กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองพัทลุง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการฝึกอบรมอาสาเฉพาะกิจปฏิบัติการด้านสุขภาพเคลื่อนที่ในชุมชน

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองพัทลุง

งานสาธารณสุขมูลฐาน กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมเทศบาลเมืองพัทลุง

ตำบลคูหาสวรรค์

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานผู้สูงอายุ , แผนงานคนพิการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน

จำนวนประชากรใน B ได้รับการตรวจยืนยันวินิจฉัยโดยการตรวจระดับพลาสมากลูโคสหลังอดอาหารมากกว่า 8 ชั่วโมง (FPG) ทางห้องปฏิบัติการ ในสถานบริการสาธารณสุข (ภายใน 1 - 180 วัน ก่อนสิ้นปีงบประมาณ) (กลุ่มสงสัยป่วย 81 คน ได้รับการตรวจติดตาม 2 คน)

2.00
2 ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง

อัตรากลุ่มสงสัยป่วยความดันโลหิตสูงในเขตรับผิดชอบได้รับการวัดความดันโลหิตที่บ้าน กลุ่มสงสัยป่วย 433 คน มีผลการวัดความดันที่บ้านจำนวน 29 คน

6.36
3 ร้อยละของผู้ที่มีภาวะพึ่งพิงในชุมชนได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพภายในระยะเวลา 6 เดือน

กลุ่มผุ้สูงอายุติดเตียงรายใหม่ (คน)

48.00
4 จำนวนผู้สูงอายุที่มี ADL น้อยว่า 11 คะแนน(คน)

ผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้าน (ADL 5-11 คะแนน)

66.00

จากสภาพปัญหาที่พบของผู้พิการ ผู้สูงอายุและผู้ป่วยติดเตียง โรคไม่ติดต่อเรื้อรังโดยเฉพาะโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง เป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญและถือว่าเป็น "ภัยเงียบ"เพราะเป็นโรคที่ไม่ปรากฎ อาการ และเป็นสาหตุของโรคแทรกซ้อนในอวัยวะสำคัญหลายระบบของร่างกาย เช่น ตา ไต หลอดเลือดในเขตเทศบาลเมืองพัทลุงนั้น อุบัติการณ์โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ในแต่ละปีเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตและเศรษฐกิจของประชาชนเป็นอย่างมาก เนื่องจากโรคเรื้อรังเป็นโรคที่จำเป็นต้องรักษาอย่างต่อเนื่อง และยาวนาน มีค่าใช้จ่ายด้านการรักษาสูงมาก ดังนั้น งานสาธารณสุขมูลฐาน กองสาธารณสุขและสิ่งแแวดล้อมเทศบาลเมืองพัทลุง พัฒนารูปแบบกระบวนการดูแลผู้ป่วยต่อเนื่องที่บ้านให้ครอบคลุมทั้ง 4 มิติ อันประกอบด้วยการส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค การรักษา การฟื้นฟูสภาพได้ดำเนินงานเน้นนโยบายเชิงรุก เร่งการป้องกันโรค และการดูแลหลังเกิดโรคที่ทำให้เกิดความพิการ และผู้ป่วยประคับประคอง โดยใช้เครือข่ายระหว่าง โรงพยาบาลพัทลุง ศูนย์แพทย์ชุมชน เทศบาลเมืองพัทลุง และอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน เพราะการดำเนินงานควบคุมและป้องกันโรค ที่เกิดจากพฤติกรรมของประชาชนจะประสบความสำเร็จมีประสิทธิภาพและเกิดความต่อเนื่องยั่งยืน จำเป็นอย่างยิ่งต้องอาศัยความร่วมมือจากภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้องทุกส่วน และใช้กระบวนการที่บูรณาการเชื่อมโยงการดำเนินงานโรคไม่ติดต่อเรื้อรังเป็นโรคที่เป็นปัญหาที่สำคัญในพื้นที่ และเพื่อแก้ปัญหากลุ่มเสี่ยงสูง กลุ่มสงสัยผู้ป่วยรายใหม่ กลุ่มป่วยที่ไม่มีภาวะแทรกซ้อน กลุ่มป่วยที่มีภาวะแทรกซ้อน งานสาธารณสุขมูลฐาน กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมเทศบาลเมืองพัทลุง จึงได้จัดทำโครงการติดตามเฝ้าระวังภาวะสุขภาพกลุ่มเสี่ยงและผู้ป่วยโรคเรื้อรังขึ้นมา เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงและผู้ป่วยโรคเรื้อรังได้รับการติดตามประเมินสภาวะสุขภาพ ชั่งน้ำหนัก วัดรอบเอว วัดระดับความดันโลหิตตามมาตรฐาน การติดตามเข้ารับการรักษา พร้อมทั้งรณรงค์สร้างความตระหนักในการดูแลสุขภาพมีพฤติกรรมที่ดีและได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพเพื่อลดปัจจัยเสี่ยงต่อการมีภาวะแทรกซ้อนที่เป็นอันตรายต่อผู้ป่วยโรคเรื้อรัง

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน

กลุ่มเสี่ยงเบาหวานได้รับการตรวจยืนยันวินิจฉัยโดยการตรวจระดับพลาสมากลูโคสหลังอดอาหารมากกว่า 8 ชั่วโมง (FPG) ทางห้องปฏิบัติการ ในสถานบริการสาธารณสุข (ภายใน 1 - 180 วัน ก่อนสิ้นปีงบประมาณ)

2.00 5.00
2 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง

อัตรากลุ่มสงสัยป่วยความดันโลหิตสูงในเขตรับผิดชอบได้รับการวัดความดันโลหิตที่บ้านเพิ่มขึ้น

6.36 20.00
3 เพื่อเพิ่มผู้ที่มีภาวะพึ่งพิงในชุมชนได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพภายในระยะเวลา 6 เดือน

ร้อยละผู้ที่มีภาวะพึ่งพิงในชุมชนได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพภายในระยะเวลา 6 เดือน

48.00 48.00
4 เพื่อลดจำนวนผู้สูงอายุที่มี ADL น้อยว่า 11 คะแนน

ผู้สูงอายุที่มี ADL น้อยว่า 11 คะแนน ได้รับการติดตามดูแลสุขภาพ

66.00 66.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ 114
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 150
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ 10
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
ผู้ป่วยประคับประคอง 22

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/05/2025

กำหนดเสร็จ 29/07/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 รับสมัครอาสาเฉพาะกิจปฏิบัติการด้านสุขภาพเคลื่อนที่ในชุมชน

ชื่อกิจกรรม
รับสมัครอาสาเฉพาะกิจปฏิบัติการด้านสุขภาพเคลื่อนที่ในชุมชน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประชาสัมพันธ์ การเปิดรับสมัครจิตอาสาหน่วยเฉพาะกิจเคลื่อนที่ในชุมชน

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2568 ถึง 5 พฤษภาคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ได้จิตอาสา ที่จะเข้าร่วมโครงการ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 อบรมเชิงปฏิบัติการ 1วัน

ชื่อกิจกรรม
อบรมเชิงปฏิบัติการ 1วัน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับ การดูแลสุขภาพของประชาชนในชุมชนและแบ่งกลุ่มฝึกปฏิบัติ

ค่าใช้จ่าย

1.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 100 คนๆละ30 บาท จำนวน 2มื้อเป็นเงิน 6,000 บาท

  1. ค่าอาหารกลางวัน จำนวนนวน 100 คนๆละ ุ65บาท จำนวน1 มื้อเป็นเงิน6500 บาท

  2. ค่าสมนาคุณวิทยากรจำนวน6 ชั่วโมงๆละ 600 บาท เป็นเงิน3600บาท

    4.ค่ากระเป๋าผ้าพร้อมสกรีน หน่วยอาสาเฉพาะกิจเคลื่อนที่ในชุมชน จำนวน 90 ใบๆละ 150 บาท เป็นเงิน13,500 บาท

    1. ค่าวัสดุอุปกรณ์ในการอบรม เช่นกระดาษพรูฟปากกาสมุด เป็นเงิน1500 บาท

    2. ค่าถ่ายเอกสารคู่มือ จำนวน 90 ชุดๆละ 30 บาทเป็นเงิน2700 บาท

  3. ค่าป้ายไวนิลโครงการ ขนาด 1.2 X 2.4 เมตร จำนวน 1 ป้าย เป็นเงิน600 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
12 พฤษภาคม 2568 ถึง 23 พฤษภาคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ เพิ่มทักษะ และ สามารถปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
34400.00

กิจกรรมที่ 3 ฝึกปฏิบัติงานเพิ่มทักษะในชุมชน โซนศูนย์แพทย์คูหาสวรรค์จำนวน 3 วัน

ชื่อกิจกรรม
ฝึกปฏิบัติงานเพิ่มทักษะในชุมชน โซนศูนย์แพทย์คูหาสวรรค์จำนวน 3 วัน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ฝึกปฏิบัติในชุมชน

ค่าใช้จ่าย

  1. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มผู้เข้าร่วมโครงการและผู้ที่เกี่ยวข้อง จำนวน 31 คน ๆ ละ6มื้อๆ ละ 30 บาท เป็นเงิน5,580บาท

    1. ค่าอาหารกลางวันผู้เข้าร่วมโครงการและผู้ที่เกี่ยวข้อง จำนวน31 คน ๆ ละ3มื้อๆ ละ 65 บาท เป็นเงิน6,045บาท

3 ค่ากระเป๋าปฐมพยาบาลสำหรับใส่อุปกรณ์เครื่องมือ จำนวน 1 ใบๆละ 1000 บาท

4 ค่าเครื่องวัดความดันโลหิตดิจิตอล จำนวน 2 เครื่อง เป็นเงิน 5,000บาท

  1. ค่าเครื่องเจาะน้ำตาล จำนวน 2 เครื่อง ๆ ละ 1100 บาทเป็นเงิน 2.200 บาท

  2. ค่าแถบเจาะนำตาล จำนวน 100 แถบๆละ 8 บาท เป็นเงิน 800 บาท

7.ค่าเข็มเจาะน้ำตาล จำนวน 100 แถบ ๆละ 2 บาท เป็นเงิน 200 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
26 พฤษภาคม 2568 ถึง 30 พฤษภาคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

สามารถให้การดูแลกลุ่มเป้าหมายในชุมชนได้อย่างถกูกต้อง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
20825.00

กิจกรรมที่ 4 ฝึกปฏิบัติงานเพิ่มทักษะในชุมชน โซนศูนย์แพทย์ท่ามิหรำ จำนวน 3 วัน

ชื่อกิจกรรม
ฝึกปฏิบัติงานเพิ่มทักษะในชุมชน โซนศูนย์แพทย์ท่ามิหรำ จำนวน 3 วัน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ฝึกปฏิบัติในชุมชน

ค่าใช้จ่าย

  1. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มผู้เข้าร่วมโครงการและผู้ที่เกี่ยวข้อง จำนวน 35 คน ๆ ละ6มื้อๆ ละ 30 บาท เป็นเงิน 6,300 บาท

  2. ค่าอาหารกลางวันผู้เข้าร่วมโครงการและผู้ที่เกี่ยวข้อง จำนวน35 คน ๆ ละ3มื้อๆ ละ 65 บาท เป็นเงิน 6,825บาท


    3 ค่ากระเป๋าปฐมพยาบาลสำหรับใส่อุปกรณ์เครื่องมือ จำนวน 1 ใบๆละ 1000 บาท

4 ค่าเครื่องวัดความดันโลหิตดิจิตอล จำนวน 2 เครื่อง เป็นเงิน 5,000บาท

  1. ค่าเครื่องเจาะน้ำตาล จำนวน 2 เครื่อง ๆ ละ 1100 บาทเป็นเงิน 2.200 บาท

  2. ค่าแถบเจาะนำตาล จำนวน 100 แถบๆละ 8 บาท เป็นเงิน 800 บาท

7.ค่าเข็มเจาะน้ำตาล จำนวน 100 แถบ ๆละ 2 บาท เป็นเงิน 200 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
2 มิถุนายน 2568 ถึง 10 มิถุนายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

สามารถดูแลกลุ่มเป้าหมายในชุมชนได้อย่างถูกต้อง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
22325.00

กิจกรรมที่ 5 ฝึกปฏิบัติการเพิ่มทักษะในชุมชน โซนศูนย์แพทย์ชุมชน ดอนยอ

ชื่อกิจกรรม
ฝึกปฏิบัติการเพิ่มทักษะในชุมชน โซนศูนย์แพทย์ชุมชน ดอนยอ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ฝึกปฏิบัติในชุมชน

ค่าใช้จ่าย

  1. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มผู้เข้าร่วมโครงการและผู้ที่เกี่ยวข้อง จำนวน 39 คน ๆ ละ6มื้อๆ ละ 30 บาท เป็นเงิน  7020 บาท

  2. ค่าอาหารกลางวันผู้เข้าร่วมโครงการและผู้ที่เกี่ยวข้อง จำนวน39 คน ๆ ละ3มื้อๆ ละ 65 บาท เป็นเงิน 7605บาท


    3 ค่ากระเป๋าปฐมพยาบาลสำหรับใส่อุปกรณ์เครื่องมือ จำนวน 2 ใบๆละ 2000 บาท

4 ค่าเครื่องวัดความดันโลหิตดิจิตอล จำนวน 3 เครื่อง เป็นเงิน 7500บาท

  1. ค่าเครื่องเจาะน้ำตาล จำนวน 3 เครื่อง ๆ ละ 1100 บาทเป็นเงิน 3300 บาท

  2. ค่าแถบเจาะนำตาล จำนวน 150 แถบๆละ 8 บาท เป็นเงิน 1200 บาท

7.ค่าเข็มเจาะน้ำตาล จำนวน 150 แถบ ๆละ 2 บาท เป็นเงิน 300 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
11 มิถุนายน 2568 ถึง 18 มิถุนายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

สามารถดูแลกลุ่มเป้าหมายได้อย่างถูกต้อง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
28925.00

กิจกรรมที่ 6 กิจกรรมถอดบทเรียน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมถอดบทเรียน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ถอดบทเรียนการดำเนินโครงการ
1. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 100 คนๆละ 30 บาท เป็นเงิน 3000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
23 มิถุนายน 2568 ถึง 27 มิถุนายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ได้สรุปผลการดำเนินงาน ปัญหาและอุปสรรค ปัจจัยความสำเร็จ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 109,475.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.กลุ่มเสี่ยงเบาหวานได้รับการติดตามเพื่อตรวจยืนยันวินิจฉัยโดยการตรวจระดับพลาสมากลูโคสหลังอดอาหารมากกว่า 8 ชั่วโมง (FPG) ทางห้องปฏิบัติการ ในสถานบริการสาธารณสุข (ภายใน 1 - 180 วัน ก่อนสิ้นปีงบประมาณ) เพิ่มขึ้น

2.กลุ่มสงสัยป่วยความดันโลหิตสูงในเขตรับผิดชอบได้รับการวัดความดันโลหิตที่บ้านเพิ่มขึ้น ลดอัตราการเกิดโรค และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมได้

3.ประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคหลอดเลือดสมอง(CVA) ลดลง

4.ผู้ที่มีภาวะพึ่งพิงในชุมชนได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพภายในระยะเวลา 6 เดือน ลดปัญหาการขาดการดูแลระหว่างรอเข้าสู่ระบบ LTC

5. ผู้ป่วยประคับประคองในพื้นที่ได้รับการเยี่ยมและดูแลโดยทีมสุขภาพ

6.เกิดทีมอาสาเฉพาะกิจปฏิบัติการด้านสุขภาพเคลื่อนที่ในชุมชน ร่วมกับทีมหมอครอบครัวและเจ้าหน้าที่สาธารณสุข


>