กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตันหยงมัส

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการ ให้ความรู้ เฝ้าระวังและเตรียมพร้อมการระบาดโรคหัดและให้ความรู้โรคเมลิออยโดสิส ประจำปี 2568

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตันหยงมัส

หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธาณสุข เช่น รพ.สต.

ในเขตพื้นที่ อบต.ตันหยงมัส

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ปัจจุบันคำว่าระบาดวิทยาได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางในวงการกระทรวงสาธารณสุขของประเทศไทย เวลาได้ยินคนพูดถึงระบาดวิทยาจะมีสองนัยคือนัยของความเป็นศาสตร์หรือวิธีการที่จะใช้ศึกษาแก้ปัญหาสุขภาพ เช่นต้องทำระบาดวิทยาให้เข้มแข็งถึงจะควบคุมโรคระบาดต่างๆได้และนัยขององค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับโรคภัยต่างๆเช่นระบาดวิทยาของโรคติดต่อทางเดินหายใจในประเทศไทยก็จะเป็นการบรรยายว่าโรคนี้เกิดจากอะไร เป็นกับใครเป็นส่วนใหญ่ ที่ใด ฤดูกาลใด มีแนวโน้มเป็นอย่างไร ติดต่ออย่างไร ควบคุมได้อย่างไร ฯลฯ คนที่จะต้องทำงานส่งเสริม ป้องกันควบคุมโรค รวมถึงรักษาผู้ป่วย หากรู้เรื่องระบาดวิทยาก็จะมีหลักวิชาการที่ดีในการทำงาน ระบาดวิทยาเน้นการปกป้องให้กลุ่มประชากรมีสุขภาพดีมิให้เจ็บป่วย เมื่อมีการเจ็บป่วยเกิดขึ้นก็พยายามป้องกันมิให้มีการแพร่ระบาดในวงกว้าง จัดการให้การระบาดสงบลงอย่างรวดเร็ว และเกิดผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตและความสงบสุขของสังคมให้น้อยที่สุด โครงการให้ความรู้ เฝ้าระวังและเตรียมพร้อมการระบาดโรคหัดและให้ความรู้โรคเมลิออยโดสิส ปีงบประมาณ 2568 พบว่าปี 2567 มีการระบาดโรคหัดในพื้นที่จำนวน 68 ราย และมีการเสียชีวิตจากโรคเมลิออยด์โดสิสจำนวน 1 ราย และสถานการณ์การเกิดการระบาดของโรคติดต่อ เป็นโครงการเพื่อการส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันและควบคุมโรคในประชากร
โรงพยาบาลระแงะ ได้เห็นประโยชน์และความสำคัญในจุดนี้ ดังนั้นการรณรงค์ให้ความรู้กับประชาชนในเรื่องโครงการให้ความรู้ เฝ้าระวังและเตรียมพร้อมการระบาดโรคหัดและให้ความรู้โรคเมลิออยโดสิส ปีงบประมาณ 2568การเกิดการระบาดของโรคติดต่อ เป็นการเตรียมตัวรับมือเมื่อเกิดโรคตามฤดูกาล รวมทั้งส่งเสริมให้ประชาชนมีความรู้ ทัศนคติและการปฏิบัติที่ถูกต้องเกี่ยวกับปฏิบัติตัวหากมีการระบาดของโรคต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้เครือข่ายสุขภาพภาคประชาชน มีความรู้ ความเข้าใจ ในการป้องกันโรคหัดและโรคเมลิออยโดสิสได้อย่างถูก ต้องและมีประสิทธิภาพ

ประชาชนในพื้นที่มีความรู้ ความเข้าใจ ในการป้องกันโรคติดต่อโรคหัดและโรคเมลิออยโดสิสได้อย่างถูก ร้อยละ 90

0.00
2 เพื่อสร้างความตระหนักให้แก่ประชาชนในการเฝ้าระวังและรับมือการระบาดโรคหัดและการระบาดโรคเมลิออยโดสิส

ประชาชนได้รับการส่งเสริมและสนับสนุน ให้ประชาชนสามารถป้องกันโรคด้วยตนเอง ร้อยละ 100

0.00
3 เพื่อสร้างความตระหนักให้แก่ประชาชนกลุ่มเสี่ยงในการเฝ้าระวังและป้องกันโรคติดต่อ

ลดอัตราการป่วยตายด้วยโรคติดต่อทางระบาดวิทยาเท่ากับ 0

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 150
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/10/2024

กำหนดเสร็จ 30/09/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมอบรมให้ความรู้

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมอบรมให้ความรู้
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าวิทยากร 1 คน x 6 ชั่วโมง เป็นเงิน 1,800 บาท
  • ค่าอาหารกลางวัน  150 คน x 60 บาท x 1 มื้อ เป็นเงิน 9,000  บาท
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม  150 คน x 30 บาท x 2 มื้อ เป็นเงิน  9,000  บาท
  • ค่าป้ายไวนิลโครงการ ขนาด 2 x 2.5 เมตร เป็นเงิน 1,000 บาท
  • ค่าถ่ายเอกสาร   เป็นเงิน 1,000 บาท
  • ค่าแฟ้มเอกสาร จำนวน 150 คน x 10 บาท เป็นเงิน 1,500 บาท
  • ค่าสมุดปกอ่อน จำนวน 150 คน x 10 บาท เป็นเงิน 1,500 บาท
  • ค่าปากกา จำนวน 150 คน x 10 บาท เป็นเงิน 1,500 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
26300.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 26,300.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. เพื่อให้เครือข่ายสุขภาพภาคประชาชน มีความรู้ ความเข้าใจ ในการป้องกันโรคติดต่อที่เกิดขึ้นในพื้นที่
2. เพื่อส่งเสริมและสนับสนุน ให้ประชาชนสามารถป้องกันโรคด้วยตนเอง
3. เพื่อสร้างความตระหนักให้แก่ประชาชนในการเฝ้าระวังและป้องกันโรคติดต่อที่เกิดขึ้นในพื้นที่


>