กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลนาทับ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

พัฒนาศักยภาพอสม.นาทับ

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลนาทับ

รพ.สต.นาทับ

8 หมู่บ้าน(หมู่ 1,2,6,8,10,12,13 และ 14)

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานอนามัยแม่และเด็ก , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว , แผนงานผู้สูงอายุ , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่่อพัฒนาความรู้และทักษะในการปฏิบัติงานด้านส่งเสริมสุขภาพ การป้องกัน การรักษา และการฟื้นฟูสมรรถภาพแก่อสม.

-อสม.มีความรู้ทักษะในการปฏิบัติงานด้านส่งเสริมสุขภาพ การป้องกัน การรักษา และการฟื้นฟูสมรรถภาพไม่น้อยกว่าร้อยละ 94

87.00 81.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 81
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 21/11/2024

กำหนดเสร็จ 25/09/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1.วางแผนร่วมประชุม กำหนดเป้าหมายวิธีการดำเนินงาน และประสานการดำเนินงานกับผู้ที่เกี่ยวข้อง

ชื่อกิจกรรม
1.วางแผนร่วมประชุม กำหนดเป้าหมายวิธีการดำเนินงาน และประสานการดำเนินงานกับผู้ที่เกี่ยวข้อง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 17 คนจำนวน 1 มื้อ ๆละ 35 บาท เป็นเงิน 595 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
20 พฤศจิกายน 2567 ถึง 27 พฤศจิกายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

จัดประชุมวางแผนทีมงาน จำนวน 1 ครั้ง /มีแผนการดำเนินงานโครงการ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
595.00

กิจกรรมที่ 2 จัดอบรมให้ความรู้พัฒนาศักยภาพอสม.(การปฐมพยาบาลเบื้องต้นCPR,ความรู้นักจัดการสุขภาพตามกลุ่มวัย,ความรู้ด้านการส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโดรค และฟื้นฟูสมรรถภาพในหมู่บ้านและอสม.หมอประจำบ้าน)

ชื่อกิจกรรม
จัดอบรมให้ความรู้พัฒนาศักยภาพอสม.(การปฐมพยาบาลเบื้องต้นCPR,ความรู้นักจัดการสุขภาพตามกลุ่มวัย,ความรู้ด้านการส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโดรค และฟื้นฟูสมรรถภาพในหมู่บ้านและอสม.หมอประจำบ้าน)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ค่าวิทยากร จำนวน 2 คน ๆละ 3 ชั่วโมง ๆละ 600 บาท จำนวน 2 วัน เป็นเงิน 7,200  บาท
2.ค่าอาหารและเครื่องดื่มสำหรับผู้เข้ารับการอบรมและผู้เกี่ยวข้อง จำนวน 86 คน ๆละ 2 มื้อ ๆละ 35 บาท จำนวน 2 วัน 12,040 บาท
3.ค่าอาหารกลางวันสำหรับผู้เข้ารับการอบรมและผู้เกี่ยวข้อง จำนวน 86 คน ๆละ 1 มื้อ ๆละ 80 บาท จำนวน 2 วัน 13,760 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
19 ธันวาคม 2567 ถึง 20 ธันวาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

อสม.ได้รับการอบรมจำนวน 81 คน/อสม.มีความรู้และทักษะในการปฏิบัติงานอย่างมีคุณภาพ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
33000.00

กิจกรรมที่ 3 จัดบริการเชิงรุกในการดูแลสุขภาพด้านส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค และฟื้นฟูสมรรถภาพในหมู่บ้าน

ชื่อกิจกรรม
จัดบริการเชิงรุกในการดูแลสุขภาพด้านส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค และฟื้นฟูสมรรถภาพในหมู่บ้าน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

3.1 สำรวจข้อมูลบุคคลในครอบครัวในเขตรับผิดชอบ 3.2 บริการคัดกรองค้นหาเบื้องต้นในกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงในกลุ่มอายุ ตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป 3.3 บริการคัดกรองค้นหาเบื้องต้นในกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานในกลุ่มอายุ ตั้งแต่ 35 ปีขึ้นไป 3.4 บริการคัดกรองสุขภาพ 9 ด้านในกลุ่มผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป 3.5 ติดตามเยี่ยมหญิงตั้งครรภ์ก่อนคลอด และหลังคลอด 3.6 ติดตามเฝ้าระวังทางโภชนาการในเด็ก 0-5 ปี 3.7 เฝ้าระวังป้องกันโรคติดต่อ 3.8 เฝ้าระวังคุ้มครองผู้บริโภค สำรวจร้านค้าและแผงลอย 3.9 เยี่ยมบ้านให้คำแนะนำดูแลสุขภาพประชาชนในหมู่บ้าน งบประมาณ 1. ค่าครุภัณฑ์เครื่องวัดความดันโลหิตแบบดิจิตอลจำนวน 8 เครื่อง ๆ ละ 3,500 บาท เป็นเงิน 28,000 บาท 2. เครื่องตรวจวัดน้ำตาลในเลือด(เจาะปลายนิ้ว) จำนวน 8 เครื่อง ๆ ละ 2,500 บาท เป็นเงิน 20,000 บาท 3. เข็มเจาะตรวจน้ำตาลในเลือด หมู่ละ 3 กล่อง ๆละ 45 บาท จำนวน 24 กล่อง ๆ ละ 45บาท เป็นเงิน 1,080บาท 4. แถบตรวจน้ำตาลในเลือด หมู่ละ 3 กล่อง จำนวน 24 กล่อง ๆ ละ 400 บาท เป็นเงิน 9,600บาท 5. เครื่องชั่งน้ำหนัก จำนวน 8 เครื่อง ๆ ละ 1,000บาท เป็นเงิน 8,000บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
27 ธันวาคม 2567 ถึง 19 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

อสม.ปฏิบัติงานบริการเชิงรุก ได้จำนวน 81 คน /ประชาชนได้รับการบริการเชิงรุกในด้านสุขภาพทุกกลุ่มวัยอย่างมีคุณภาพ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
66680.00

กิจกรรมที่ 4 ติดตามประเมินผลการดำเนินงาน โดยรายงานผลปฏิบัติในกิจกรรมเชิงรุกทุกๆเดือน ๆละ 1 ครั้ง

ชื่อกิจกรรม
ติดตามประเมินผลการดำเนินงาน โดยรายงานผลปฏิบัติในกิจกรรมเชิงรุกทุกๆเดือน ๆละ 1 ครั้ง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.การส่งรายงานผลปฏิบัติในกิจกรรมเชิงรุกทุกๆเดือน ๆละ 1 ครั้ง ภายในวันที่ 15- 20 ของเดือน

ระยะเวลาดำเนินงาน
25 ธันวาคม 2567 ถึง 19 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

อสม.ส่งรายงานประจำเดือน ทุกเดือนจำนวน 81 คน /ประสิทธิภาพการรายงานผลการปฏิบัติงาน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 5 สรุปผลการดำเนินงานโครงการ

ชื่อกิจกรรม
สรุปผลการดำเนินงานโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.จัดทำรูปเล่มสรุปผลการดำเนินงารโครงการ
- ค่าทำรูปเล่ม เป็นเงิน 200  บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
26 กันยายน 2568 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีรายงานสรุปผลโครงการ/รายงานผลการดำเนินงานให้กองทุนสุขภาพตำบล

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
200.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 100,475.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. อสม. มีความรู้ ความเข้าใจทักษะด้านการส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรคสุขภาพแก่ประชาชนในพื้นที่
2. ประชาชนได้รับบริการด้านส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค การรักษาและฟื้นฟูโดยอสม.อย่างถูกต้องและมีคุณภาพ


>