2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
3. สถานการณ์
อาศัยอำนาจตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง การกำหนดหลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2561 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 6 ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นผู้ดำเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ ตามหลักเกณฑ์ในประกาศนี้ และมติคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมการจัดบริการสาธารณสุขของหน่วยบริการ สถานบริการ หน่วยงานสาธารณสุข หน่วยงานอืน องค์กรหรือกลุ่มประชาชน เพื่อให้บุคคลสามารถเข้าถึงบริการสาธารณสุขได้อย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยข้อ 10(4) เงินของกองทุนหลักประกันสุขภาพให้ใช้จ่ายเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน หรือโครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ เพื่อสนับสนุนเป็นค่าใช้จ่ายในการบริหารหรือพัฒนากองทุนหลักประกันสุขภาพให้มีประสิทธิภาพ ไม่เกินร้อยละ 15 ของเงินรายรับในปีงบประมาณนั้น และหากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้รับเงินเพิ่มจากกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติในส่วนค่าบริการสาธารณสุขสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงตามข้อ 7 วรรคสองอาจสนับสนุนค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมได้อีกไม่เกินร้อยละ 5
ทั้งนี้ ปีงบประมาณ พ.ศ.2567 ผลการประเมินตนเองตามแบบประเมินการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพ 4 ด้าน คือ ด้านประสิทธิภาพการบริหารจัดการกองทุน ด้านประสิทธิภาพการบริหารการเงินกองทุน ด้านประสิทธิผลการสนับสนุนโครงการ และด้านประสิทธิผลการได้รับประโยชน์เชิงรูปธรรม(ทางสุขภาพ) คะแนนรวมเท่ากับ 85 คะแนน (คะแนนเต็ม 100 คะแนน)
ดังนั้น เพื่อให้การดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองทุ่งตำเสา เป็นไปด้วยความเรียบร้อย มีประสิทธิภาพ และบรรลุวัตถุประสงค์ ของกองทุนฯ จึงได้จัดทำ "โครงการบริหารจัดการและพัฒนากองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองทุ่งตำเสา ปีงบประมาณ พ.ศ.2568" ขึ้น
4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด
- บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
- ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
5. กลุ่มเป้าหมาย
6. ระยะเวลาดำเนินงาน
วันเริ่มต้น
กำหนดเสร็จ
7. วิธีการดำเนินงาน
- กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
- งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด
หมายเหตุ :
8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง
ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?1.กองทุนฯ มีการประชุมพิจารณาอนุมัติโครงการที่ขอรับการสนับสนุนงบประมาณ/รับทราบและติตตามผลการดำเนินงานโครงการของกองทุนอย่างต่อเนื่อง
2.คณะกรรมการกองทุนฯ อนุกรรมการ และคณะทำงานได้รับการพัฒนาศักยภาพ
3.การบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองทุ่งตำเสาเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ