กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กะลุวอ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการบริหารจัดการขยะมูลฝอยอย่างยั่งยืน

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กะลุวอ

ตำบลกะลุวอ และโรงเรียนในเขตตำบลกะลุวอ

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานขยะ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ปริมาณขยะของครัวเรือนทั้งหมดในชุมชนต่อวัน

 

3.50

นับตั้งแต่อดีตมาสู่ปัจจุบัน ปัญหาขยะมูลฝอยเป็นปัญหาสำคัญที่อยู่คู่กับสังคมไทยมายาวนานและนับวันยิ่งมีแนวโน้มทวีความรุนแรงมากขึ้น สาเหตุเนื่องมาจากการเพิ่มขึ้นของปริมาณขยะมูลฝอยทุกปี ตามอัตราการเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากร การขยายตัวทางเศรษฐกิจ และการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในการอุปโภคบริโภคของประชาชน เป็นต้น องค์การบริหารส่วนตำบลกะลุวอ ก็กำลังประสบปัญหาในด้านการบริหารจัดการขยะเช่นเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็นปริมาณขยะที่เพิ่มมากขึ้นตามจำนวนประชากร ปัญหาการทิ้งขยะไม่เป็นที่ และปัญหาขยะตกค้างต่างๆ ดังนั้นแนวทางแก้ไขปัญหาขยะมูลฝอยในระยะยาวจะต้องสนับสนุนและขยายผลให้ประชาชนลดปริมาณการเกิดขยะมูลฝอยจากบ้านเรือนโดยหลักการ 3Rs (Reduce Reuse and Recycle) และสามารถคัดแยกขยะในครัวเรือนได้
ในการนี้ องค์การบริหารส่วนตำบลกะลุวอ จึงได้จัดทำโครงการบริหารจัดการขยะมูลฝอยอย่างยั่งยืน เพื่อสร้างความตระหนักและการมีส่วนร่วมของเยาวชนและประชาชนในการลดปริมาณขยะมูลฝอยและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อแก้ปัญหาด้านการสาธารณสุขและอนามัยสิ่งแวดล้อมให้ประชาชนมีสุขภาพอนามัยที่ดีขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดปริมาณขยะของครัวเรือนทั้งหมดในชุมชนต่อวัน

ปริมาณขยะของครัวเรือนทั้งหมดในชุมชนต่อวัน (ตัน)

3.50 3.00
2 เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจในการลดปริมาณขยะ ตามหลัก 3Rs

ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจในการลดปริมาณขยะ ตามหลัก 3Rs

60.00 60.00
3 เพื่อให้ประชาชนสามารถคัดแยกขยะได้ถูกประเภทและสามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้อย่างคุ้มค่า

ประชาชนสามารถคัดแยกขยะได้ถูกประเภทและสามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้อย่างคุ้มค่า

60.00 60.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 240
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 60
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 03/02/2025

กำหนดเสร็จ 30/09/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมอบรมให้ความรู้แก่ประชาชน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมอบรมให้ความรู้แก่ประชาชน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รายละเอียดกิจกรรม 1.เขียนโครงการและขออนุมัติโครงการ เพื่อของบประมาณสนับสนุน 2.ประชุมชี้แจงเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องทราบและวางแผนการดำเนินงาน 3.ดำเนินการจัดงานตามโครงการ
- อบรมให้ความรู้เรื่องการจัดการขยะ ตามหลัก 3Rs (Reduce Reuse and Recycle) - สาธิตวิธีการจัดทำ “ถังขยะอินทรีย์หรือขยะเปียกครัวเรือน”
4.สรุปผลการดำเนินโครงการและประเมินผลโครงการ งบประมาณ
1.ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 6 ชั่วโมงๆละ 600 บาท เป็นเงิน 3,600 บาท 2.ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 60 กล่องๆละ 60 บาท เป็นเงิน 3,600 บาท 3.ค่าอาหารว่างพร้อมเครื่องดื่ม จำนวน 60 คนๆละ 2 มื้อๆละ 25 บาท เป็นเงิน 3,000 บาท 4.ค่ากระเป๋าพร้อม จำนวน 60 ใบๆละ 65 บาท เป็นเงิน 3,900 บาท 5.ค่าสมุด จำนวน 60 เล่มๆละ 5 บาท เป็นเงิน 300 บาท 6.ค่าปากกา จำนวน 60 ด้ามๆละ 7 บาท เป็นเงิน 420 บาท 7.ค่าป้ายไวนิลโครงการ ขนาด 1 x 3 เมตร จำนวน 1 ป้าย เป็นเงิน 750 บาท 8.ค่าวัสดุอุปกรณ์ในการอบรมเชิงปฏิบัติการ (สาธิตการจัดทำถังขยะอินทรีย์หรือขยะเปียกครัวเรือน) - ค่าถัง จำนวน 60 ใบละๆ 35 บาท เป็นเงิน 2,100 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
3 กุมภาพันธ์ 2568 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
17670.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมพัฒนาศักยภาพแกนนำการจัดการขยะในโรงเรียน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมพัฒนาศักยภาพแกนนำการจัดการขยะในโรงเรียน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.เสนอโครงการเพื่อขออนุมัติโครงการจากกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลกะลุวอ
2.ประสานงานกับโรงเรียนในเขตพื้นที่ตำบลกะลุวอ 3.ประชุมชี้แจงเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องทราบและวางแผนการดำเนินงาน
4.ดำเนินกิจกรรม - อบรมให้ความรู้เรื่องการจัดการขยะตามหลัก 3Rs (Reduce Reuse and Recycle) 5.สรุปผลการดำเนินโครงการและประเมินผลโครงการ งบประมาณ 1.ค่าอาหารว่างพร้อมเครื่องดื่ม จำนวน 6 โรงเรียนๆละ 40 คนๆละ 1 มื้อๆละ 25 บาท เป็นเงิน 6,000 บาท 2.ค่ากระเป๋าพร้อม จำนวน 240 ใบๆละ 65 บาท เป็นเงิน 15,600 บาท 5.ค่าสมุด จำนวน 240 เล่มๆละ 5 บาท เป็นเงิน 1,200 บาท 6.ค่าปากกา จำนวน 240 ด้ามๆละ 7 บาท เป็นเงิน 1,680 บาท 7.ค่าป้ายไวนิลโครงการ ขนาด 1 x 3 เมตร จำนวน 1 ป้าย เป็นเงิน 750 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
3 กุมภาพันธ์ 2568 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
25230.00

กิจกรรมที่ 3 การจัดการขยะอันตราย

ชื่อกิจกรรม
การจัดการขยะอันตราย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รายละเอียดกิจกรรม 1.รวบรวมขยะอันตราย เพื่อส่งต่อให้องค์การบริหารส่วนจังหวัดนราธิวาสนำไปกำจัดให้ถูกหลักตามวิชาการ

งบประมาณ 1.ตู้ทิ้งขยะอันตรายจำนวน 1 ชิ้น ราคา 15,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2568 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
15000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 57,900.00 บาท

หมายเหตุ :
สามารถถัวเฉลี่ยได้ทุกรายการ

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ประชาชนมีความรู้ในการลดปริมาณขยะ ตามหลัก 3Rs สามารถคัดแยกขยะมูลฝอยและจัดการขยะได้อย่างถูกวิธี
2.ประชาชนมีส่วนร่วมในการจัดการขยะมูลฝอยและมีพฤติกรรมในการคัดแยกขยะมูลฝอยที่ดีขึ้น
3.ปริมาณขยะลดลง


>