โครงการเยาวชนรุ่นใหม่ห่างไกลยาเสพติด บุหรี่และบุหรี่ไฟฟ้า ปีงบประมาณ 2568
ชื่อโครงการ | โครงการเยาวชนรุ่นใหม่ห่างไกลยาเสพติด บุหรี่และบุหรี่ไฟฟ้า ปีงบประมาณ 2568 |
รหัสโครงการ | 2568-L7572-01-009 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | งานป้องกันและควบคุมโรคติดต่อ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลเมืองพัทลุง |
วันที่อนุมัติ | 31 มกราคม 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 มิถุนายน 2568 - 31 กรกฎาคม 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 31 สิงหาคม 2568 |
งบประมาณ | 30,350.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางจิณณพัต ทองพุด |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | |
ละติจูด-ลองจิจูด | place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน | 70 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
ปัญหาการเสพยาเสพติด การสูบบุหรี่และบุหรี่ไฟฟ้า ในโรงเรียนทั้งระดับประถมศึกษา และมัธยมศึกษา ในพื้นที่เขตเทศบาลเมืองพัทลุง พบเด็กสูบบุหรี่และบุหรี่ไฟฟ้าเพิ่มสูงขึ้น จากการสอบถามผู้บริหารสถานศึกษาและครูฝ่ายปกครอง พบมีเยาว์ชน 10-15 ปี สูบบุหรี่และบุหรี่ไฟฟ้าทุกโรงเรียน บางโรงเรียน มี 5 คน 10 คน และมากกว่า 10 คน และยังมีแนวโน้มเพิ่มสุงขึ้น โดยผู้สูบชักนำเพื่อนที่ไม่ได้สูบมาสูบด้วย ซึ่งเป็นสิ่งที่โรงเรียนพยายามแก้ปัญหามาตลอด ซึ่งยาเสพติดชนิดต่างๆ รวมทั้งบุหรี่และบุหรี่ไฟฟ้าเป็นอันตรายต่อสุขภาพ มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่างๆ เช่น มะเร็งปอด โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง ฯลฯ ส่งผลกระทบการเรียน ต่อครอบครัวและสังคมอย่างกว้างขวาง และเป็นสาเหตุสำคัญของการเจ็บป่วยและเสียชีวิตก่อนวัยอันควร โดยเฉพาะบุหรี่ไฟฟ้าที่มีแนวโน้มระบาดในสถานศึกษาเพิ่มมากขึ้น บุหรี่ไฟฟ้ามีสารนิโคตินที่ใช้การทำให้สารน้ำเกิดความร้อน และระเหยเป็นไอน้ำมาให้สูด/สูบ โดยที่ไม่เกิดควันจากการเผาไหม้ ผลิตภัณฑ์บุหรี่ไฟฟ้าในท้องตลาดมากกว่าร้อยละ 95 มีสารนิโคตินเป็นส่วนผสมอยู่ในน้ำยาบุหรี่ไฟฟ้า มีรูปแบบผลิตภัณฑ์ที่หลากหลาย เช่น รูปของเล่น รูปการ์ตูน มีกลิ่นหอม สวยงาม ชวนให้หลงไหล และเยาว์ชนยังเข้าถึงได้ง่ายทางเทคโนโลยีที่ทันสมัย ในบุหรี่ไฟฟ้านอกจากจะมีสารนิโคตินแล้วยังสารเคมีจำนวนมากที่ใช้ในกระบวนการผลิตและปรุงแต่งกลิ่นรส เช่น แอลดีไฮด์โพลีไซคลิค อะชิโตนและโครเมียม ซึ่งสารเคมีเหล่านั้นล้วนแต่เป็นอันตรายต่อร่างกาย รวมทั้งเป็นสารก่อให้เกิดมะเร็ง จากการสำรวจเด็กและเยาวชนในพื้นที่เขตเทศบาลเมืองพัทลุง มีพฤติกรรมการสูบบุหรี่และสูบบุหรี่ไฟฟ้า ได้ทุกสถานที่ แม้มีพื้นที่กำหนดเฉพาะ ก็ยังพบการสูบอยู่ จึงมีโอกาสเสี่ยงที่จะทำให้มีผู้สูบบุหรี่รายใหม่เพิ่มขึ้น เพื่อป้องกันเยาว์ชนรุ่นใหม่ไม่ให้เข้าถึงยาเสพติด บุหรี่และบุหรี่ไฟฟ้า จึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้นมา
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายมีความรู้เรื่องโทษ พิษภัยของยาเสพติด บุหรี่และบุหรี่ไฟฟ้า ร้อยละ 80 กลุ่มเป้าหมายมีความรู้เรื่องโทษ พิษภัยของยาเสพติด บุหรี่และบุหรี่ไฟฟ้า |
60.00 | 80.00 |
2 | เพื่อป้องกันไม่ให้มีนักสูบหน้าใหม่เพิ่มขึ้น ร้อยละ 80 สามารถป้องกันไม่ให้มีนักสูบหน้าใหม่เพิ่มขึ้น |
80.00 | 85.00 |
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรม | 0 | 30,350.00 | 0 | 0.00 | |
1 มิ.ย. 68 - 31 ก.ค. 68 | อบรมเชิงปฏิบัติการ | 0 | 30,350.00 | - |
1.กลุ่มเป้าหมายที่เข้ารับการอบรมมีความรู้เรื่องโทษ พิษภัยของยาเสพติด บุหรี่และบุหรี่ไฟฟ้า
2.สามารถลดจำนวนผู้ติดยาเสพติดและลดจำนวนนักสูบหน้าใหม่
3.สามารถป้องกันการติดยาเสพติดและป้องกันการเกิดนักสูบหน้าใหม่
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 11 พ.ย. 2567 11:28 น.