กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตะปอเยาะ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการป้องกันและแก้ปัญหาไฟป่าหมอกควันและฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM 2.5)

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตะปอเยาะ

กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมองค์การบริหารส่วนตำบลตะปอเยาะ

-

ตำบลตะปอเยาะ อำเภอยี่งอจังหวัดนราธิวาส

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานมลพิษจากสิ่งแวดล้อม

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

จากสถานการณ์ฝุ่นละอองขนาดเล็กไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM 2.5) ที่แพร่กระจายครอบคลุมพื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศไทย และภูมิภาคข้างเคียง โดยส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนในพื้นที่ มากกว่า 2 สัปดาห์ แล้ว และคาดว่าสถานการณ์จะยังไม่บรรเทาลง กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมองค์การบริหารส่วนตำบลตะปอเยาะได้พิจารณาแล้วว่าหากไม่รีบดำเนินการจัดการปัญหาดังกล่าว อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนในพื้นที่ ทั้งในระยะสั้น และในระยะยาว ดังนี้ ฝุ่น PM 2.5 มีขนาดเล็กและมีปริมาณมากที่สามารถทะลุขนจมูก แทรกซึมสู่ระบบทางเดินหายใจ ทะลุผนังปอดและเข้ากระแสเลือดได้อย่างง่ายดาย ผลกระทบที่รับฝุ่นเข้าไปอาจเกิดขึ้นกับร่ายกาย (ภายใน 1 - 2 วัน) ซึ่งส่วนมากจะเกิดกับระบบทางเดินหายใจ โดยมีอาการ ไอ เจ็บคอ หายใจแล้วมีเสียงฟืดฟาด เลือดกำเดาไหล มีเสมหะ ซึ่งหากเลือดไหลลงคอก็จะทำให้เสมหะมีเลือดเจือปน ฝุ่นเข้าตาทำให้เกิดโรคเยื่อบุตาอักเสบ ทำให้เกิดอาการ เช่น ตาแดง แสบตา คันตา หรือระคายเคือง หากเกิดอาการเหล่านี้สามารถบรรเทาอาการด้วยวิธีประคบเย็นหรือใช้น้ำตาเทียม บางกรณีอาจไม่จำเป็นต้องรับการรักษาโดยแพทย์ เพราะหายได้เองภายใน 2-3 สัปดาห์ นอกเหนือจะทำให้เกิดปัญหาต่อระบบทางเดินหายใจ ยังมีผลกระทบต่อผิวหนังของเราอีกด้วย กรมการแพทย์ โดยสถาบันโรคผิวหนัง เปิดเผยว่า อนุภาคของฝุ่นละอองที่อยู่ในอากาศมีขนาดเล็กเส้นผ่านศูนย์กลางไม่เกิน 2.5 ไมครอน สามารถผ่านเข้าสู่เซลล์ผิวหนังได้ ข้อมูลจากงานวิจัยพบว่า ฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 สามารถจับตัวกับสารเคมีและโลหะต่าง ๆ และนำพาเข้าสู่ผิวหนัง มีผลทำร้ายเซลล์ผิวหนังโดยตรง และทำให้การทำงานของเซลล์ผิวหนังผิดปกติไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อป้องกันสุขภาพของประชาชนจากอันตรายของฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM 2.5)

ร้อยละ 80 ประชาชน ปลอดภัยจากโรคที่เกิดจากหมอกควันและฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM 2.5 )

80.00 80.00
2 2. เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ในการดูแลตัวเอง และสามารถป้องกันตนเองจากจากอันตรายของฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM 2.5)

ร้อยละ 80 ประชาชน ให้ความสำคัญ มีความรู้เรื่องการป้องกันหมอกควันและฝุ่นควันขนาดเล็ก (PM2.5) และเห็นประโยชน์ของการป้องกันโรคมากขึ้น

80.00 80.00
3 3. เพื่อป้องกัน และแก้ไขปัญหาได้ทันต่อสถานการณ์

 

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 10
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 40
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น : 27/02/2025

กำหนดเสร็จ : 31/05/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1.จัดการอบรมให้ความรู้ ความเข้าใจในการป้องกัน และดูแลสุขภาพจากภัยฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM 2.5)

ชื่อกิจกรรม
1.จัดการอบรมให้ความรู้ ความเข้าใจในการป้องกัน และดูแลสุขภาพจากภัยฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM 2.5)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารกลางวัน กลุ่มเป้าหมาย 50 คน ผู้ดำเนินงาน6 คน รวม 56 คนๆ ละ 70 บาท/มื้อ เป็นเงิน 3,920 บาท
    -ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม กลุ่มเป้าหมาย 50 คน ผู้ดำเนินงาน 6 คน รวม 56 คนๆ ละ 35 บาทX2มื้อ เป็นเงิน 3,920 บาท
    -ค่าวิทยากร จำนวน 1 คนๆละ 3 ชั่วโมงๆละ 600 บาทเป็นเงิน1800บาท -ค่าวิทยากรกลุ่มๆละ 1 คนๆละ 2 ชม.ๆละ 600 บาท จำนวน 2 กลุ่ม เป็นเงิน 2,400 บาท -ค่าป้ายประชาสัมพันธ์โครงการขนาด1.2 x 2..40 เมตรๆละ 250 บาทเป็นเงิน720 บาท
  • ค่าวัสดุจำนวน50ชุดๆละ100บาทเป็นเงิน5000บาท
    • ค่าใช้วัสดุกิจกรรมกลุ่ม เป็นเงิน 540 บาท รวมเป็นเงิน 18300 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
27 กุมภาพันธ์ 2568 ถึง 30 พฤษภาคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

. ประชาชนในพื้นที่ ได้รับการป้องกันอันตรายของฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM 2.5)

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
18300.00

กิจกรรมที่ 2 2.สนับสนุนหน้ากากอนามัยกรณีเกิดภัยพิบัติไฟไหม้ป่าพรุ

ชื่อกิจกรรม
2.สนับสนุนหน้ากากอนามัยกรณีเกิดภัยพิบัติไฟไหม้ป่าพรุ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าหน้ากากอนามัยมาตรฐาน หรือหน้ากากอนามัยจำนวน 25 กล่อง เป็นเงิน 3000 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
27 กุมภาพันธ์ 2568 ถึง 30 พฤษภาคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

. ในช่วงเกิดไฟใหม้ป่าพรุ ประชาชนในพื้นที่ ได้รับการการสนับสนุบหน้ากากอนามัยเพื่อป้องกันอันตรายของฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM 2.5)

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 21,300.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ประชาชนในพื้นที่ ได้รับการป้องกันอันตรายของฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM 2.5)
2. ประชาชนมีความรู้ในการดูแลตัวเอง และสามารถป้องกันตนเองจากจากอันตรายของฝุ่นละอองขนาดเล็ก(PM 2.5)
3. สามารถป้องกัน และแก้ไขปัญหาได้ทันต่อสถานการณ์


>