กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการฝึกอบรมอาสาเฉพาะกิจปฏิบัติการด้านสุขภาพเคลื่อนที่ในชุมชน
รหัสโครงการ 2568-L7572-01-010
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ งานสาธารณสุขมูลฐาน กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมเทศบาลเมืองพัทลุง
วันที่อนุมัติ 31 มกราคม 2568
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤษภาคม 2568 - 29 กรกฎาคม 2568
กำหนดวันส่งรายงาน 31 สิงหาคม 2568
งบประมาณ 109,475.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวปาจรีย์ สงคง
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลคูหาสวรรค์ อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานผู้สูงอายุ , แผนงานคนพิการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มผู้สูงอายุ 114 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 150 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง :

กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ 10 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน

จำนวนประชากรใน B ได้รับการตรวจยืนยันวินิจฉัยโดยการตรวจระดับพลาสมากลูโคสหลังอดอาหารมากกว่า 8 ชั่วโมง (FPG) ทางห้องปฏิบัติการ ในสถานบริการสาธารณสุข (ภายใน 1 - 180 วัน ก่อนสิ้นปีงบประมาณ) (กลุ่มสงสัยป่วย 81 คน ได้รับการตรวจติดตาม 2 คน)

2.00
2 ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง

อัตรากลุ่มสงสัยป่วยความดันโลหิตสูงในเขตรับผิดชอบได้รับการวัดความดันโลหิตที่บ้าน กลุ่มสงสัยป่วย 433 คน มีผลการวัดความดันที่บ้านจำนวน 29 คน

6.36
3 ร้อยละของผู้ที่มีภาวะพึ่งพิงในชุมชนได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพภายในระยะเวลา 6 เดือน

กลุ่มผุ้สูงอายุติดเตียงรายใหม่ (คน)

48.00
4 จำนวนผู้สูงอายุที่มี ADL น้อยว่า 11 คะแนน(คน)

ผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้าน (ADL 5-11 คะแนน)

66.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากสภาพปัญหาที่พบของผู้พิการ ผู้สูงอายุและผู้ป่วยติดเตียง โรคไม่ติดต่อเรื้อรังโดยเฉพาะโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง เป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญและถือว่าเป็น "ภัยเงียบ"เพราะเป็นโรคที่ไม่ปรากฎ อาการ และเป็นสาหตุของโรคแทรกซ้อนในอวัยวะสำคัญหลายระบบของร่างกาย เช่น ตา ไต หลอดเลือดในเขตเทศบาลเมืองพัทลุงนั้น อุบัติการณ์โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ในแต่ละปีเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตและเศรษฐกิจของประชาชนเป็นอย่างมาก เนื่องจากโรคเรื้อรังเป็นโรคที่จำเป็นต้องรักษาอย่างต่อเนื่อง และยาวนาน มีค่าใช้จ่ายด้านการรักษาสูงมาก ดังนั้น งานสาธารณสุขมูลฐาน กองสาธารณสุขและสิ่งแแวดล้อมเทศบาลเมืองพัทลุง พัฒนารูปแบบกระบวนการดูแลผู้ป่วยต่อเนื่องที่บ้านให้ครอบคลุมทั้ง 4 มิติ อันประกอบด้วยการส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค การรักษา การฟื้นฟูสภาพได้ดำเนินงานเน้นนโยบายเชิงรุก เร่งการป้องกันโรค และการดูแลหลังเกิดโรคที่ทำให้เกิดความพิการ และผู้ป่วยประคับประคอง โดยใช้เครือข่ายระหว่าง โรงพยาบาลพัทลุง ศูนย์แพทย์ชุมชน เทศบาลเมืองพัทลุง และอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน เพราะการดำเนินงานควบคุมและป้องกันโรค ที่เกิดจากพฤติกรรมของประชาชนจะประสบความสำเร็จมีประสิทธิภาพและเกิดความต่อเนื่องยั่งยืน จำเป็นอย่างยิ่งต้องอาศัยความร่วมมือจากภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้องทุกส่วน และใช้กระบวนการที่บูรณาการเชื่อมโยงการดำเนินงานโรคไม่ติดต่อเรื้อรังเป็นโรคที่เป็นปัญหาที่สำคัญในพื้นที่ และเพื่อแก้ปัญหากลุ่มเสี่ยงสูง กลุ่มสงสัยผู้ป่วยรายใหม่ กลุ่มป่วยที่ไม่มีภาวะแทรกซ้อน กลุ่มป่วยที่มีภาวะแทรกซ้อน งานสาธารณสุขมูลฐาน กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมเทศบาลเมืองพัทลุง จึงได้จัดทำโครงการติดตามเฝ้าระวังภาวะสุขภาพกลุ่มเสี่ยงและผู้ป่วยโรคเรื้อรังขึ้นมา เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงและผู้ป่วยโรคเรื้อรังได้รับการติดตามประเมินสภาวะสุขภาพ ชั่งน้ำหนัก วัดรอบเอว วัดระดับความดันโลหิตตามมาตรฐาน การติดตามเข้ารับการรักษา พร้อมทั้งรณรงค์สร้างความตระหนักในการดูแลสุขภาพมีพฤติกรรมที่ดีและได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพเพื่อลดปัจจัยเสี่ยงต่อการมีภาวะแทรกซ้อนที่เป็นอันตรายต่อผู้ป่วยโรคเรื้อรัง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน

กลุ่มเสี่ยงเบาหวานได้รับการตรวจยืนยันวินิจฉัยโดยการตรวจระดับพลาสมากลูโคสหลังอดอาหารมากกว่า 8 ชั่วโมง (FPG) ทางห้องปฏิบัติการ ในสถานบริการสาธารณสุข (ภายใน 1 - 180 วัน ก่อนสิ้นปีงบประมาณ)

2.00 5.00
2 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง

อัตรากลุ่มสงสัยป่วยความดันโลหิตสูงในเขตรับผิดชอบได้รับการวัดความดันโลหิตที่บ้านเพิ่มขึ้น

6.36 20.00
3 เพื่อเพิ่มผู้ที่มีภาวะพึ่งพิงในชุมชนได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพภายในระยะเวลา 6 เดือน

ร้อยละผู้ที่มีภาวะพึ่งพิงในชุมชนได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพภายในระยะเวลา 6 เดือน

48.00 48.00
4 เพื่อลดจำนวนผู้สูงอายุที่มี ADL น้อยว่า 11 คะแนน

ผู้สูงอายุที่มี ADL น้อยว่า 11 คะแนน ได้รับการติดตามดูแลสุขภาพ

66.00 66.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 109,475.00 0 0.00
1 - 5 พ.ค. 68 รับสมัครอาสาเฉพาะกิจปฏิบัติการด้านสุขภาพเคลื่อนที่ในชุมชน 0 0.00 -
12 - 23 พ.ค. 68 อบรมเชิงปฏิบัติการ 1วัน 0 34,400.00 -
26 - 30 พ.ค. 68 ฝึกปฏิบัติงานเพิ่มทักษะในชุมชน โซนศูนย์แพทย์คูหาสวรรค์จำนวน 3 วัน 0 20,825.00 -
2 - 10 มิ.ย. 68 ฝึกปฏิบัติงานเพิ่มทักษะในชุมชน โซนศูนย์แพทย์ท่ามิหรำ จำนวน 3 วัน 0 22,325.00 -
11 - 18 มิ.ย. 68 ฝึกปฏิบัติการเพิ่มทักษะในชุมชน โซนศูนย์แพทย์ชุมชน ดอนยอ 0 28,925.00 -
23 - 27 มิ.ย. 68 กิจกรรมถอดบทเรียน 0 3,000.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.กลุ่มเสี่ยงเบาหวานได้รับการติดตามเพื่อตรวจยืนยันวินิจฉัยโดยการตรวจระดับพลาสมากลูโคสหลังอดอาหารมากกว่า 8 ชั่วโมง (FPG) ทางห้องปฏิบัติการ ในสถานบริการสาธารณสุข (ภายใน 1 - 180 วัน ก่อนสิ้นปีงบประมาณ) เพิ่มขึ้น

2.กลุ่มสงสัยป่วยความดันโลหิตสูงในเขตรับผิดชอบได้รับการวัดความดันโลหิตที่บ้านเพิ่มขึ้น ลดอัตราการเกิดโรค และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมได้

3.ประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคหลอดเลือดสมอง(CVA) ลดลง

4.ผู้ที่มีภาวะพึ่งพิงในชุมชนได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพภายในระยะเวลา 6 เดือน ลดปัญหาการขาดการดูแลระหว่างรอเข้าสู่ระบบ LTC

  1. ผู้ป่วยประคับประคองในพื้นที่ได้รับการเยี่ยมและดูแลโดยทีมสุขภาพ

6.เกิดทีมอาสาเฉพาะกิจปฏิบัติการด้านสุขภาพเคลื่อนที่ในชุมชน ร่วมกับทีมหมอครอบครัวและเจ้าหน้าที่สาธารณสุข

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 14 พ.ย. 2567 00:00 น.