กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองพัทลุง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการเยาวชนรุ่นใหม่ห่างไกลยาเสพติด บุหรี่และบุหรี่ไฟฟ้า ปีงบประมาณ 2568

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองพัทลุง

งานป้องกันและควบคุมโรคติดต่อ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลเมืองพัทลุง

กองร้อยตำรวจตระเวนชายแดน

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานยาสูบ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ปัญหาการเสพยาเสพติด การสูบบุหรี่และบุหรี่ไฟฟ้า ในโรงเรียนทั้งระดับประถมศึกษา และมัธยมศึกษา ในพื้นที่เขตเทศบาลเมืองพัทลุง พบเด็กสูบบุหรี่และบุหรี่ไฟฟ้าเพิ่มสูงขึ้น จากการสอบถามผู้บริหารสถานศึกษาและครูฝ่ายปกครอง พบมีเยาว์ชน 10-15 ปี สูบบุหรี่และบุหรี่ไฟฟ้าทุกโรงเรียน บางโรงเรียน มี 5 คน 10 คน และมากกว่า 10 คน และยังมีแนวโน้มเพิ่มสุงขึ้น โดยผู้สูบชักนำเพื่อนที่ไม่ได้สูบมาสูบด้วย ซึ่งเป็นสิ่งที่โรงเรียนพยายามแก้ปัญหามาตลอด ซึ่งยาเสพติดชนิดต่างๆ รวมทั้งบุหรี่และบุหรี่ไฟฟ้าเป็นอันตรายต่อสุขภาพ มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่างๆ เช่น มะเร็งปอด โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง ฯลฯ ส่งผลกระทบการเรียน ต่อครอบครัวและสังคมอย่างกว้างขวาง และเป็นสาเหตุสำคัญของการเจ็บป่วยและเสียชีวิตก่อนวัยอันควร โดยเฉพาะบุหรี่ไฟฟ้าที่มีแนวโน้มระบาดในสถานศึกษาเพิ่มมากขึ้น บุหรี่ไฟฟ้ามีสารนิโคตินที่ใช้การทำให้สารน้ำเกิดความร้อน และระเหยเป็นไอน้ำมาให้สูด/สูบ โดยที่ไม่เกิดควันจากการเผาไหม้ ผลิตภัณฑ์บุหรี่ไฟฟ้าในท้องตลาดมากกว่าร้อยละ 95 มีสารนิโคตินเป็นส่วนผสมอยู่ในน้ำยาบุหรี่ไฟฟ้า มีรูปแบบผลิตภัณฑ์ที่หลากหลาย เช่น รูปของเล่น รูปการ์ตูน มีกลิ่นหอม สวยงาม ชวนให้หลงไหล และเยาว์ชนยังเข้าถึงได้ง่ายทางเทคโนโลยีที่ทันสมัย ในบุหรี่ไฟฟ้านอกจากจะมีสารนิโคตินแล้วยังสารเคมีจำนวนมากที่ใช้ในกระบวนการผลิตและปรุงแต่งกลิ่นรส เช่น แอลดีไฮด์โพลีไซคลิค อะชิโตนและโครเมียม ซึ่งสารเคมีเหล่านั้นล้วนแต่เป็นอันตรายต่อร่างกาย รวมทั้งเป็นสารก่อให้เกิดมะเร็ง จากการสำรวจเด็กและเยาวชนในพื้นที่เขตเทศบาลเมืองพัทลุง มีพฤติกรรมการสูบบุหรี่และสูบบุหรี่ไฟฟ้า ได้ทุกสถานที่ แม้มีพื้นที่กำหนดเฉพาะ ก็ยังพบการสูบอยู่ จึงมีโอกาสเสี่ยงที่จะทำให้มีผู้สูบบุหรี่รายใหม่เพิ่มขึ้น เพื่อป้องกันเยาว์ชนรุ่นใหม่ไม่ให้เข้าถึงยาเสพติด บุหรี่และบุหรี่ไฟฟ้า จึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้นมา

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายมีความรู้เรื่องโทษ พิษภัยของยาเสพติด บุหรี่และบุหรี่ไฟฟ้า

ร้อยละ 80 กลุ่มเป้าหมายมีความรู้เรื่องโทษ พิษภัยของยาเสพติด บุหรี่และบุหรี่ไฟฟ้า

60.00 80.00
2 เพื่อป้องกันไม่ให้มีนักสูบหน้าใหม่เพิ่มขึ้น

ร้อยละ 80 สามารถป้องกันไม่ให้มีนักสูบหน้าใหม่เพิ่มขึ้น

80.00 85.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 70
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/06/2025

กำหนดเสร็จ 31/07/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมเชิงปฏิบัติการ

ชื่อกิจกรรม
อบรมเชิงปฏิบัติการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ศึกษาข้อมูล และเลือกกลุ่มเป้าหมายเพื่อเข้าร่วมโครงการ

2.ประสานงานด้านต่างๆ เช่น ติดต่อวิทยากร สถานที่ พร้อมแจ้งกลุ่มเป้าหมายในรายละเอียดกิจกรรม

3.ดำเนินการจัดการฝึกอบรม

รายละเอียดงบประมาณ

นักเรียนชั้นประถมศึกษา/มัธยม รุ่นอายุ 10-15 ปี

1.ค่าอาหารกลางวันพร้อมเครื่องดื่มสำหรับผู้เข้าอบรมและผู้เกี่ยวข้อง (ุุ90 คนๆละ 65 บาท จำนวน 1 มื้อ) เป็นเงิน 5,850 บาท

2.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับผู้เข้าอบรมและผู้เกี่ยวข้อง (90 คนๆละ 30 บาท จำนวน 2 มื้อ) เป็นเงิน 5,400 บาท

3.ค่าสมนาคุณวิทยากรบรรยายช่วงเช้า (1 คน x 3 ชม.ๆ ละ 600 ) เป็นเงิน 1,800 บาท

4.ค่าสมนาคุณวิทยากรกระบวนการช่วงบ่าย

-กลุ่มที่ 1 (1 คน x 3 ชม.ๆ ละ 600) เป็นเงิน 1,800 บาท

-กลุ่มที่ 2 (1 คน x 3 ชม.ๆ ละ 600) เป็นเงิน 1,800 บาท

-กลุ่มที่ 3 (1 คน x 3 ชม.ๆ ละ 600) เป็นเงิน 1,800 บาท

5.ค่ากระเป๋าเอกสาร อุปกรณ์ ที่เกี่ยวข้อง เช่น กระดาษ สมุด ปากกา ปากกาเคมี เป็นต้น (ุ70 ชุดๆละ 150 บาท) เป็นเงิน 10,500 บาท

6.ค่ากระดาษการ์ดขาว(สำหรับทำเกียรติบัตร) ขนาด A4 180 แกรมๆละ 200 จำนวน 1 แกรม เป็นเงิน 200 บาท

7.ค่าทำป้ายไวนิล ขนาด 1.5x 4 เมตร เพื่อใช้ในโครงการ เป็นเงิน 1,200 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2568 ถึง 31 กรกฎาคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ตัวชี้วัดเชิงปริมาณ: ผลการดำเนินงานก่อให้เกิดประโยชน์ต่อเด็กและเยาวชน จำนวน 70 คน

ตัวชี้วัดเชิงคุณภาพ: เด็กและเยาวชนมีความรู้เรื่องโทษ พิษภัยของยาเสพติด บุหรี่และบุหรี่ไฟฟ้าเพิ่มมากขึ้น

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
30350.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 30,350.00 บาท

หมายเหตุ :
ทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยได้

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.กลุ่มเป้าหมายที่เข้ารับการอบรมมีความรู้เรื่องโทษ พิษภัยของยาเสพติด บุหรี่และบุหรี่ไฟฟ้า

2.สามารถลดจำนวนผู้ติดยาเสพติดและลดจำนวนนักสูบหน้าใหม่

3.สามารถป้องกันการติดยาเสพติดและป้องกันการเกิดนักสูบหน้าใหม่


>