โครงการเฝ้าระวังและควบคุมโรคไข้เลือดออกในชุมชน ปี 2568
ชื่อโครงการ | โครงการเฝ้าระวังและควบคุมโรคไข้เลือดออกในชุมชน ปี 2568 |
รหัสโครงการ | 68-L5174-2-008 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | กลุ่มหรือองค์กรประชาชน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลขุนตัดหวาย |
วันที่อนุมัติ | 22 มกราคม 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 21 เมษายน 2568 - 31 ธันวาคม 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 30 กันยายน 2568 |
งบประมาณ | 16,000.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางอัญชลี นิลรัตน์ |
พี่เลี้ยงโครงการ | นายธนพนธ์ จรสุวรรณ |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลขุนตัดหวาย อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา |
ละติจูด-ลองจิจูด | place |
งวด | วันที่งวดโครงการ | วันที่งวดรายงาน | งบประมาณ (บาท) | |||
---|---|---|---|---|---|---|
จากวันที่ | ถึงวันที่ | จากวันที่ | ถึงวันที่ | |||
1 | 21 เม.ย. 2568 | 31 ธ.ค. 2568 | 16,000.00 | |||
รวมงบประมาณ | 16,000.00 |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด | |||
---|---|---|---|---|
1 | ร้อยละประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภาวะไข้เลือดออกระบาด | 2.00 |
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
ไข้เลือดออก เป็นโรคที่เกิดจากยุงลายซึ่งเป็นพาหะของโรค ไข้เลือดออกนอกจากจะเป็นปัญหาสาธารณสุขของประเทศไทยแล้ว ยังเป็นปัญหาสาธารณสุขทั่วโลกโดยเฉพาะประเทศในเขตร้อนชื้น และก่อให้เกิดความกังวลต่อผู้ปกครองเวลาเด็กมีไข้ และมักพบบ่อยในเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี โดยเฉพาะช่วงอายุ 2-8 ขวบ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าผู้ใหญ่จะไม่มีโอกาสเป็นโรคไข้เลือดออกได้ โดยเฉพาะต้องอาศัยอยู่ในแหล่งที่ชุกชุมไปด้วยยุงตัวร้าย รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศและสิ่งแวดล้อมเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคติดต่อที่มียุงเป็นพาหะได้เช่นกันเนื่องจากความรุนแรงของโรคประชาชนมีโอกาสหรือความเสี่ยงที่จะเกิดโรคและภัยสุขภาพด้วยกันทุกคนดังนั้นประชาชนจะต้องทราบถึงสาเหตุและแนวทางป้องกันโรคที่เกิดขึ้นในพื้นที่ เพื่อให้ระมัดระวังและป้องกันปัจจัยเสี่ยงต่อโรค โดยเฉพาะในกลุ่มเด็กเล็ก ผู้สูงอายุ เป็นต้น การดำเนินงานเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคในพื้นที่จะต้องรวดเร็ว ทันเหตุการณ์ จึงจะมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลต่อสุขภาพ จากสถานการณ์โรคไข้เลือดออกในพื้นที่ตำบลขุนตัดหวายย้อนหลัง 5 ปี (พ.ศ.2563 - 2567) พบว่าปี 2563 พบผู้ป่วย จำนวน 1รายปี 2564 และ ปี 2565ไม่พบรายงานผู้ป่วยปี 2566พบผู้ป่วยจำนวน 26 รายและ ปี 2567พบผู้ป่วย 11 ราย สำหรับกลุ่มอายุที่พบมากที่สุดคือ 10-14 ปี , 5-9 ปี และ 15-19 ปี ตามลำดับและยังพบในวัยแรงงาน รวมทั้งในกลุ่มผู้สูงอายุอีกด้วย จากสถานการณ์การระบาดของโรคไข้เลือดออก และเพื่อประสิทธิภาพในการควบคุมป้องกันโรค จำเป็นต้องได้รับความร่วมมือจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในการกำจัดยุงลายที่เป็นพาหะนำโรคและรณรงค์ให้ประชาชนในพื้นที่ตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาโรคไข้เลือดออก และให้ความร่วมมือในการควบคุมโรคอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เกิดความยั่งยืนต่อไป ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลขุนตัดหวาย ร่วมกับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลขุนตัดหวายได้ตระหนักและเห็นถึงความสำคัญของปัญหาดังกล่าว จึงได้ร่วมจัดทำโครงการเฝ้าระวังและควบคุมโรคไข้เลือดออกในชุมชน ปี2568 เพื่อเตรียมพร้อมรับมือ “โรคไข้เลือดออก” ซึ่งเป็นการลดความเสี่ยงของประชาชนในพื้นที่ต่อการติดเชื้อโรคไข้เลือดออกอย่างต่อเนื่อง
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | 1. เพื่อลดจำนวนผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ให้ลดลงอย่างต่อเนื่อง จำนวนผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกลดลง |
11.00 | 5.00 |
2 | 2. เพื่อกำจัดลูกน้ำยุงลาย และยุงลายพาหะนำโรคในบ้าน ชุมชน โรงเรียน หน่วยงานราชการ ศาสนสถานต่างๆในพื้นที่ ค่าดัชนีลูกน้ำยุงลาย HI < 10, CI ในโรงเรียน และสถานบริการสาธารณสุข = 0 |
0.00 | |
3 | 3. เพื่อเป็นการกระตุ้นให้ประชาชนเห็นความสำคัญและตระหนักในการดูแลตนเองให้ปลอดภัยจากโรคไข้เลือดออกอย่างต่อเนื่อง ประชาชนเห็นความสำคัญในการป้องกันตนเองและปลอดภัยจากโรคไข้เลือดออก |
0.00 | |
4 | เพื่อแก้ปัญหาประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภาวะไข้เลือดออกระบาด การแก้ปัญหาประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากไข้เลือดออกระบาด(ร้อยละ) |
2.00 | 0.00 |
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรม | 0 | 16,000.00 | 0 | 0.00 | |
21 เม.ย. 68 - 31 ม.ค. 68 | จัดประชุมชี้แจงทีมเฝ้าระวังสอบสวนโรคเคลื่อนที่เร็วตำบล(ทีมSRRT) | 0 | 0.00 | - | ||
21 เม.ย. 68 - 31 ธ.ค. 68 | รณรงค์ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายในโรงเรียน บ้านเรือน ศาสนสถาน และสถานที่ราชการ | 0 | 0.00 | - | ||
21 เม.ย. 68 - 31 ธ.ค. 68 | พ่นหมอกควันกรณีมีการเกิดโรค และพ่นก่อนเปิดเทอม | 0 | 16,000.00 | - |
1.จำนวนผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ให้ลดลงอย่างต่อเนื่อง 2.แก้ปัญหาประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภาวะไข้เลือดออกระบาด
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 25 ต.ค. 2567 00:00 น.