กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลโคกม่วง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการอาหารปลอดภัย ใส่ใจผู้บริโภคในตำบลโคกม่วง ประจำปีงบประมาณ 2568

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลโคกม่วง

กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลตำบลโคกม่วง

เขตพื้นที่เทศบาลตำบลโคกม่วง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 การสำรวจข้อมูลและตรวจประเมินกลุ่มเป้าหมาย ตลาด ร้านอาหาร และแผงลอย จำนวน 50 ร้าน พบว่าไม่มีจำนวน ตลาด ร้านอาหาร และแผงลอยที่ผ่านเกณฑ์ประเมิน

 

50.00

อาหารเป็นหนึ่งในปัจจัยที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต การบริโภคอาหารที่ไม่สะอาดเป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดโรคภัยไข้เจ็บ โดยมีเชื้อโรคและสารปนเปื้อนหลายชนิดที่เป็นอันตรายถึงชีวิตหลักสำคัญในการเลือกรับประทานอาหารนอกเหนือจากรสชาติอาหารแล้ว สิ่งที่ต้องคำนึงและพิจารณาควบคู่ไปด้วย คือ คุณค่าตามหลักโภชนาการ คุณภาพ ความสะอาดและปราศจากสารปนเปื้อน จากการสำรวจข้อมูลและตรวจประเมินกลุ่มเป้าหมาย ตลาด ร้านอาหาร และแผงลอยในเขตพื้นที่ตำบลโคกม่วงในปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ที่ผ่านมา พบว่ามีการขอรับใบอนุญาตและใบรับรองการแจ้งในการประกอบกิจการสถานที่จำหน่ายอาหาร ไม่ถึงเกณฑ์ที่กำหนดตามเทศบัญญัติเทศบาลตำบลโคกม่วง เรื่อง สถานที่จำหน่ายอาหารและสถานที่สะสมอาหาร พ.ศ.2567 ผลการตรวจข้อกำหนดพื้นฐานด้านสุขาภิบาลอาหารสำหรับร้านอาหารตามเกณฑ์ที่กรมอนามัยกำหนด 20 ข้อ และผลตรวจสารปนเปื้อนเชื้อโคลิฟอร์มแบคทีเรียเบื้องต้น โดยรวมยังไม่มีร้านที่ผ่านเกณฑ์ จากกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 50 ร้าน ดังนั้นจึงต้องมีการดูแลควบคุม กำกับการดำเนินกิจการสถานที่จำหน่ายอาหารที่ไม่ถูกต้องด้วยสุขลักษณะที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพของประชาชน รวมถึงแผงลอยจำหน่ายอาหารและโรงอาหารในสถานศึกษาซึ่งผู้ประกอบกิจการและผู้สัมผัสอาหาร นับว่าเป็นบุคคลสำคัญ ในการจัดหาวัตถุดิบ ปรุง ประกอบ ให้บริการอาหารที่สะอาดปลอดภัย รวมถึงมีคุณค่าทางโภชนาการ จำเป็นต้องมีความรู้ ความเข้าใจเรื่องหลักการสุขาภิบาลอาหาร รวมถึงกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เพื่อจะได้นำไปปฏิบัติอย่างถูกต้องและสามารถทำอาหารที่สะอาดปลอดภัยสู่ผู้บริโภค
กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมเทศบาลตำบลโคกม่วง ได้ตระหนักถึงความสำคัญดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการอาหารปลอดภัย ใส่ใจผู้บริโภคในตำบลโคกม่วง ประจำปีงบประมาณ 2568 ขึ้น โดยการออกตรวจประเมินคุณภาพร้านอาหารและแผงลอย รวมไปถึงตลาด เพื่อเป็นการเฝ้าระวังและประกันคุณภาพของอาหาร และเป็นการพัฒนาและสร้างความรู้แก่ผู้ประกอบการและผู้บริโภคให้ตระหนักถึงความสำคัญของการเลือกซื้ออาหารที่เหมาะสม อันจะส่งผลให้ประชาชนได้บริโภคอาหารที่สะอาดปลอดภัยต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อพัฒนาศักยภาพแกนนำอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านมีความรู้ความเข้าใจด้านสุขาภิบาลอาหารและได้นำไปปฏิบัติอย่างถูกต้อง

แกนนำอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน มีความรู้ ความเข้าใจด้านสุขาภิบาลอาหารและได้นำไปปฏิบัติอย่างถูกต้อง

100.00 90.00
2 เพื่อพัฒนาและยกระดับตลาดนัด ร้านจำหน่ายอาหาร โรงอาหาร และแผงลอยจำหน่ายอาหาร ให้ได้มาตรฐานสุขาภิบาลอาหาร กรมอนามัย

ตลาดนัด ร้านจำหน่ายอาหาร โรงอาหาร และแผงลอยจำหน่ายอาหาร ผ่านมาตรฐานสุขาภิบาลอาหาร กรมอนามัย

50.00 10.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
ร้านจำหน่ายอาหาร โรงอาหาร และแผงลอยจำหน่ายอาหารในพ 50

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น : 14/01/2025

กำหนดเสร็จ : 30/09/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้ แกนนำอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้ แกนนำอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดอบรมให้ความรู้ เพื่อพัฒนาศักยภาพแกนนำอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน จาก รพ.สต.ในเขตพื้นที่ทั้ง 3 แห่ง จำนวน 30 คน จำนวนครึ่งวัน ณ ห้องประชุมเทศบาลตำบลโคกม่วง
-อบรมให้ความรู้ด้านสุขาภิบาลอาหาร
-ทำแบบทดสอบก่อน-หลังการอบรม
-ฝึกปฏิบัติการใช้ชุดทดสอบ
ค่าใช้จ่าย ดังนี้
1. ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 1 คน 3 ชม.ๆ ละ 600 บาท เป็นเงิน 1,800 บาท
2. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม สำหรับผู้เข้าอบรม 30 คน x 25 บาท x 1 มื้อ เป็นเงิน 750 บาท
3. ค่าวัสดุสาธิตการตรวจสารปนเปื้อนฯ ประกอบการอบรม ดังนี้
- น้ำยาทดสอบโคลิฟอร์มแบคทีเรียขั้นต้น SI-2 ชุดละ 1,200 บาท จำนวน 1 ชุด (50 test) เป็นเงิน 1,200 บาท
- น้ำยาทดสอบโคลิฟอร์มในน้ำและน้ำแข็ง อ.11 ชุดละ 1,800 บาท 1 ชุด (50 test) เป็นเงิน 1,800 บาท
- ชุดการทดสอบสารบอร์แรกซ์ ชุดละ 320 บาท 1 ชุด (50 test) เป็นเงิน 320 บาท
- ชุดการทดสอบสารฟอกขาว ชุดละ 280 บาท 1 ชุด (100 test) เป็นเงิน 280 บาท
- ชุดการทดสอบสารกันรา (กรดซาซิลิก) ชุดละ 350 บาท 1 ชุด (50 test) เป็นเงิน 350 บาท
- ชุดการทดสอบสารฟอร์มาลีน ชุดละ 2,180 บาท 1 ชุด (30 test) เป็นเงิน 2,180 บาท
- ชุดทดสอบสารโพลาร์ในน้ำมันทอดซ้ำ ชุดละ 1,200 บาท 1 ชุด (50 test) เป็นเงิน1,200 บาท
- วัสดุอปุกรณ์การตรวจสอบสารปนเปื้อน จำนวน 1 ชุด เป็นเงิน 280 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2568 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต : แกนนำอาสาสมัครสาธารณสุขในเขตพื้นที่ตำบลโคกม่วงได้รับการอบรม จำนวน 30 คน
ผลลัพธ์ : แกนนำอาสาสมัครสาธารณสุขในเขตพื้นที่ตำบลโคกม่วงมีความรู้ ความเข้าใจด้านสุขาภิบาลอาหาร

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10160.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมตรวจประเมินสุขาภิบาลอาหาร

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมตรวจประเมินสุขาภิบาลอาหาร
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ตรวจประเมินสุขาภิบาลอาหาร
-ตามมาตารฐานสุขาภิบาลอาหาร กรมอนามัย ทั้งทางกายภาพ ชีวภาพ และด้านความปลอดภัยของอาหาร พร้อมให้คำแนะนำ
-เป้าหมาย ตลาดนัด ร้านจำหน่ายอาหาร โรงอาหาร และแผงลอยจำหน่ายอาหาร จำนวน 50 แห่ง
-โดย เจ้าหน้าที่กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมร่วมกับ แกนนำ อสม.ที่ผ่านการอบรมในพื้นที่
ค่าใช้จ่าย ดังนี้
-น้ำยาทดสอบโคลิฟอร์มแบคทีเรียขั้นต้น SI-2 ชุดละ 1,200 บาท 2 ชุด (100 test) เป็นเงิน 2,400บาท
-น้ำยาทดสอบโคลิฟอร์มในน้ำและน้ำแข็ง อ.11 ชุดละ 1,800 บาท 1 ชุด (50 test) เป็นเงิน 1,800 บาท
- ชุดการทดสอบสารบอร์แรกซ์ ชุดละ 320 บาท 1 ชุด (50 test) เป็นเงิน 320 บาท
- ชุดการทดสอบสารฟอกขาว ชุดละ 280 บาท 1 ชุด (100 test) เป็นเงิน 280 บาท
- ชุดการทดสอบสารกันรา (กรดซาซิลิก) ชุดละ 350 บาท 1 ชุด (50 test) เป็นเงิน 350 บาท
- ชุดการทดสอบสารฟอร์มาลีน ชุดละ 2,180 บาท 1 ชุด (30 test) เป็นเงิน 2,180 บาท
- ชุดทดสอบสารโพลาร์ในน้ำมันทอดซ้ำ ชุดละ 1,200 บาท 2 ชุด (50 test) เป็นเงิน 2,400 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2568 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต : ตลาดนัด ร้านจำหน่ายอาหาร โรงอาหาร และแผงลอยจำหน่ายอาหาร ผ่านเกณฑ์มาตรฐานสุขาภิบาลอาหาร อย่างน้อย 10 แห่ง
ผลลัพธ์ : ตลาดนัด ร้านจำหน่ายอาหาร โรงอาหาร และแผงลอยจำหน่ายอาหาร ได้มาตรฐานสุขาภิบาลอาหาร

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
9730.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมติดตามและรายงานผลโครงการ

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมติดตามและรายงานผลโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-ประเมินความรู้ความเข้าใจแกนนำอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านทั้งก่อนและหลังการอบรม
-ประเมินความพึงพอใจของแกนนำอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน
-ประเมินความพึงพอใจของผู้ประกอบการตลาดนัด ร้านจำหน่ายอาหาร โรงอาหาร และแผงลอยจำหน่ายอาหาร
-ประเมินผลการตรวจประเมินสุขาภิบาลอาหาร
-รายงานผลโครงการ

ระยะเวลาดำเนินงาน
14 มกราคม 2568 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต : มีรายงานผลโครงการ จำนวน 1 เล่ม
ผลลัพธ์ : ผู้ประกอบการตลาดนัด ร้านจำหน่ายอาหาร โรงอาหาร และแผงลอยจำหน่ายอาหาร และแกนนำอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน มีความพึงพอใจ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 19,890.00 บาท

หมายเหตุ :
**ทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยได้**

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. แกนนำอาสาสมัครสาธารณสุขในเขตพื้นที่ตำบลโคกม่วง มีความรู้ ความเข้าใจด้านสุขาภิบาลอาหาร
2. ความเสี่ยงจากโรคที่เกิดจากอาหารและน้ำเป็นสื่อประชาชนได้บริโภคอาหารที่สะอาดปลอดภัยลดลง
3. ตลาดร้านอาหารและแผงลอย ผ่านเกณฑ์มาตรฐานตามกฎหมายและมาตรฐานการสุขาภิบาล อาหาร


>