กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสตูล

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันทางใจในผู้ต้องขังเรือนจำจังหวัดสตูล ประจำปีงบประมาณ 2568

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสตูล

สถานพยาบาล เรือนจำจังหวัดสตูล

นางสาวอภิญญาอาดำ
ติดต่อ 0630928207,074-711950

เรือนจำจังหวัดสตูล

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานสุขภาพจิต

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนผู้ต้องขังที่เคยได้รับการคัดกรองสุขภาพจิต (ครั้ง)

 

2,660.00
2 จำนวนผู้ต้องขังที่มีภาวะเครียด มีสุขภาพจิตที่ต้องได้รับการดูแล (คน)

 

368.00

สุขภาพจิตเป็นสภาวะทางจิตใจของบุคคล โดยธรรมชาติภาวะทางจิตใจมีการเปลี่ยนแปลงตามสิ่งแวดล้อมที่อยู่รอบตัว สำหรับผู้ต้องขังที่ต้องเผชิญกับการถูกจำกัดสิทธิเสรีภาพ แยกออกมาจากครอบครัว และความเป็นอยู่ที่เปลี่ยนไป อาจส่งผลต่อภาวะสุขภาพจิตของผู้ต้องขังได้ตั้งแต่ระดับน้อยไปจนถึงระดับรุนแรง โดยจากสถิติการรายงานผู้ต้องขังกรมราชทัณฑ์ที่่ได้รับการวินิจฉัยป่วยจิตเวช พบว่า มีจำนวนผู้ต้องขังจิตเวชทั้งหมด 6,267 คน คิดเป็นร้อยละ 2.26 ของผู้ต้องขังทั่วประเทศ (ข้อมูล ณ วันที่ 11 พฤศจิกายน 2567)รวมไปถึงจากการคัดกรองสุขภาพจิตผู้ต้องขังเรือนจำจังหวัดสตูล ปีงบประมาณ 2567-ปัจจุบัน พบผู้ต้องขังที่มีภาวะเครียดจำนวน 368 คน (คิดเป็นร้อยละ 13.83 ของผู้ต้องขังที่ได้รับการคัดกรองสุขภาพจิตทั้งหมด ข้อมูล ณ วันที่ 30 พฤศจิกายน 2567) กรมราชทัณฑ์ได้จึงมุ่งเน้นราชทัณฑ์ส่งเสริมสุขภาพจิต เพื่อเสริมสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพจิตมากยิ่งขึ้น โดยสอดคล้องกับนโยบายรวมพลังขับเคลื่อน 8 มิติ ยกระดับสร้างความเปลี่ยนแปลง กรมราชทัณฑ์ ในมิติที่ 1 ดำเนินโครงการพระราชทานอย่างต่อเนื่อง ภายใต้โครงการราชทัณฑ์ปันสุข ทำความดี เพื่อชาติ ศาสน์ กษัตริย์ และข้อกำหนดเนลสันแมนดาลาและนโยบายเรือนจำ: บริการด้านการรักษาพยาบาล
เรือนจำจังหวัดสตูล งานสถานพยาบาล ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการดูแลและการส่งเสริมสุขภาพจิต จึงได้จัดทำโครงการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันทางใจในผู้ต้องขังเรือนจำจังหวัดสตูล ประจำปีงบประมาณ 2568 เพื่อให้ผู้ต้องขังได้ตระหนักถึงความสำคัญในการดูแลสุขภาพจิตของตนเองและคนรอบข้าง ส่งเสริมให้ผู้ต้องขังแสดงความสามารถอย่างสร้างสรรค์ ทำให้ผู้ต้องขังมีความพร้อมในการพัฒนาตนเองเพื่อกลับตนเป็นคนดีคืนสู่สังคม ตลอดจนเป็นการสนับสนุนการพัฒนาพฤตินิสัยต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อคัดกรองสุขภาพจิตผู้ต้องขังในเรือนจำจังหวัดสตูล

ร้อยละของผู้ต้องขังเรือนจำจังหวัดสตูลได้รับการคัดกรองสุขภาพจิต มากกว่าร้อยละ 80 (โดยการใช้แบบประเมินสุขภาพจิต)

900.00 0.00
2 เพื่อเสริมสร้างการเปลี่ยนแปลงเชิงบวกทางจิตใจ สามารถนำมาปรับใช้ในการดำรงชีวิตประจำวัน

ร้อยละของผู้ต้องขังเรือนจำจังหวัดสตูลที่เข้าร่วมโครงการเกิดการเปลี่ยนแปลงเชิงบวกทางจิตใจมากกว่าร้อยละ 80 (โดยการใช้แบบประเมินผลลัพธ์ทางจิตวิทยาก่อนและหลังการอบรม)

50.00 0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 50
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 03/02/2025

กำหนดเสร็จ 30/09/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 คัดกรองสุขภาพจิตผู้ต้องขังในเรือนจำจังหวัดสตูล

ชื่อกิจกรรม
คัดกรองสุขภาพจิตผู้ต้องขังในเรือนจำจังหวัดสตูล
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรม : การคัดกรองสุขภาพจิตผู้ต้องขังเรือนจำจังหวัดสตูล โดยใช้แบบประเมินสุขภาพจิตผู้ต้องขังเรือนจำจังหวัดสตูล (PMHQ) แบบคัดกรองภาวะซึมเศร้า (2Q,9Q,8Q) และแบบคัดกรองโรคจิต
งบประมาณค่าวัสดุอุปกรณ์ในการจัดกิจกรรม ดังนี้
1. กระดาษ A4 80 แกรม จำนวน 3 กล่องๆละ 595 เป็นเงิน 1,785 บาท
(สำหรับถ่ายเอกสารแบบประเมินภาวะสุขภาพจิตสำหรับผู้ต้องขังในเรือนจำไทย (PMHQ-Thai) แบบคัดกรอง/ประเมินโรคซึมเศร้า และแบบประเมินฆ่าตัวตาย (2Q 9Q 8Q) และแบบคัดกรองโรคจิต เอกสารคู่มือการอบรม และเอกสารอื่นๆที่เกี่ยวข้องภายในโครงการ)

ระยะเวลาดำเนินงาน
3 กุมภาพันธ์ 2568 ถึง 28 กุมภาพันธ์ 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้ต้องขังเรือนจำจังหวัดสตูลได้รับการคัดกรองสุขภาพจิต เพื่อค้นหาความเสี่ยงด้านจิตใจหรือโอกาสที่จะพบประเด็นเฉพาะทางสุขภาพจิตหรือโรคทางจิตเวช ส่งผลให้ผู้ต้องขังได้รับการบำบัดรักษาอย่างรวดเร็วมากยิ่งขึ้น

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1785.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมเช็คอินความรู้สึก (วันที่ 1)

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมเช็คอินความรู้สึก (วันที่ 1)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กำหนดการอบรม (วันที่ 1)
08.30 - 09.30 น.ลงทะเบียน
09.00 - 12.00 น.พิธีเปิดโครงการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันทางใจ ประจำปีงบประมาณ 2568
12.00 - 13.00 น. พักกลางวัน
13.00 - 16.00 น. กิจกรรมเช็คอินความรู้สึก Mood Check-in ทบทวนความรู้สึกก่อนเริ่มทำกิจกรรมภายในโครงการ เพื่อร่วมแลกเปลี่ยนความคับข้องใจและเตรียมความพร้อมในการทำกิจกรรม
หมายเหตุ :กำหนดการอาจเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม รับประทานอาหารว่างและเครื่องดื่ม ( เวลา 10.30 น.และเวลา 14.30 น.)
งบประมาณ
(1) ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ชุดละ 30 บาท จำนวน 50 ชุด 2 มื้อ เป็นเงิน 3,000 บาท
(2) ค่าวัสดุในการจัดกิจกรรม เป็นเงิน 854 บาท ประกอบด้วย
- ค่ากระดาษบรู๊ฟ 48 แกรม ขนาด 31x43 นิ้ว จำนวน 1 แพ็ค แพ็คละ 179 บาท เป็นเงิน 179 บาท
- ค่าปากกาเคมี 2 หัว สีน้ำเงิน จำนวน 5 อัน อันละ 19 บาท เป็นเงิน 95 บาท
- ค่าปากกาเคมี 2 หัว สีแดง จำนวน 5 อัน อันละ 19 บาท เป็นเงิน 95 บาท
- ค่ากระดาษโพสอิท ขนาด 3x3 นิ้ว จำนวน 5 แพ็ค แพ็คละ 45 บาท เป็นเงิน 225 บาท
- ค่ากระดาษทำเกียรติบัตร A4 200 แกรม จำนวน 1 แพ็ค 50 แผ่น แพ็คละ 260 บาท เป็นเงิน 260 บาท
(3) ค่าป้ายโครงการ ขนาด 1.5 เมตร X 3 เมตร ตารางเมตรละ 150 บาท เป็นเงิน 675 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
11 มีนาคม 2568 ถึง 11 มีนาคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

กิจกรรมเช็คอินความรู้สึก (Check-in mood) (1) ผู้ต้องขังได้สะท้อนความคิดความรู้สึกตนเอง (Reflection) เพื่อระบายความคับข้องใจและมีเป้าหมายในการเข้าร่วมโครงการฯ ส่งผลดีต่อการเรียนรู้และการมีส่วนร่วมในกิจกรรมตลอดทั้งการอบรม

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
4529.00

กิจกรรมที่ 3 อบรมให้ความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพจิตและการเสริมสร้างความเข้มแข็งทางจิตใจ (วันที่ 2)

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพจิตและการเสริมสร้างความเข้มแข็งทางจิตใจ (วันที่ 2)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กำหนดการอบรม
08.30 - 09.00 น. ลงทะเบียน
09.00 - 12.00 น. การให้ความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพจิต
12.00 - 13.00 น. พักกลางวัน 13.00 - 16.00 น. การให้ความรู้เรื่อง การเสริมสร้างความเข้มแข็งทางจิตใจ
หมายเหตุ : กำหนดการอาจเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม รับประทานอาหารว่างและเครื่องดื่ม (เวลา 10.30 น. และเวลา 14.30 น.)
งบประมาณ
(1) ค่าตอบแทนวิทยากร ชั่วโมงละ 300 บาท จำนวน 6 ชั่วโมง เป็นเงิน 1,800 บาท
(2) ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ชุดละ 30 บาท จำนวน 50 ชุด 2 มื้อ เป็นเงิน 3,000 บาท
(3) ค่าโฟมบอร์ดเกี่ยวกับการให้ความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพจิต ขนาด 40 x 30 ซม. จำนวน 4 อัน อันละ 80 บาท เป็นเงิน 320 บาท
(4) ค่าโฟมบอร์ดเกี่ยวกับการให้ความรู้เรื่องการเสริมสร้างความเข้มแข็งทางจิตใจ ขนาด 40 x 30 ซม. จำนวน 4 อัน อันละ 80 บาท เป็นเงิน 320 บาท
(5) ค่าดินน้ำมันปลอดสารพิษ คละสี ก้อนเล็ก 90 กรัม จำนวน 1 แพ็ค แพ็คละ 115 บาท เป็นเงิน 115 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
12 มีนาคม 2568 ถึง 12 มีนาคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

กิจกรรมการดูแลสุขภาพจิต
1. ผู้ต้องขังได้พัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพจิต (Mental health literacy) และตระหนักถึงปัญหาสุขภาพจิตมากยิ่งขึ้น
กิจกรรมการเสริมสร้างความเข้มแข็งทางจิตใจ
2. ผู้ต้องขังมีพลังใจ หรือ RQ (Resilience Quotient) เกิดความสามารถทางอารมณ์และจิตใจ ในการปรับตัวให้กลับสู่ภาวะปกติหากพบเหตุการณ์วิกฤตหรือความยากลำบากในชีวิต

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
5555.00

กิจกรรมที่ 4 อบรมให้ความรู้เรื่องกิจกรรมพื้นที่ปลอดภัย (Safe Zone Safe Jai) และการเสริมสร้างคุณค่าในตัวเอง (วันที่ 3)

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้เรื่องกิจกรรมพื้นที่ปลอดภัย (Safe Zone Safe Jai) และการเสริมสร้างคุณค่าในตัวเอง (วันที่ 3)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กำหนดการอบรม (วันที่ 3)
08.30 - 09.00 น. ลงทะเบียน
09.00 - 12.00 น. การให้ความรู้เรื่องกิจกรรมพื้นที่ปลอดภัย (Safe Zone Safe Jai)
12.00 - 13.00 น. พักกลางวัน
13.00 - 16.00 น. การให้ความรู้เรื่อง การเสริมสร้างคุณค่าในตัวเอง
หมายเหตุ :กำหนดการอาจเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม รับประทานอาหารว่างและเครื่องดื่ม (เวลา 10.30 น. และเวลา 14.30 น.)
งบประมาณ
(1) ค่าตอบแทนวิทยากร ชั่วโมงละ 300 บาท จำนวน 6 ชั่วโมง เป็นเงิน 1,800 บาท
(2) ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ชุดละ 30 บาท จำนวน 50 ชุด 2 มื้อ เป็นเงิน 3,000 บาท
(3) ค่าโฟมบอร์ดเกี่ยวกับการให้ความรู้เรื่องการเสริมสร้างคุณค่าในตัวเอง ขนาด 40 x 30 ซม. จำนวน 4 อัน อันละ 80 บาท เป็นเงิน 320 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
13 มีนาคม 2568 ถึง 13 มีนาคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

กิจกรรมพื้นที่ปลอดภัย (Safe Zone Safe Jai)
1.ผู้ต้องขังเกิดความรู้สึกปลอดภัยทางจิตใจ (Psychological Safety) โดยมีการตอบสนองต่อความต้องการของตัวเองอย่างตรงไปตรงมา ขยับไปสู่ความรู้สึกปลอดภัยและมั่นคงทางอารมณ์ โดยจำแนกเป็นรายด้าน ดังนี้
1.1 ด้านการสื่อสาร ผู้ต้องขังเกิดการสื่อสารที่เพิ่มขึ้นเมื่อคนรู้สึกปลอดภัย มีแนวโน้มที่จะกล้านำเสนอความคิด ข้อกังวล ซึ่งนำไปสู่การตัดสินใจและการแก้ปัญหาที่ดีขึ้น
1.2 ด้านการมีส่วนร่วม ผู้ต้องขังเกิดการร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์ โดยเมื่อผู้ต้องขังรู้สึกว่าตนเองได้รับการรับฟังจะรู้สึกมีคุณค่ามากขึ้น
กิจกรรมการเสริมสร้างคุณค่าในตัวเอง
2. ผู้ต้องขังมองเห็นคุณค่าในตัวเอง (Self esteem) ซึ่งเป็นรากฐานสำคัญที่ส่งผลต่อความสุข ความมั่นใจ และความสำเร็จในชีวิต

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
5120.00

กิจกรรมที่ 5 สันทนาการเพื่อผ่อนคลายความเครียด (วันที่ 4)

ชื่อกิจกรรม
สันทนาการเพื่อผ่อนคลายความเครียด (วันที่ 4)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กำหนดการอบรม (วันที่ 4)
08.30 - 09.00 น. ลงทะเบียน
09.00 - 12.00 น. สันทนาการเพื่อผ่อนคลายความเครียด โดยวิทยากร
12.00 - 13.00 น. พักกลางวัน
13.00 - 16.00 น. สันทนาการเพื่อผ่อนคลายความเครียด โดยวิทยากร
หมายเหตุกำหนดการอาจเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม รับประทานอาหารว่างและเครื่องดื่ม (เวลา 10.30 น. และเวลา 14.30 น.)
งบประมาณ
(1) ค่าตอบแทนวิทยากร ชั่วโมงละ 300 บาท จำนวน 6 ชั่วโมง เป็นเงิน 1,800 บาท
(2) ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ชุดละ 30 บาท จำนวน 50 ชุด 2 มื้อ เป็นเงิน 3,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
14 มีนาคม 2568 ถึง 14 มีนาคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้ต้องขังเกิดความรู้สึกผ่อนคลายความเครียด (Relaxation) ผ่านกิจกรรมสันทนาการ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
4800.00

กิจกรรมที่ 6 อบรมให้ความรู้เรื่องศิลปะบำบัด (Art Therapy) และกิจกรรมเช็คเอาท์ความรู้สึก (วันที่ 5)

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้เรื่องศิลปะบำบัด (Art Therapy) และกิจกรรมเช็คเอาท์ความรู้สึก (วันที่ 5)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กำหนดการอบรม (วันที่ 5)
08.30 - 09.00 น. ลงทะเบียน
09.00 - 12.00 น. อบรมให้ความรู้เรื่องศิลปะบำบัด (Art therapy)
12.00 - 13.00 น. พักกลางวัน
13.00 - 16.00 น. กิจกรรมเช็คเอาท์ความรู้สึก (Check out mood)
หมายเหตุ : กำหนดการอาจเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม รับประทานอาหารว่างและเครื่องดื่ม (เวลา 10.30 น. และเวลา 14.30 น.)
งบประมาณ
(1) ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ชุดละ 30 บาท จำนวน 50 ชุด 2 มื้อ เป็นเงิน 3,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
15 มีนาคม 2568 ถึง 15 มีนาคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

กิจกรรมที่ 1 ศิลปะบำบัด (Art Therapy)
1. ช่วยให้ผู้ต้องขังได้ระบายความรู้สึก ความคิด และประสบการณ์ภายในจิตใจที่อาจถูกเก็บกดหรือไม่สามารถถ่ายทอดออกมาเป็นคำพูดได้ (ventilation)
2. ผู้ต้องขังได้รับการสนับสนุนและเสริมสร้างกำลังใจ (supportive)
กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมเช็คเอาท์ความรู้สึก (Check-out mood)
1. ผู้ต้องขังได้ทบทวนสิ่งที่ได้เรียนรู้ ความรู้สึก และความคิดเห็นเกี่ยวกับการอบรม เพื่อการปรับปรุงการอบรมครั้งต่อไป และช่วยให้ผู้ต้องขังสามารถนำความรู้ไปปรับใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 24,789.00 บาท

หมายเหตุ :
ทุกรายการถัวเฉลี่ยได้

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ผู้ต้องขังเรือนจำจังหวัดสตูลได้รับการคัดกรองสุขภาพจิตเพื่อนำไปสู่การบำบัดรักษาและดูแลช่วยเหลืออย่างมีคุณภาพ
2. ผู้ต้องขังสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปใช้ปรับใช้ในการดำเนินชีวิต
3. ผู้ต้องขังเกิดการเปลี่ยนแปลงเชิงบวกทางจิตใจ พัฒนาตนเองให้มีทัศนคติและความรู้สึกที่ดีขึ้น
4. ส่งเสริมให้ผู้ต้องขังตระหนักถึงคุณค่าตัวเอง


>