โครงการบริหารจัดการขยะมูลฝอยอย่างยั่งยืน
ชื่อโครงการ | โครงการบริหารจัดการขยะมูลฝอยอย่างยั่งยืน |
รหัสโครงการ | 68-L2490-1-03 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | งานสาธารณสุข สำนักปลัด องค์การบริหารส่วนตำบลกะลุวอ |
วันที่อนุมัติ | 11 กุมภาพันธ์ 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 3 กุมภาพันธ์ 2568 - 30 กันยายน 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 30 กันยายน 2568 |
งบประมาณ | 57,900.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางสาวฟาตีฮะ อาแว |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลกะลุวอ อำเภอเมืองนราธิวาส จังหวัดนราธิวาส |
ละติจูด-ลองจิจูด | place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน | 240 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ | ||
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง | 60 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง : |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด | |||
---|---|---|---|---|
1 | ปริมาณขยะของครัวเรือนทั้งหมดในชุมชนต่อวัน | 3.50 |
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
นับตั้งแต่อดีตมาสู่ปัจจุบัน ปัญหาขยะมูลฝอยเป็นปัญหาสำคัญที่อยู่คู่กับสังคมไทยมายาวนานและนับวันยิ่งมีแนวโน้มทวีความรุนแรงมากขึ้น สาเหตุเนื่องมาจากการเพิ่มขึ้นของปริมาณขยะมูลฝอยทุกปี ตามอัตราการเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากร การขยายตัวทางเศรษฐกิจ และการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในการอุปโภคบริโภคของประชาชน เป็นต้น องค์การบริหารส่วนตำบลกะลุวอ ก็กำลังประสบปัญหาในด้านการบริหารจัดการขยะเช่นเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็นปริมาณขยะที่เพิ่มมากขึ้นตามจำนวนประชากร ปัญหาการทิ้งขยะไม่เป็นที่ และปัญหาขยะตกค้างต่างๆ ดังนั้นแนวทางแก้ไขปัญหาขยะมูลฝอยในระยะยาวจะต้องสนับสนุนและขยายผลให้ประชาชนลดปริมาณการเกิดขยะมูลฝอยจากบ้านเรือนโดยหลักการ 3Rs (Reduce Reuse and Recycle) และสามารถคัดแยกขยะในครัวเรือนได้ ในการนี้ องค์การบริหารส่วนตำบลกะลุวอ จึงได้จัดทำโครงการบริหารจัดการขยะมูลฝอยอย่างยั่งยืน เพื่อสร้างความตระหนักและการมีส่วนร่วมของเยาวชนและประชาชนในการลดปริมาณขยะมูลฝอยและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อแก้ปัญหาด้านการสาธารณสุขและอนามัยสิ่งแวดล้อมให้ประชาชนมีสุขภาพอนามัยที่ดีขึ้น
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อลดปริมาณขยะของครัวเรือนทั้งหมดในชุมชนต่อวัน ปริมาณขยะของครัวเรือนทั้งหมดในชุมชนต่อวัน (ตัน) |
3.50 | 3.00 |
2 | เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจในการลดปริมาณขยะ ตามหลัก 3Rs ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจในการลดปริมาณขยะ ตามหลัก 3Rs |
60.00 | 60.00 |
3 | เพื่อให้ประชาชนสามารถคัดแยกขยะได้ถูกประเภทและสามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้อย่างคุ้มค่า ประชาชนสามารถคัดแยกขยะได้ถูกประเภทและสามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้อย่างคุ้มค่า |
60.00 | 60.00 |
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรม | 0 | 57,900.00 | 0 | 0.00 | |
1 ม.ค. 68 - 30 ก.ย. 68 | การจัดการขยะอันตราย | 0 | 15,000.00 | - | ||
3 ก.พ. 68 - 30 ก.ย. 68 | กิจกรรมอบรมให้ความรู้แก่ประชาชน | 0 | 17,670.00 | - | ||
3 ก.พ. 68 - 30 ก.ย. 68 | กิจกรรมพัฒนาศักยภาพแกนนำการจัดการขยะในโรงเรียน | 0 | 25,230.00 | - |
1.ประชาชนมีความรู้ในการลดปริมาณขยะ ตามหลัก 3Rs สามารถคัดแยกขยะมูลฝอยและจัดการขยะได้อย่างถูกวิธี 2.ประชาชนมีส่วนร่วมในการจัดการขยะมูลฝอยและมีพฤติกรรมในการคัดแยกขยะมูลฝอยที่ดีขึ้น 3.ปริมาณขยะลดลง
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 21 พ.ย. 2567 00:00 น.