โครงการเยาวชนน้ำขาว รู้ทัน ป้องกันภัยสุขภาพ ปี 2568
ชื่อโครงการ | โครงการเยาวชนน้ำขาว รู้ทัน ป้องกันภัยสุขภาพ ปี 2568 |
รหัสโครงการ | 68-50087-2-06 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | กลุ่มหรือองค์กรประชาชน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุข รพ.สต.น้ำขาว |
วันที่อนุมัติ | 7 กุมภาพันธ์ 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 มีนาคม 2568 - 31 ธันวาคม 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 1 กุมภาพันธ์ 2569 |
งบประมาณ | 9,350.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางสุคนธ์ ชูศรี |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลน้ำขาว อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา |
ละติจูด-ลองจิจูด | place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน | 50 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด | |||
---|---|---|---|---|
1 | ร้อยละของเด็กวัยเรียนมีความรอบรู้ด้านสุขภาพ | 75.00 | ||
2 | ร้อยละของเด็กวัยเรียนมีพฤติกรรมด้านสุขภาพ | 75.00 |
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
ความรอบรู้ด้านสุขภาพ คือ กระบวนการทางปัญญา และทักษะทางสังคมที่ก่อให้เกิดแรงจูงใจ และความสามารถของบุคคลที่จะเข้าถึง เข้าใจ และการใช้ข้อมูลข่าวสารเพื่อนำไปสู่การตัดสินใจที่เหมาะสม สู่สุขภาวะที่ดีเพื่อลดพฤติกรรมเสี่ยงด้านสุขภาพ ซึ่งความรอบรู้เป็นปัจจัยเอื้อที่สำคัญ ทำให้บุคคลสามารถดูแลและจัดการสุขภาพของตนเองได้อย่างยั่งยืน สถานการณ์พฤติกรรมเสี่ยงทางด้านสุขภาพของประชาชนมี 2 สาเหตุหลัก ได้แก่ ปัจจัยภายใน และภายนอกตัวบุคคล และมักเกิดจากสาเหตุปัจจัยอื่น ๆ ร่วมกัน
ปัจจุบันภาวะเศรษฐกิจสังคม การเจริญเติบโตทางด้านเทคโนโลยี สภาพแวดล้อม รวมถึงโรคไม่ติดต่อและโรคอุบัติใหม่โดยเฉพาะการเกิดโรคระบาดที่เป็นโรคติดต่อทางเดินหายใจจากเชื้อไวรัสโควิด 19 การส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพเพื่อให้ประชาชนกลุ่มเป้าหมายมีพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้อง โดยเฉพาะกลุ่มเด็กนักเรียน ซึ่งเป็นกลุ่มวัยที่กำลังจะเข้าสู่วัยผู้ใหญ่ การมีความรอบรู้ด้านสุขภาพที่ถูกต้อง และมีพฤติกรรมด้านสุขภาพที่ดีนั้น สามารถเป็นแนวทางในการปฏิบัติ เป็นแกนนำ และเป็นบุคคลต้นแบบสำคัญให้กับประชาชน จึงจำเป็นอย่างยิ่งในการทำความเข้าใจกับสถานการณ์ความรอบรู้และพฤติกรรมสุขภาพเพื่อนำข้อมูลมาวางแผนเพิ่มความสามารถให้กับประชาชนและนักเรียน ให้สามารถจัดการสุขภาพและพึ่งพาตนเองได้ และสามารถชี้นำระบบสุขภาพที่สอดคล้องกับปัญหาและความต้องการของตนเองได้
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพิ่มร้อยละของเด็กวัยเรียนมีความรอบรู้ด้านสุขภาพ ร้อยละของเด็กวัยเรียนมีความรอบรู้ด้านสุขภาพเพิ่มขึ้น |
75.00 | 80.00 |
2 | เพิ่มร้อยละของเด็กวัยเรียนมีพฤติกรรมด้านสุขภาพ ร้อยละของเด็กวัยเรียนมีพฤติกรรมด้านสุขภาพเพิ่มขึ้น |
75.00 | 80.00 |
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
คงเหลือ (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรม | 0 | 9,350.00 | 0 | 0.00 | 9,350.00 | |
20 พ.ค. 68 - 16 มิ.ย. 68 | กิจกรรมสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพ และพฤติกรรมสุขภาพในเด็กนักเรียน | 0 | 3,050.00 | - | - | ||
2 มิ.ย. 68 - 31 ส.ค. 68 | กิจกรรมสร้างเครือข่ายด้านสุขภาพในโรงเรียน | 0 | 3,050.00 | - | - | ||
1 ต.ค. 68 - 20 พ.ย. 68 | กิจกรรมประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพ การส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพ | 0 | 3,250.00 | - | - | ||
รวมทั้งสิ้น | 0 | 9,350.00 | 0 | 0.00 | 9,350.00 |
1.นักเรียนมีความรอบรู้ด้านสุขภาพที่ถูกต้อง 2.นักเรียนมีพฤติกรรมด้านสุขภาพที่ดีขึ้น
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 31 ต.ค. 2567 00:00 น.