กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ชะมวง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการค้นหาผู้ป่วยวัณโรครายใหม่ ปี 2568

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ชะมวง

ชมรม อสม.รพ.สต.บ้านศาลาตำเสา

1.นายวิชาญ เลาแก้วหนู
2.นางอุบล กั้งยอด
3.นายทำนอง ชินวงศ์
4.นางโสภา ขวัญแก้ว
5.นายวิชิต อินทร์บัว

พื้นที่รับผิดชอบ รพ.สต.บ้านศาลาตำเสา(ม.3 ม.12 ม.14 ม.15 และ ม.16)

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละการคัดกรองค้นหาผู้ป่วยรายใหม่ปี 2567 ยังต่ำกว่าเป้าหมาย

 

71.00

วัณโรคเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศไทยมาเป็นเวลานาน ซึ่งก่อให้เกิดผลเสียหายทางสังคมและเศรษฐกิจอย่างมากมาย อุบัติการณ์ของวัณโรคเคยลดลงอย่างช้า ๆ ในอดีต แต่ในระยะหลังนี้กลับเพิ่มขึ้น เนื่องจากการแพร่ระบาดของโรคเอดส์และการดื้อยา ดังนั้นกระทรวงสาธารณสุขจึงให้ความสำคัญแก่แผนงานวัณโรคแห่งชาติ เพื่อพัฒนายุทธศาสตร์ที่สำคัญในการควบคุมวัณโรค ปัจจุบัน วัณโรคยังเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศไทยแม้นปี 2559 องค์การอนามัยโลก(WHO ) จะกำหนดยุทธศาสตร์เพื่อยุติวัณโรค โดยมีเป้าหมายลดอุบัติการณ์วัณโรคให้ต่ำกว่า 10 ต่อแสนประชากรโลกภายในปี 2578 ขณะที่กระทรวงสาธารณสุขโดยสำนักงานวัณโรค กรมควบคุมโรคได้จัดทำแผนยุทธศาสตร์วัณโรคระดับชาติพ.ศ.2562-2565 เพื่อเป็นกรอบการดำเนินงานในการลดอุบัติการณ์วัณโรคไปสู่เป้าหมายยุติวัณโรคอุบัติการณ์ วัณโรคในประเทศไทยยังคงมีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้นเนื่องจากประชาชนยังขาดความตระหนัก รับรู้ และยังมองว่าไม่ร้ายแรงขณะที่องค์การอนามัยโลกได้จัดให้ประเทศไทยติดอันดับ14 ของโลกที่มีปัญหาวัณโรคสูงสำหรับสถานการณ์วัณโรคในประเทศไทย มีอัตราผู้ป่วย 156 ต่อแสนประชากร คาดว่าผู้ป่วยรายใหม่และกลับเป็นซ้ำกว่า 108,000 รายต่อปี ในส่วนของพื้นที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านศาลาตำเสา เป็นอีกพื้นที่หนึ่งที่มีปัญหาการระบาดของโรควัณโรคมาอย่างต่อเนื่องสถานการณ์โรควัณโรค ย้อนหลัง 3 ปี (2564 – 2566) พบผู้ป่วยวัณโรคจำนวน 2 , 2 และ 4 ราย ตามลำดับและยังพบอีกว่าอัตราความสำเร็จผู้ป่วยรักษาวัณโรครายใหม่มีแนวโน้มลงลงจากปัญหาดังกล่าวชมรมอสม.โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านศาลาตำเสา จึงได้จัดทำโครงการค้นหาผู้ป่วยวัณโรครายใหม่ ชมรม อสม.รพ.สต.บ้านศาลาตำเสา ปี2568 เพื่อค้นหาประชากรกลุ่มเสี่ยงต่อโรควัณโรคปอด อันจะนำไปสู่การเกิดโรคในอนาคต โรคพวกนี้เป็นปัญหาเรื้อรัง และสูญเสียงบประมาณในการดูแล การค้นหาตั้งแต่ในระยะเริ่มแรก เพื่อจะได้รับการดูแลตามมาตรฐาน คือ ในกลุ่มปกติให้คำแนะนำในการสร้างเสริมสุขภาพเพื่อให้มีสุขภาพที่ดียิ่งขึ้นและติดตามการคัดกรอง 1 ครั้ง/ปี กลุ่มที่พบผลการตรวจผิดปกติ ได้รับการส่งต่อไปรับการรักษาที่ถูกต้องที่โรงพยาบาล ส่งผลให้ประชาชนในเขตพื้นที่บริการมีสุขภาพร่างกายแข็งแรงไม่เป็นโรคมีคุณภาพชีวิตที่ดี

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ อสม.แกนนำวัณโรค มีความรู้ ความเข้าใจเรื่องของวัณโรคสามารถคัดกรองผู้ป่วยตามแนวทางได้ถูกต้อง

อสม.แกนนำวัณโรค มีความรู้เกี่ยวกับโรควัณโรคและสามารถคัดกรองตามแบบคัดกรองได้ถุกต้อง

30.00 30.00
2 เพื่อให้ประชาชนทั่วไปมีความรู้ความเข้าใจเรื่องวัณโรคและให้ความร่วมมือคัดกรอง

ร้อยละของประชาชนทั่วไปมีความรู้ความเข้าใจเรื่องโรควัณโรคและเข้ารับการคัดกรองตามนัด

146.00 125.00
3 เพื่อป้องกันวัณโรครู้เร็วรักษาหายไม่แพร่กระจายในชุมชน

ร้อยละของประชาชนทั่วไปที่ได้รับการคัดกรอง มีอาการสงสัยป่วยวัณโรคได้รับการส่งต่อเพื่อตรวจเอกซเรย์ปอด เพื่อยืนยันการวินิจฉัยโรคทุกราย

146.00 125.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ 673
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 351
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 146
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 03/02/2025

กำหนดเสร็จ 19/09/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 จัดอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับโรควัณโรคแก่ อสม.และประชาชนทั่วไป

ชื่อกิจกรรม
จัดอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับโรควัณโรคแก่ อสม.และประชาชนทั่วไป
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดอบรมให้ความรู้ อสม.และประชาชนทั่วไปในเขตพื้นที่รับผิดชอบ 5 หมู่บ้าน ณ รพ.สต.บ้านศาลาตำเสา โดยมีกิจกรรมดังนี้
1. จัดอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับโรควัณโรค
2. วิเคราะห์และประเมินสถานการณ์ที่เป็นจริงของชุมชน มีโอกาสเสี่ยงอย่างไร ในกลุ่มเสี่ยงใด สถานที่แหล่งชุมชนที่เสี่ยง มีการแพร่ระบาดอย่างไร การป้องกันอย่างไร
ค่าใช้จ่าย
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มผู้เข้าอบรมและผู้จัด จำนวน 176 คนๆ ละ 25 บาท เป็นเงิน 4400 บาท - ค่าสมนาคุณวิทยากรบรรยาย 2 วัน ๆละ 3 ชั่วโมง ชั่วโมงละ 600 บาท เป็นเงิน 3,600 บาท - ค่าวัสดุและเอกสารที่ใช้ในการอบรมเป็นเงิน 1,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
27 กุมภาพันธ์ 2568 ถึง 27 กุมภาพันธ์ 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต กลุ่มเป้าหมายมีความรู้เกี่ยวกับโรควัณโรค
ผลลัพธ์ กลุ่มเป้าหมายสามารถคัดกรองค้นหาผู้ป่วยรายใหม่ได้อย่างถูกต้อง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
9000.00

กิจกรรมที่ 2 อสม.แกนนำวัณโรคลงพื้นที่สำรวจกลุ่มเป้าหมายตามแบบคัดกรอง

ชื่อกิจกรรม
อสม.แกนนำวัณโรคลงพื้นที่สำรวจกลุ่มเป้าหมายตามแบบคัดกรอง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

อสม.แกนนำวัณโรคลงพื้นที่สำรวจกลุ่มเป้าหมาย5 หมุู่บ้าน ตามแบบคัดกรองและสรุปผลการสำรวจเป็นรายหมู่บ้าน งบประมาณ
ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 30 คนX2มื้อX25 บาท เป็นเงิน 1500 บาท
ค่าอาหารกลางวัน 30 คนX1มื้อX70 บาท เป็นเงิน 2100 บาท ค่าถ่ายเอกสารแบบคัดกรอง 1200 แผ่นๆละ 0.50 บาท เป็นเงิน 600 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
3 มีนาคม 2568 ถึง 7 มีนาคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต 1.กลุ่มเสี่ยงวัณโรคสามารถเข้ารับบริการตรวจเอกซเรย์ปอดที่ รพ.ควนขนุน เพิ่มขึ้นร้อยละ 95 2.อสม.แกนนำวัณโรคสามารถคัดกรองวัณโรคด้วยแบบคัดกรองครอบคลุม  ร้อยละ  95 ผลลัพธ์ 1ส่งต่อกลุ่มเสี่ยงสูงทุกราย(อาการเข้าข่ายวัณโรค)ตรวจเอกซเรย์ปอดที่ รพ.ควนขนุน 2.ผู้ป่วยสงสัยได้รับการยืนยันวินิจฉัยทุกรายและเข้ารับการรักษาตามมาตรฐาน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
4200.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 13,200.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.การค้นหาและคัดกรองผู้ป่วยวัณโรคเชิงรุกมีศักยภาพเพิ่มขึ้น
2.ระบบการดูแลผู้ป่วยวัณโรคในชุมชนได้รับการพัฒนาและมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น
3.ชุมชนมีความตระหนักในการควบคุมป้องกันวัณโรคอย่างจริงจังและต่อเนื่อง


>