิดจากยุงลายซึ่งเป็นพาหะของโรค ไข้เลือดออกนอกจากจะเป็นปัญหาสาธารณสุขของประเทศไทยแล้ว ยังเป็นปัญหาสาธารณสุขทั่วโลกโดยเฉพาะประเทศในเขตร้อนชื้น และก่อให้เกิดความกังวลต่อผู้ปกครองเวลาเด็กมีไข้ และมักพบบ่อยในเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี โดยเฉพาะช่วงอายุ 2-8 ขวบ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าผู้ใหญ่จะไม่มีโอกาสเป็นโรคไข้เลือดออกได้ โดยเฉพาะต้องอาศัยอยู่ในแหล่งที่ชุกชุมไปด้วยยุงตัวร้าย รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศและสิ่งแวดล้อมเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคติดต่อที่มียุงเป็นพาหะได้เช่นกันเนื่องจากความรุนแรงของโรคประชาชนมีโอกาสหรือความเสี่ยงที่จะเกิดโรคและภัยสุขภาพด้วยกันทุกคนดังนั้นประชาชนจะต้องทราบถึงสาเหตุและแนวทางป้องกันโรคที่เกิดขึ้นในพื้นที่ เพื่อให้ระมัดระวังและป้องกันปัจจัยเสี่ยงต่อโรค โดยเฉพาะในกลุ่มเด็กเล็ก ผู้สูงอายุ เป็นต้น การดำเนินงานเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคในพื้นที่จะต้องรวดเร็ว ทันเหตุการณ์ จึงจะมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลต่อสุขภาพ
จากสถานการณ์โรคไข้เลือดออกในพื้นที่ตำบลขุนตัดหวายย้อนหลัง 5 ปี (พ.ศ.2563 - 2567) พบว่าปี 2563 พบผู้ป่วย จำนวน 1รายปี 2564 และ ปี 2565ไม่พบรายงานผู้ป่วยปี 2566พบผู้ป่วยจำนวน 26 รายและ ปี 2567พบผู้ป่วย 11 ราย สำหรับกลุ่มอายุที่พบมากที่สุดคือ 10-14 ปี , 5-9 ปี และ 15-19 ปี ตามลำดับและยังพบในวัยแรงงาน รวมทั้งในกลุ่มผู้สูงอายุอีกด้วย จากสถานการณ์การระบาดของโรคไข้เลือดออก และเพื่อประสิทธิภาพในการควบคุมป้องกันโรค จำเป็นต้องได้รับความร่วมมือจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในการกำจัดยุงลายที่เป็นพาหะนำโรคและรณรงค์ให้ประชาชนในพื้นที่ตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาโรคไข้เลือดออก และให้ความร่วมมือในการควบคุมโรคอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เกิดความยั่งยืนต่อไป ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลขุนตัดหวาย ร่วมกับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลขุนตัดหวายได้ตระหนักและเห็นถึงความสำคัญของปัญหาดังกล่าว จึงได้ร่วมจัดทำโครงการเฝ้าระวังและควบคุมโรคไข้เลือดออกในชุมชน ปี2568 เพื่อเตรียมพร้อมรับมือ “โรคไข้เลือดออก” ซึ่งเป็นการลดความเสี่ยงของประชาชนในพื้นที่ต่อการติดเชื้อโรคไข้เลือดออกอย่างต่อเนื่อง

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อลดจำนวนผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ให้ลดลงอย่างต่อเนื่อง

จำนวนผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกลดลง

11.00 5.00
2 2. เพื่อกำจัดลูกน้ำยุงลาย และยุงลายพาหะนำโรคในบ้าน ชุมชน โรงเรียน หน่วยงานราชการ ศาสนสถานต่างๆในพื้นที่

ค่าดัชนีลูกน้ำยุงลาย HI < 10,  CI ในโรงเรียน และสถานบริการสาธารณสุข = 0

0.00
3 3. เพื่อเป็นการกระตุ้นให้ประชาชนเห็นความสำคัญและตระหนักในการดูแลตนเองให้ปลอดภัยจากโรคไข้เลือดออกอย่างต่อเนื่อง

ประชาชนเห็นความสำคัญในการป้องกันตนเองและปลอดภัยจากโรคไข้เลือดออก

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 21/04/2025

กำหนดเสร็จ 31/12/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 จัดประชุมชี้แจงทีมเฝ้าระวังสอบสวนโรคเคลื่อนที่เร็วตำบล(ทีมSRRT)

ชื่อกิจกรรม
จัดประชุมชี้แจงทีมเฝ้าระวังสอบสวนโรคเคลื่อนที่เร็วตำบล(ทีมSRRT)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประชุมทีมเฝ้าระวังสอบสวนโรคเคลื่อนที่เร็วตำบลเพื่อชี้แจงและหาแนวทางการดำเนินงานร่วมกัน

ระยะเวลาดำเนินงาน
21 เมษายน 2568 ถึง 31 มกราคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ทีม SRRT ตำบลมีประสิทธิภาพในการดำเนินงาน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 รณรงค์ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายในโรงเรียน บ้านเรือน ศาสนสถาน และสถานที่ราชการ

ชื่อกิจกรรม
รณรงค์ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายในโรงเรียน บ้านเรือน ศาสนสถาน และสถานที่ราชการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

อสม.ร่วมกับผู้นำชุมชนสำรวจและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย เดือนละ 1 ครั้ง    ครัวเรือนกำจัดและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์อย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้ง

ระยะเวลาดำเนินงาน
21 เมษายน 2568 ถึง 31 ธันวาคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ประชาชนมีพฤติกรรมในการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์อย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 3 พ่นหมอกควันกรณีมีการเกิดโรค และพ่นก่อนเปิดเทอม

ชื่อกิจกรรม
พ่นหมอกควันกรณีมีการเกิดโรค และพ่นก่อนเปิดเทอม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดซื้อจัดหาวัสดุ และเตรียมครุภัณฑ์ให้พร้อมในการดำเนินงานดังนี้ 1.ค่าน้ำมันดีเซล เป็นเงิน 6,000บาท 2.ค่าน้ำมันเบนซินเป็นเงิน 2,500บาท 3.ค่าน้ำมัน 2Tเป็นเงิน200บาท 4.ค่าสเปรย์พ่นยุงเป็นเงิน1300บาท 5.ค่าจ้างพ่นหมอกควัน เป็นเงิน 6,000บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
21 เมษายน 2568 ถึง 31 ธันวาคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

-ผู้ป่วยไข้เลือดออกลดลงอัตราป่วย ไม่เกิน 50ต่อแสนประชาการ -ไม่พบผู้ป่วยเสียชีวิต

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
16000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 16,000.00 บาท

หมายเหตุ :
ทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยกันได้

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?


>