กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลนาโหนด

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการคัดกรองโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง รพ.สต.บ้านต้นไทร ปีงบประมาณ 2568

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลนาโหนด

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านต้นไทร

ศาลาเอนกประสงค์หมู่บ้านท้ัง 7 หมู่บ้าน (หมู่ที่ 2 ,4,5,7,8,9,11)

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไปที่มีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ได้รับการคัดกรองตรวจสุขภาพค้นหา

 

2,089.00

สถานการณ์โรคไม่ติดต่อเรื้อรังของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านต้นไทร ในปี 2567 จากกลุ่มเป้าหมายประชาชนอายุ 15 ปีขึ้นไป จำนวน 1,372 คน ได้ดำเนินการคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน จำนวน 1,372 คน คิดเป็นร้อยละ 100 พบกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงจำนวน 195 คน พบกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานจำนวน 67 คน ได้รับการตรวจคัดกรองซ้ำ จำนวน 262 คน หน่วยปฐมภูมิบ้านต้นไทร มีผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยโรคและขึ้นทะเบียนเป็นโรคเบาหวานรายใหม่ จำนวน 13 คน โรคความดันโลหิตสูงรายใหม่ จำนวน 50 คน รวมผู้ป่วยมารับยาต่อเนื่องในหน่วยปฐมภูมิโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านต้นไทร โรคเบาหวาน จำนวน 104 คน โรคความดันโลหิตสูง จำนวน 221คน รวมผู้ป่วยเรื้อรังรับยาต่อเนื่องในหน่วยปฐมภูมิโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านต้นไทร จำนวน 325 คน จากข้อมูลประชาชนอายุ 15 ปีขึ้นไป เมื่อคัดกรองพบภาวะเสี่ยง ควรได้รับความรู้ความเข้าใจในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพเป็นป้องกันการเกิดโรคในกลุ่มเสี่ยงและป้องกันภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยเรื้อรัง ได้แก่ ภาวะไตวาย ภาวะจอประสาทตาเสื่อม ภาวะโรคหัวใจและหลอดเลือด ส่วนในปีงบ 2567 งบประมาณมีน้อยและอุปกรณ์ในการดำเนินงานได้เสื่อมสภาพทำให้ไม่สะดวกและเพียงพอกับการดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพ
ในการนี้ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านต้นไทร จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมสุขภาพค้นหาโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ปีงบประมาณ 2568ขึ้น โดยสำรวจประชาชนกลุ่มเป้าหมายอายุ 35 ปีขึ้นไปจำนวน 2,089คน เพื่อค้นหาผู้ป่วยรายใหม่ในระยะเริ่มแรกและเพื่อให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงมีความรู้ความเข้าใจในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพเพื่อลดอัตราการเกิดโรคในกลุ่มเสี่ยงและป้องกันภาวะแทรกซ้อนในกลุ่มป่วย มีการส่งต่อพบแพทย์เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงได้รับการรักษาและวินิจฉัยที่ถูกต้อง มีการติดตามตรวจสุขภาพเพื่อดูผลการรักษาอย่างต่อเนื่อง และป้องกันผู้ป่วยขาดยาต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดภาวะการเกิดโรคเบาหวานในประชาชนกลุ่มเสี่ยง

ร้อยละ 80 ของประชาชนกลุ่มเสี่ยงอายุ 35 ปีขึ้นไป ได้รับการตรวจคัดกรองค้นหาโรคเบาหวาน

2089.00 1671.00
2 เพื่อลดภาวะการเกิดโรคความดันโลหิตสูงในประชาชนกลุ่มเสี่ยง

ร้อยละ 80 ของประชาชนกลุ่มเสี่ยงอายุ 35 ปีขึ้นไป ได้รับการตรวจคัดกรองค้นหาโรคความดันโลหิตสูง

2089.00 1671.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 2,089
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 25/11/2024

กำหนดเสร็จ 31/01/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมที่ 1 มีการประชุมกรรมการวางแผนการดำเนินงาน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 1 มีการประชุมกรรมการวางแผนการดำเนินงาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.มีการจัดทำแผนการประชาสัมพันธ์รณรงค์ให้ประชาชนเห็นความสำคัญและมารับบริการตรวจคัดกรองตามแผน 2.มีแผนการออกคัดกรองและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมรายบุคคล
3.มีแผนการออกติดตามกลุ่มเสี่ยงและส่งต่อพบแพทย์
4.มีแผนกำหนดการติดตามผลการส่งต่อและขึ้นทะเบียนโรค

ระยะเวลาดำเนินงาน
25 พฤศจิกายน 2567 ถึง 25 พฤศจิกายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.มีแผนงานการทำงาน
2.ทีมชมรมคลินิกเติมยาหรือทีมคณะกรรมการได้มีการประชุมวางแผนการทำงานอย่างมีส่วนร่วม
3.มีการเขียนโครงการฯตามแผนหรือมติที่ประชุม

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมที่ 2 ออกคัดกรองประชาชนกลุ่มเสี่ยงอายุ 35 ปีขึ้นไป

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 2 ออกคัดกรองประชาชนกลุ่มเสี่ยงอายุ 35 ปีขึ้นไป
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ออกคัดกรองชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง เจาะเลือด วัดความดันโลหิตสูงในกลุ่มเป้าหมายพร้อมบันทึกและประเมินผล แนะนำการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมพร้อมนัดตรวจซ้ำครั้งต่อไปตามผลการคัดกรอง ออกคัดกรองตามแผนโครงการฯ
วันที่ 6 - 7 ธันวาคม 2567 เวลา 07.00 - 12.00 น. ออกคัดกรองประชาชนหมู่ที่ 5
วันที่ 13 - 14 ธันวาคม 2567 เวลา 07.00 - 12.00 น. ออกคัดกรองประชาชนหมู่ที่ 2
วันที่ 20 - 21 ธันวาคม 2567 เวลา 07.00 - 12.00 น. ออกคัดกรองประชาชนหมู่ที่ 4
วันที่ 27 - 28 ธันวาคม 2567 เวลา 07.00 - 12.00 น. ออกคัดกรองประชาชนหมู่ที่ 7
วันที่ 3 - 4 มกราคม 2568 เวลา 07.00 - 12.00 น. ออกคัดกรองประชาชนหมู่ที่ 8
วันที่ 10 - 11 มกราคม 2568 เวลา 07.00 - 12.00 น. ออกคัดกรองประชาชนหมู่ที่ 9
วันที่ 17 - 18 มกราคม 2568 เวลา 07.00 - 12.00 น. ออกคัดกรองประชาชนหมู่ที่ 11
โดยมีค่าใช้จ่ายดังนี้
แถบตรวจน้ำตาลในเลือด(1กล่อง /50 แถบ)จำนวน45 กล่องๆละ 800 บาท เป็นเงิน 36,000 บาท
เข็มเจาะเลือด (1 กล่อง/100ชิ้น) จำนวน 25 กล่องๆละ 500 บาท เป็นเงิน 12,500 บาท
เครื่องชีั่งน้ำหนัก จำนวน 7 เครื่องๆละ 1,250 บาท เป็นเงิน 8,750 บาท
เอกสารการบันทึกการคัดกรองสุขภาพจำนวน 2,089 ชุดๆละ 3 บาท เป็นเงิน 6,267 บาท
งบประมาณ 63,517 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ธันวาคม 2567 ถึง 31 มกราคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.ประชาชนกลุ่มเสี่ยงเห็นความสำคัญมารับการตรวจคัดกรองร้อยละ 80

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
63517.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 63,517.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ประชาชนกลุ่มอายุ 35 ปีขึ้นไปได้รับการตรวจคัดกรอง
2.ประชาชนกลุ่มอายุ 35 ปีขึ้นไปได้รับการตรวจคัดกรองพบเสี่ยงได้รับการแนะนำการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมทุกราย
3.ประชาชนกลุ่มอายุ 35ปีขึ้นไปได้รับการตรวจคัดกรองพบเสี่ยงได้รับการติดตามตรวจซ้ำทุกราย
4.กลุ่มเสี่ยงได้รับการตรวจซ้ำพบสงสัยป่วยส่งต่อทุกราย
5.กลุ่มสงสัยป่วยส่งพบแพทย์วินิจฉัยเป็นโรคขึ้นทะเบียนรับยาต่อเนืองทุกราย


>