กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการพัฒนาทักษะแกนนำในการป้องกัน และควบคุมโรคติดต่อที่นำโดยแมลงเป็นพาหะนำโรค ในตำบลบ้านนา ประจำปี 2568

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลบ้านนา

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการพัฒนาทักษะแกนนำในการป้องกัน และควบคุมโรคติดต่อที่นำโดยแมลงเป็นพาหะนำโรค ในตำบลบ้านนา ประจำปี 2568

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลบ้านนา

ชมรมอาสาสมัคร SRRT ตำบลบ้านนา

1.นายธีรพร แก้วสม
2.นายสุวัฒน์ หนูเทพ
3.นางสาวอรวรรณ จันทรธนู
4.นายสาโรจน์ สงเดช
5.นายภัทรพงศ์ เยาว์แสง

พื้นที่ตำบลบ้านนา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภาวะไข้มาลาเรีย

 

5.00
2 ร้อยละประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภาวะไข้เลือดออกระบาด

 

20.00

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภาวะไข้เลือดออกระบาด

การแก้ปัญหาประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากไข้เลือดออกระบาด(ร้อยละ)

20.00 18.00
2 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภาวะไข้มาลาเรียระบาด

การแก้ปัญหาประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากไข้มาลาเรีย (ร้อยละ)

5.00 4.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
แกนนำชุมชน จำนวน 3 รุ่นๆ ละ 75 คน 235

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/01/2025

กำหนดเสร็จ 30/09/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมพัฒนาทักษะแกนนำในการป้องกัน และควบคุมโรคติดต่อที่นำโดยแมลงเป็นพาหะนำโรค ในตำบลบ้านนา

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมพัฒนาทักษะแกนนำในการป้องกัน และควบคุมโรคติดต่อที่นำโดยแมลงเป็นพาหะนำโรค ในตำบลบ้านนา
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ขั้นเตรียมการ
1. หารือ เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง เพื่อวางแผนดำเนินงาน
2. เสนอโครงการเพื่อพิจารณาอนุมัติ
3. ปฏิบัติตามแผนงาน
ขั้นดำเนินการ
1. ประสานกลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมโครงการฯ ประสานวิทยากร และจัดเตรียมวัสดุ/อุปกรณ์
2. จัดกลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมโครงการ จำนวน 3 รุ่นๆ ละ 75 คน วันละ 1 รุ่น
3. จัดกิจกรรมอบรมพัฒนาทักษะแกนนำในการป้องกัน และควบคุมโรคติดต่อที่นำโดยแมลงเป็นพาหะนำโรค ในตำบลบ้านนา
4. ประสานงานผู้นำชุมชน และ อสม. ในการดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคเช่น
-ประชาสัมพันธ์เสียงตามสายและหอกระจายข่าวทุกหมู่บ้านในเขตเทศบาลตำบลบ้านนา ให้ประชาชนรับทราบเรื่องโรคติดต่อที่นำโดยแมลง
-กิจกรรมรณรงค์ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุง ในพื้นที่สาธารณะ
-กิจกรรมสำรวจลูกน้ำยุงลายในชุมชน วัด โรงเรียน และสถานบริการสาธารณะ
-กิจกรรมแจกทรายอะเบท
5. สรุปผลการดำเนินงาน และประเมินผลการดำเนินการ
กำหนดการ
12.30 – 12.45 น.- ลงทะเบียนการประชุม
12.45 – 13.00 น. - พิธีเปิดการประชุม
13.00 – 15.00 น. - หลักการป้องกันควบคุมโรคติดต่อนำโดยแมลง
วิทยากร จากหน่วยควบคุมโรคติดต่อนำโดยแมลง ที่ 12.3 จังหวัดตรัง
15.00 – 15.30 น. - ความรู้ความเข้าการใช้สารเคมีแต่ละชนิดในการจำกัดยุงและลูกน้ำยุงลาย
วิทยากร จากหน่วยควบคุมโรคติดต่อนำโดยแมลง ที่ 12.3 จังหวัดตรัง
15.30 -16.00 น. - ความรู้ความเข้าใจการใช้เครื่องพ่นหมอกควันและเครื่องพ่นชนิดละอองฝอย (ULV)
วิทยากร จากหน่วยควบคุมโรคติดต่อนำโดยแมลง ที่ 12.3 จังหวัดตรัง
16.00 – 16.30 น.สรุปการประชุม/ปิดการประชุม
รายละเอียดงบประมาณ ค่าใช้จ่าย ดังนี้
1.ค่าสัมมนาคุณวิทยากร จำนวน 3 ชั่วโมง x 600 บาท x 3 รุ่น เป็นเงิน 5,400 บาท
2.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ผู้เข้าร่วมอบรมและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง จำนวน 235 คนx 35 บาทx 1 มื้อ เป็นเงิน 8,225 บาท
3.ค่าป้ายไวนิลโครงการ ขนาด 1x 2 เมตร จำนวน 1 ป้าย เป็นเงิน 400 บาท
รวมเป็นเงิน 14,025 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
20 มกราคม 2568 ถึง 20 มกราคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.ผู้เข้าร่วมอบรมได้รับความรู้ความเข้าใจหลักการป้องกันควบคุมโรคติดต่อนำโดยแมลง เพิ่มขึ้น ร้อยละ 50
2.ผู้เข้าร่วมอบรม มีทักษะในการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อที่นำโดยแมลงเป็นพาหะนำโรค เพิ่มขึ้น ร้อยละ 50

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
14025.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมรณรงค์ประชาสัมพันธ์ สร้างความตระหนัก ให้ประชาชนรับทราบเรื่องโรคติดต่อที่นำโดยแมลง

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมรณรงค์ประชาสัมพันธ์ สร้างความตระหนัก ให้ประชาชนรับทราบเรื่องโรคติดต่อที่นำโดยแมลง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รายละเอียดกิจกรรม 1. ประสานงานผู้นำชุมชน และ อสม. ในการดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคเช่น
-ประชาสัมพันธ์เสียงตามสายและหอกระจายข่าวทุกหมู่บ้านในเขตเทศบาลตำบลบ้านนา ให้ประชาชนรับทราบเรื่องโรคติดต่อที่นำโดยแมลง
-กิจกรรมรณรงค์ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุง ในพื้นที่สาธารณะ
-กิจกรรมสำรวจลูกน้ำยุงลายในชุมชน วัด โรงเรียน และสถานบริการสาธารณะ
-กิจกรรมแจกทรายอะเบท 2. สรุปผลการดำเนินงาน และประเมินผลการดำเนินการ

รายละเอียดงบประมาณ ค่าใช้จ่าย ดังนี้
1.ค่าป้ายรณรงค์ โฟมบอร์ดพร้อมด้ามจับ ขนาด 60x60 cm จำนวน 8 ป้ายๆละ 350 บาท เป็นเงิน 2,800 บาท รวมเป็นเงิน 2,800 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
31 มกราคม 2568 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.แกนนำสาธารณสุข ร่วมกันรณรงค์ประชาสัมพันธ์ สร้างความตระหนักให้ประชาชน เข้าใจเรื่องโรคติดต่อนำโดยแมลง
2.แกนนำสาธารณสุข และประชาชนในพื้นที่ ร่วมกันทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุง อย่างน้อยสัปดาห์ ละ 1 ครั้ง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2800.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 16,825.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ผู้เข้าร่วมโครงการ แกนนำสาธารณสุข ได้รับความรู้ความเข้าใจ การป้องกัน ควบคุมโรคติดต่อที่นำโดยแมลงเป็นพาหะ เพิ่มขึ้นร้อยละ 60
2.สามารถป้องกันและควบคุมโรคติดต่อที่นำโดยแมลงเป็นพาหะนำโรค เพิ่มขึ้น ร้อยละ 60
3.ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจและเกิดพฤติกรรมในการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงอย่างสม่ำเสมอ


>