โครงการค้นหาผู้ป่วยวัณโรครายใหม่ ปี 2568
ชื่อโครงการ | โครงการค้นหาผู้ป่วยวัณโรครายใหม่ ปี 2568 |
รหัสโครงการ | 68-50105-02-08 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | กลุ่มหรือองค์กรประชาชน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | ชมรม อสม.รพ.สต.บ้านศาลาตำเสา |
วันที่อนุมัติ | 22 มกราคม 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 3 กุมภาพันธ์ 2568 - 19 กันยายน 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | |
งบประมาณ | 13,200.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางโสภา ขวัญแก้ว |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | |
ละติจูด-ลองจิจูด | place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มผู้สูงอายุ | 673 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ | ||
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง | 351 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง : |
||
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง | 146 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง : |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด | |||
---|---|---|---|---|
1 | ร้อยละการคัดกรองค้นหาผู้ป่วยรายใหม่ปี 2567 ยังต่ำกว่าเป้าหมาย | 71.00 |
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
วัณโรคเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศไทยมาเป็นเวลานาน ซึ่งก่อให้เกิดผลเสียหายทางสังคมและเศรษฐกิจอย่างมากมาย อุบัติการณ์ของวัณโรคเคยลดลงอย่างช้า ๆ ในอดีต แต่ในระยะหลังนี้กลับเพิ่มขึ้น เนื่องจากการแพร่ระบาดของโรคเอดส์และการดื้อยา ดังนั้นกระทรวงสาธารณสุขจึงให้ความสำคัญแก่แผนงานวัณโรคแห่งชาติ เพื่อพัฒนายุทธศาสตร์ที่สำคัญในการควบคุมวัณโรค ปัจจุบัน วัณโรคยังเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศไทยแม้นปี 2559 องค์การอนามัยโลก(WHO ) จะกำหนดยุทธศาสตร์เพื่อยุติวัณโรค โดยมีเป้าหมายลดอุบัติการณ์วัณโรคให้ต่ำกว่า 10 ต่อแสนประชากรโลกภายในปี 2578 ขณะที่กระทรวงสาธารณสุขโดยสำนักงานวัณโรค กรมควบคุมโรคได้จัดทำแผนยุทธศาสตร์วัณโรคระดับชาติพ.ศ.2562-2565 เพื่อเป็นกรอบการดำเนินงานในการลดอุบัติการณ์วัณโรคไปสู่เป้าหมายยุติวัณโรคอุบัติการณ์ วัณโรคในประเทศไทยยังคงมีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้นเนื่องจากประชาชนยังขาดความตระหนัก รับรู้ และยังมองว่าไม่ร้ายแรงขณะที่องค์การอนามัยโลกได้จัดให้ประเทศไทยติดอันดับ14 ของโลกที่มีปัญหาวัณโรคสูงสำหรับสถานการณ์วัณโรคในประเทศไทย มีอัตราผู้ป่วย 156 ต่อแสนประชากร คาดว่าผู้ป่วยรายใหม่และกลับเป็นซ้ำกว่า 108,000 รายต่อปี ในส่วนของพื้นที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านศาลาตำเสา เป็นอีกพื้นที่หนึ่งที่มีปัญหาการระบาดของโรควัณโรคมาอย่างต่อเนื่องสถานการณ์โรควัณโรค ย้อนหลัง 3 ปี (2564 – 2566) พบผู้ป่วยวัณโรคจำนวน 2 , 2 และ 4 ราย ตามลำดับและยังพบอีกว่าอัตราความสำเร็จผู้ป่วยรักษาวัณโรครายใหม่มีแนวโน้มลงลงจากปัญหาดังกล่าวชมรมอสม.โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านศาลาตำเสา จึงได้จัดทำโครงการค้นหาผู้ป่วยวัณโรครายใหม่ ชมรม อสม.รพ.สต.บ้านศาลาตำเสา ปี2568 เพื่อค้นหาประชากรกลุ่มเสี่ยงต่อโรควัณโรคปอด อันจะนำไปสู่การเกิดโรคในอนาคต โรคพวกนี้เป็นปัญหาเรื้อรัง และสูญเสียงบประมาณในการดูแล การค้นหาตั้งแต่ในระยะเริ่มแรก เพื่อจะได้รับการดูแลตามมาตรฐาน คือ ในกลุ่มปกติให้คำแนะนำในการสร้างเสริมสุขภาพเพื่อให้มีสุขภาพที่ดียิ่งขึ้นและติดตามการคัดกรอง 1 ครั้ง/ปี กลุ่มที่พบผลการตรวจผิดปกติ ได้รับการส่งต่อไปรับการรักษาที่ถูกต้องที่โรงพยาบาล ส่งผลให้ประชาชนในเขตพื้นที่บริการมีสุขภาพร่างกายแข็งแรงไม่เป็นโรคมีคุณภาพชีวิตที่ดี
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อให้ อสม.แกนนำวัณโรค มีความรู้ ความเข้าใจเรื่องของวัณโรคสามารถคัดกรองผู้ป่วยตามแนวทางได้ถูกต้อง อสม.แกนนำวัณโรค มีความรู้เกี่ยวกับโรควัณโรคและสามารถคัดกรองตามแบบคัดกรองได้ถุกต้อง |
30.00 | 30.00 |
2 | เพื่อให้ประชาชนทั่วไปมีความรู้ความเข้าใจเรื่องวัณโรคและให้ความร่วมมือคัดกรอง ร้อยละของประชาชนทั่วไปมีความรู้ความเข้าใจเรื่องโรควัณโรคและเข้ารับการคัดกรองตามนัด |
146.00 | 125.00 |
3 | เพื่อป้องกันวัณโรครู้เร็วรักษาหายไม่แพร่กระจายในชุมชน ร้อยละของประชาชนทั่วไปที่ได้รับการคัดกรอง มีอาการสงสัยป่วยวัณโรคได้รับการส่งต่อเพื่อตรวจเอกซเรย์ปอด เพื่อยืนยันการวินิจฉัยโรคทุกราย |
146.00 | 125.00 |
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรม | 0 | 13,200.00 | 0 | 0.00 | |
27 ก.พ. 68 | จัดอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับโรควัณโรคแก่ อสม.และประชาชนทั่วไป | 0 | 9,000.00 | - | ||
3 - 7 มี.ค. 68 | อสม.แกนนำวัณโรคลงพื้นที่สำรวจกลุ่มเป้าหมายตามแบบคัดกรอง | 0 | 4,200.00 | - |
1.การค้นหาและคัดกรองผู้ป่วยวัณโรคเชิงรุกมีศักยภาพเพิ่มขึ้น 2.ระบบการดูแลผู้ป่วยวัณโรคในชุมชนได้รับการพัฒนาและมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น 3.ชุมชนมีความตระหนักในการควบคุมป้องกันวัณโรคอย่างจริงจังและต่อเนื่อง
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 19 พ.ย. 2567 09:26 น.