กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลบ้านนา

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการชุมชนล้อมรักษ์(CBTx) ในชุมชน รพ.สต.บ้านลำในประจำปี 2568

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลบ้านนา

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านลำใน

หมู่ที่ ม.2, ม.4 ,ม.7, ม.10,ม.12ต.บ้านนา อ.ศรีนครินทร์ จ.พัทลุง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานสิ่งเสพติด

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ปัญหายาเสพติดเป็นสาเหตุหนึ่งที่ก่อให้เกิดปัญหาอื่นๆตามมา เช่น ปัญหาครอบครัว ปัญหา อาชญากรรม ส่งผลกระทบต่อชีวิตและทรัพย์สิน และรัฐบาลยังต้องใช้งบประมาณอีกมากมายในการแก้ไข ป้องกัน ปราบปราม และบำบัด เพราะผู้ติดยาเสพติดจะกลายเป็นบุคคลที่ด้อยคุณภาพ ติดยาเสพติดแล้ว ไม่สามารถดำรงชีวิตได้อย่างปกติสุข ทำให้รัฐบาลต้องการแก้ไขและป้องกันปัญหายาเสพติดเป็นวาระแห่งชาติกำหนดแนวทาง เป้าหมายที่จะช่วยการแก้ปัญหายาเสพติด ด้วยการดำรงสภาพไม่ให้มีผู้ผลิตและขาย ตลอดจนให้การช่วยเหลือผู้ที่เลิกยาเสพติดให้กับมาใช้ชีวิตอย่างปกติสุข โดยมาตรการที่ใช้ดำเนินการแก้ปัญหาผู้ใช้ ผู้เสพ ผู้ติดยาเสพติดด้วยวิธีการทางสาธารณสุขแทนการใช้ กระบวนการยุติธรรมทางอาญา และให้ยึดหลัก “ผู้เสพ คือ ผู้ป่วย”ปัจจุบันรูปแบบการบำบัด ดูแลช่วยเหลือ ผู้ที่สอดคล้องกับสภาพปัญหายาเสพติด คือ การบำบัดฟื้นฟูโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน (Community Base Treatment and Rehabilitation : CBTx) รูปแบบการบำบัดรักษาที่ควรได้รับการช่วยเหลือให้กลับมา ดำรงชีวิตในสังคมได้อย่างยั่งยืน จากสถิติการบำบัดรักษาผู้ใช้สารเสพติดของโรงพยาบาลศรีนครินทร์(ปัญญานันทภิกขุ) ในเขตรับผิดชอบ รพ.สต.บ้านลำใน ตำบลบ้านนา อ.ศรีนครินทร์ จ.พัทลุงปีงบประมาณ 2565-2567 จำนวน 8,12,20 ราย ตามลำดับ ซึ่งมีแนวโน้มสูงขึ้น ผู้เสพและผู้ติดสารเสพติดส่วนใหญ่เป็นวัยทำงาน มีอาชีพรับจ้างและเกษตรกรนอกจากนี้ยังมีปัญหาการเข้าถึงบริการ การบำบัดรักษายาเสพติดแบบสมัครใจ มีจำนวนน้อย ส่วนผู้ป่วยที่เข้ารับการบำบัดรักษา มีพฤติกรรมเสพซ้ำ ซึ่งส่งผลต่ออาการทางจิตเวชจากยาเสพติด เกิดอาการคลุ้มคลั่งอาละวาดก้าวร้าวรุนแรง (SMI-V) มีจำนวนมากขึ้น เฉลี่ย 2-3 ราย ต่อเดือน
รพ.สต.บ้านลำใน จึงเห็นถึงความสำคัญของปัญหายาเสพติดในชุมชน การป้องกัน การดูแล การรักษา การฟื้นฟู การบำบัดผู้เสพติดโดยการมีส่วนร่วมชองชุมชน [Community based Treatment and Rehabilitation (CBTx)] หรือเรียกว่าชุมชนบำบัดมุ่งหวังการลดอันตรายจากการใช้สารเสพติด ของผู้ติดยาเสพติดตามแนวทางการช่วยเหลือบำบัดรักษาทางการแพทย์ที่มีประสิทธิภาพ และการบำบัดรักษา การช่วยเหลือผู้ติดยาเสพติดโดยชุมชน จึงได้จัดทำ “โครงการชุมชนล้อมรักษ์(CBTx) ในชุมชน รพ.สต.บ้านลำในประจำปี 2568” ต.บ้านนา อ.ศรีนครินทร์ จ.พัทลุง ปีงบประมาณ 2568 ขึ้น เพื่อสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนแบบบูรณาการ การจัดการปัญหายาเสพติดโดยชุมชนบำบัด และสร้างชุมชนเข้มแข็งอย่างยั่งยืนในการแก้ไขปัญหาและป้องกันยาเสพติดในชุมชนต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อเพิ่มศักยภาพแกนนำชุมชนล้อมรักษ์ในการร่วมแก้ไขปัญหายาเสพติดในชุมชน

แกนนำชุมชนล้อมรักษ์ มีความรู้ ความเข้าใจ กระบวนการบำบัดฟื้นฟูโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน [Community based Treatment and Rehabilitation (CBTx)] สามารถดูแลผู้ป่วยได้อย่างถูกต้องเหมาะสม และเป็นที่ปรึกษาตลอดการดูแลผู้ป่วยได้

0.00
2 2.เพื่อคัดกรอง ค้นหา ผู้ใช้ ผู้เสพ และผู้ติดสารเสพติดในชุมชน สร้างชุมชนยั่งยืนในการแก้ไขปัญหายาเสพติด

ร้อยละ 100 ของจำนวนชุมชนล้อมรักษ์ 5 หมู่ มีการคัดกรอง ค้นหา ผู้ใช้ ผู้เสพ และผู้ติดสารเสพติดในชุมชน

0.00
3 3.เพื่อให้ผู้ใช้ ผู้เสพ และผู้ติดสารเสพติดในชุมชน ได้รับการเข้าสู่กระบวนการบำบัด รักษา ฟื้นฟู รับ-ส่งต่อ และติดตามผลอย่างต่อเนื่อง

ร้อยละ 50 ของผู้ได้รับการคัดกรอง เข้าสู่กระบวนการบำบัดรักษา ฟื้นฟู และติดตามอย่างต่อเนื่อง

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 50
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น : 01/02/2025

กำหนดเสร็จ : 31/08/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมที่ 1. ระยะเตรียมการ ร่วมบูรณาการการดำเนินงานภายใต้คณะกรรมการ พัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.)

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 1. ระยะเตรียมการ ร่วมบูรณาการการดำเนินงานภายใต้คณะกรรมการ พัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมที่ 1. ระยะเตรียมการ ร่วมบูรณาการการดำเนินงานภายใต้คณะกรรมการ พัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.)
1.1 ประชุมชี้แจงวัตถุประสงค์ การดำเนินงาน แนวทาง และแผนการจัดกิจกรรมร่วมกับภาคีเครือข่าย คณะกรรมการหมู่บ้าน ผู้นำชุมชน กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และประชาชนที่เข้าร่วมโครงการ ชุมชนล้อมรักษ์ CBTx 1.2 แต่งตั้งคณะทำงานขับเคลื่อนชุมชนล้อมรักษ์ CBTx
1.3 ประกาศเจตนารมณ์ต่อต้านยาเสพติด ทำ MOU 1.4 ประชาสัมพันธ์ให้คนในชุมชนสมัครใจบำบัด (กิจกรรมที่ 1.1 - 1.4 ไม่ใช้งบประมาณ) 1.5 ประชุมเชิงปฏิบัติการ การพัฒนาศักยภาพ แกนนำสุขภาพในชุมชนและภาคีเครือข่ายชุมชนล้อมรักษ์ กระบวนการบำบัดฟื้นฟูโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน [Community based Treatment and Rehabilitation (CBTx)] 1.ค่าอาหารว่าง และเครื่องดื่ม สำหรับกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 50 คน x 2 มื้อ x 35 บาทเป็นเงิน 3,500 บาท
2. ค่าอาหารกลางวัน สำหรับกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 50 คน x 1 มื้อ x 80 บาท เป็นเงิน 4,000 บาท 3. ค่าสมนาคุณวิทยากรกระบวนการจำนวน 2 คนๆละ 5 ชั่วโมงๆละ 600บาทเป็นเงิน 6,000 บาท
4.ค่าป้ายไวนิล ประชาสัมพันธ์ฯโครงการ ขนาด1 x2 เมตร ราคา 400 บาท จำนวน 5 ป้ายเป็นเงิน 2,000 บาท
รวมเป็นเงิน 15,500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2568 ถึง 31 มีนาคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีจำนวนแกนนำชุมนล้อมรักษ์จำนวน50คน /แกนนำชุมชนล้อมรักษ์ทุกคนมีความรู้ ความเข้าใจ กระบวนการบำบัดฟื้นฟูโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน [Community based Treatment and Rehabilitation (CBTx)] สามารถดูแลผู้ป่วยได้อย่างถูกต้องเหมาะสม และเป็นที่ปรึกษาตลอดการดูแลผู้ป่วยได้

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
15500.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรม คัดกรอง ค้นหาผู้ใช้ ผู้เสพ ผู้ติดสารเสพติดในชุมชนลงพื้นที่ร่วมกับภาคีเครือข่ายในชุมชน(คณะทำงาน หมู่ละ 4 คน จำนวน 5 หมู่ทั้งหมด 20 คนลงพื้นที่หมู่ละ 2 วัน x5 หมู่ ทั้งหมด 10 วัน )

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรม คัดกรอง ค้นหาผู้ใช้ ผู้เสพ ผู้ติดสารเสพติดในชุมชนลงพื้นที่ร่วมกับภาคีเครือข่ายในชุมชน(คณะทำงาน หมู่ละ 4 คน จำนวน 5 หมู่ทั้งหมด 20 คนลงพื้นที่หมู่ละ 2 วัน x5 หมู่ ทั้งหมด 10 วัน )
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

2.1กิจกรรมลงคัดกรอง ค้นหาผู้ใช้ ผู้เสพ ผู้ติดสารเสพติดในชุมชนโดยลงพื้นที่ร่วมกับแกนนำและภาคีเครือข่ายในชุมชน
(คณะทำงาน หมู่ละ 4 คน จำนวน 5 หมู่ทั้งหมด 20 คนลงพื้นที่หมู่ละ 2 วัน x 5 หมู่ ทั้งหมด 10 วัน )
-ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มคณะทำงานวันละ 4 คน x 5 หมู่ๆ x 2 วัน x 2 มื้อ x 35 บาท (10วัน)เป็นเงิน2,800 บาท - ค่าอาหารกลางวัน วันละ 4 คน x 5 หมู่ x 2 วัน x 1 มื้อ x80 บาท (10วัน) เป็นเงิน3,200 บาท - ค่าตอบแทนคณะทำงาน จำนวน 20 คนๆละ 2 วันๆละ 200 บาท เป็นเงิน8,000 บาท
รวมเป็นเงิน14,000บาท
2.2 จัดทำทะเบียนผู้ใช้ ผู้เสพ ผู้ติดสารเสพติดในชุมชน (ไม่ใช้งบประมาณ) 2.3 ส่งผู้สมัครใจเข้าสู่กระบวนการบำบัด รักษา(ไม่ใช้งบประมาณ)

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2568 ถึง 30 เมษายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ร้อยละ 100 ของจำนวนชุมชนล้อมรักษ์ 5 หมู่ มีการคัดกรอง ค้นหา ผู้ใช้ ผู้เสพ และผู้ติดสารเสพติดในชุมชน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
14000.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมที่ 3 ระยะการบำบัดรักษาและฟื้นฟู

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 3 ระยะการบำบัดรักษาและฟื้นฟู
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

3.1 จัดกิจกรรม “ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม” 3.2 กิจกรรมกลุ่มบำบัด 3.3 กิจกรรมครอบครัวบำบัด
กิจกรรม 3.1-3.3ไม่ใช้งบประมาณ 3.4 กิจกรรมจิตอาสาพัฒนาชุมชน
- ค่าอาหารว่าง และเครื่องดื่ม สำหรับคณะทำงานและกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 30 คน x 1 มื้อ x 35 บาทเป็นเงิน1,050 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2568 ถึง 31 สิงหาคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ร้อยละ 50 ของผู้ได้รับการคัดกรอง เข้าสู่กระบวนการบำบัดรักษา ฟื้นฟู และติดตามอย่างต่อเนื่อง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1050.00

กิจกรรมที่ 4 กิจกรรมที่ 4 ระยะส่งต่อความยั่งยืนสู่ชุมชน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 4 ระยะส่งต่อความยั่งยืนสู่ชุมชน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

4.1 ลงพื้นที่ติดตามกลุ่มเป้าหมาย
- ค่าตอบแทน สำหรับคณะทำงานจำนวนวันละ 4 คน x 5 หมู่ x 1 วัน x200 บาท เป็นเงิน4,000 บาท 4.2กิจกรรมถอดบทเรียน ชุมชนบำบัดยาเสพติด แกนนำชุมชน ตัวแทนภาคีเครือข่ายคณะทำงาน - ค่าอาหารว่าง และเครื่องดื่ม สำหรับคณะทำงานและกลุ่มเป้าหมายจำนวน 30 คน x 1 มื้อ x 35 บาทเป็นเงิน1,050 บาท รวมเป็นเงิน5,050 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2568 ถึง 31 สิงหาคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีแกนนำชุมชนล้อมรักษ์ที่ร่วมแก้ปัญหายาเสพติดในชุมชนอย่างยั่งยืน   จำนวน 5 หมู่บ้าน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
5050.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 35,600.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ชุมชนเกิดความเข้มแข็ง มีระบบการป้องกัน เฝ้าระวัง และแก้ไขปัญหายาเสพติดอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน โดยชุมชนมีส่วนร่วม (CBTx)
2.ผู้ใช้ ผู้เสพ ผู้ติดสารเสพติดในชุมชนได้รับการคัดกรอง นำเข้าสู่กระบวนการบำบัดรักษา ฟื้นฟู รับ-ส่งต่อ ดูแลช่วยเหลือจากชุมชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อย่างมีคุณภาพ
3.ผู้ผ่านการบำบัดรักษายาเสพติด/ผู้ดูแลหรือครอบครัว มีความรู้เรื่องยาเสพติด/สุขภาพจิต และตระหนักถึงโทษพิษภัยของยาเสพติดและผลกระทบด้านสุขภาพจิต ป้องกันการกลับไปเสพ
4.ลดการตีตรา เพิ่มการยอมรับ เสริมสร้างพลังในตนเองของผู้ผ่านการบำบัด และอยู่ร่วมกับครอบครัว ชุมชน สังคม ได้อย่างปกติสุข
5.มีการบูรณาการทำงานร่วมกันของภาคีเครือข่าย ระหว่างเจ้าหน้าที่รพ.สต. หมู่บ้าน ชุมชน อสม. ตำรวจ ฝ่ายปกครอง ท้องที่ ท้องถิ่น ในการแก้ปัญหายาเสพติดในชุมชนอย่างยั่งยืน


>