กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.น้ำขาว

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการเยาวชนน้ำขาว รู้ทัน ป้องกันภัยสุขภาพ ปี 2568

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.น้ำขาว

ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุข รพ.สต.น้ำขาว

1.นางสาวสุคนธ์ ชูศรี
2.นางจริยา หมวดเพ็ง
3.นางประไพ ชัยศรี
4.นางอาภรณ์ ปิยะรัตน์
5.นายชำนาญ ชายพรม
6.นางสาวจินดา คงทอง

โรงเรียนชุมชนวัดน้ำขาว

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว , แผนงานปัญหาสุขภาพอุบัติใหม่

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของเด็กวัยเรียนมีความรอบรู้ด้านสุขภาพ

 

75.00
2 ร้อยละของเด็กวัยเรียนมีพฤติกรรมด้านสุขภาพ

 

75.00

ความรอบรู้ด้านสุขภาพ คือ กระบวนการทางปัญญา และทักษะทางสังคมที่ก่อให้เกิดแรงจูงใจ และความสามารถของบุคคลที่จะเข้าถึง เข้าใจ และการใช้ข้อมูลข่าวสารเพื่อนำไปสู่การตัดสินใจที่เหมาะสม สู่สุขภาวะที่ดีเพื่อลดพฤติกรรมเสี่ยงด้านสุขภาพ ซึ่งความรอบรู้เป็นปัจจัยเอื้อที่สำคัญ ทำให้บุคคลสามารถดูแลและจัดการสุขภาพของตนเองได้อย่างยั่งยืน สถานการณ์พฤติกรรมเสี่ยงทางด้านสุขภาพของประชาชนมี 2 สาเหตุหลัก ได้แก่ ปัจจัยภายใน และภายนอกตัวบุคคล และมักเกิดจากสาเหตุปัจจัยอื่น ๆ ร่วมกัน
ปัจจุบันภาวะเศรษฐกิจสังคม การเจริญเติบโตทางด้านเทคโนโลยี สภาพแวดล้อม รวมถึงโรคไม่ติดต่อและโรคอุบัติใหม่โดยเฉพาะการเกิดโรคระบาดที่เป็นโรคติดต่อทางเดินหายใจจากเชื้อไวรัสโควิด 19 การส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพเพื่อให้ประชาชนกลุ่มเป้าหมายมีพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้อง โดยเฉพาะกลุ่มเด็กนักเรียน ซึ่งเป็นกลุ่มวัยที่กำลังจะเข้าสู่วัยผู้ใหญ่ การมีความรอบรู้ด้านสุขภาพที่ถูกต้อง และมีพฤติกรรมด้านสุขภาพที่ดีนั้น สามารถเป็นแนวทางในการปฏิบัติ เป็นแกนนำ และเป็นบุคคลต้นแบบสำคัญให้กับประชาชน จึงจำเป็นอย่างยิ่งในการทำความเข้าใจกับสถานการณ์ความรอบรู้และพฤติกรรมสุขภาพเพื่อนำข้อมูลมาวางแผนเพิ่มความสามารถให้กับประชาชนและนักเรียน ให้สามารถจัดการสุขภาพและพึ่งพาตนเองได้ และสามารถชี้นำระบบสุขภาพที่สอดคล้องกับปัญหาและความต้องการของตนเองได้

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพิ่มร้อยละของเด็กวัยเรียนมีความรอบรู้ด้านสุขภาพ

ร้อยละของเด็กวัยเรียนมีความรอบรู้ด้านสุขภาพเพิ่มขึ้น

75.00 80.00
2 เพิ่มร้อยละของเด็กวัยเรียนมีพฤติกรรมด้านสุขภาพ

ร้อยละของเด็กวัยเรียนมีพฤติกรรมด้านสุขภาพเพิ่มขึ้น

75.00 80.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 50
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/03/2025

กำหนดเสร็จ 31/12/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพ และพฤติกรรมสุขภาพในเด็กนักเรียน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพ และพฤติกรรมสุขภาพในเด็กนักเรียน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดกิจกรรมให้ความรู้แก่เด็กนักเรียน จำนวน 50 คน

  • ให้ความรู้เรื่องความรอบรู้ด้านสุขภาพ ความตระหนักรู้ด้านสุขภาพ และพฤติกรรมสุขภาพตามสุขบัญญัติแห่งชาติ

  • ค่าวิทยากรจำนวน 3 ชั่วโมง ๆ ละ 600 บาทเป็นเงิน 1,800 บาท

  • ค่าอาหารว่าง จำนวน 50 ชุด ๆ ละ 25 บาท เป็นเงิน 1,250 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
20 พฤษภาคม 2568 ถึง 16 มิถุนายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

คืนข้อมูลความรอบรู้ด้านสุขภาพของเด็กนักเรียน จัดเวทีแลกเปลี่ยนความรู้ในกลุ่มเป้าหมาย

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3050.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมสร้างเครือข่ายด้านสุขภาพในโรงเรียน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมสร้างเครือข่ายด้านสุขภาพในโรงเรียน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าวิทยากรจำนวน 3 ชั่วโมง ๆ ละ 600 บาท เป็นเงิน 1,800 บาท

  • ค่าอาหารว่าง จำนวน 50 ชุด ๆ ละ 25 บาท เป็นเงิน 1,250 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
2 มิถุนายน 2568 ถึง 31 สิงหาคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีเครือข่ายแกนนำด้านสุขภาพ เพื่อช่วยเฝ้าระวังภัยด้านสุขภาพ จำนวน 1 กลุ่ม

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3050.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพ การส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพ

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพ การส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพ และพฤติกรรมสุขภาพนักเรียนกลุ่มเป้าหมาย

  • ค่าอุปกรณ์ สื่อด้านสุขภาพ 1,000 บาท

  • ค่าถ่ายเอกสาร 1,000 บาท

  • ค่าอาหารว่าง 50 ชุด ๆ ละ 25 บาท เป็นเงิน 1,250 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2568 ถึง 20 พฤศจิกายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

นักเรียนมีความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมด้านสุขภาพที่ดี สามารถรู้ทันภัยด้านสุขภาพที่จะเกิดขึ้นในอนาคต

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3250.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 9,350.00 บาท

หมายเหตุ :
ทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยกันได้

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.นักเรียนมีความรอบรู้ด้านสุขภาพที่ถูกต้อง
2.นักเรียนมีพฤติกรรมด้านสุขภาพที่ดีขึ้น


>