กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.มะรือโบออก

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมสุขภาพวิถีไทย ด้วยสมุนไพรใกล้ตัว

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.มะรือโบออก

โรงเรียนบ้านจูโวะ

โรงเรียนบ้านจูโวะ

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนอนามัยและสิ่งแวดล้อม

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

หลักการและเหตุผล

ปัจจุบัน มีการนำสมุนไพรทั้งที่เป็นสมุนไพรเดี่ยวและชนิดที่ปรุงเป็นตำรับยา มาใช้รักษาอาการเจ็บป่วยขั้นพื้นฐานเพื่อทดแทนยาแผนปัจจุบันอย่างได้ผลลัพธ์ในทางที่ดี อีกทั้ง ยังครอบคลุม อาการเจ็บป่วยได้หลายๆ ระบบ เช่น ระบบทางเดินอาหาร ระบบทางเดินหายใจ ระบบผิวหนัง และ ระบบทางเดินปัสสาวะ เป็นต้น สืบเนื่องจากประเทศไทยมีการปลูกพืชสมุนไพรหลากหลายชนิดในทุกๆ เขตพื้นที่ สมุนไพรบางชนิดหาได้ง่ายและราคาถูก อีกทั้งยังผ่านการศึกษาค้นคว้าและวิจัย เพื่อรองรับองค์ความรู้อย่างจริงจังว่า ให้ผลลัพธ์ที่ดีในส่วนของการรักษาอาการเจ็บป่วย นำมาใช้ได้ง่าย และมีความปลอดภัยต่อสุขภาพประชาชน ซึ่งนับว่าเป็นการส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น นับเป็นการนำหลักเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้อย่างแท้จริง
ภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย และการแพทย์พื้นบ้าน เป็นส่วนสำคัญที่ทำให้คนไทยตั้งแต่บรรพบุรุษมีสุขภาพที่แข็งแรงสมบูรณ์ และสามารถต่อสู้กับโรคภัยต่าง ๆได้ แต่ในปัจจุบันภูมิปัญญาการแพทย์อันมีค่าเหล่านี้ได้ลางเลือนไปกับกาลเวลา ประชาชนต้องพึ่งหมอและโรงพยาบาลมากขึ้น ขาดการดูแลสุขภาพโดยการพึ่งพาตนเอง การแพทย์แผนไทยเป็นหนทางหนึ่งที่ช่วยเสริมสร้างสุขภาพให้กับคนในชุมชนได้แบบปฐมภูมิ มีความสอดคล้องกับวิถีชีวิตของคนในสังคมไทย ประชาชนสามารถพึ่งพาตนเองได้มากขึ้น
ดังนั้น โรงเรียนบ้านจูโวะ จึงได้จัดทำโครงการ “ส่งเสริมสุขภาพวิถีไทย ด้วยสมุนไพรใกล้ตัว ” โดยมีการอบรมการทำผลิตภัณฑ์จากสมุนไพรใกล้ตัว เช่น ยาดมสมุนไพร พิมเสนน้ำ น้ำยาล้างจาน ตำรับยาสมุนไพรรักษาอาการป่วยเบื้องต้น ฯลฯ และวิธีการดูแลสุขภาพเบื้องต้นตามแนวทางการแพทย์แผนไทย เช่น อาหารเพื่อสุขภาพ เป็นต้น ช่วยส่งเสริมให้นักเรียนมีความเข้าใจในการแพทย์แผนไทย มองเห็นคุณค่าของยาไทย สมุนไพรไทย ที่มีอยู่มากมายในชุมชนของตนเอง และรู้จักเลือกสรรนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อสุขภาพ เกิดประโยชน์ต่อการส่งเสริมอาชีพสามารถต่อยอดเป็นอาชีพเสริมรายได้หลักของชุมชน มีแนวทางในการดูแลสุขภาพของตนเองและบุคคลในครอบครัวตามแนวทางการแพทย์แผนไทยเพื่อประชาชนคนไทยมีสุขภาพที่ดีถ้วนหน้า

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้มีความรู้เกี่ยวกับเรื่องสมุนไพร

นักเรียน ร้อยละ 90 มีความรู้เกี่ยวกับเรื่องสมุนไพร

90.00 50.00
2 เพื่อให้นักเรียนสามารถนำสมุนไพรไปรักษาโรคได้

นักเรียน ร้อยละ 85 สามารถนำสมุนไพรไปรักษาโรคได้

90.00 50.00
3 เพื่อให้นักเรียนมีสุขภาพกายและสุขภาพใจที่ดี

นักเรียนมีสุขภาพกายและสุขภาพใจที่ดีร้อยละ 90

90.00 50.00
4 เพื่อให้นักเรียนมีสุขภาพกายและสุขภาพใจที่ดี

นักเรียนมีสุขภาพกายและสุขภาพใจที่ดีร้อยละ 90

90.00 50.00

1. นักเรียนมีความรู้เกี่ยวกับเรื่องสมุนไพร
2. นักเรียนสามารถนำสมุนไพรไปรักษาโรคได้
3. นักเรียนมีสุขภาพกายและสุขภาพใจที่ดี

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 90
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 16/05/2025

กำหนดเสร็จ 30/09/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับสมุนไพรไทย

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับสมุนไพรไทย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ค่าอาหารว่างพร้อมเครื่องดื่มสำหรับผู้เข้า
รับการอบรม จำนวน90 คน คนละ 25 บาท 2 มื้อ เป็นเงิน4,500 บาท 2.ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 5ชั่วโมง ชั่วโมงละ 600 บาท เป็นเงิน 3,000 บาท 3. ค่าสมุด จำนวน 90 เล่ม เล่มละ 10 บาทเป็นเงิน900 บาท 4.ค่าปากกาจำนวน 90ด้าม ด้ามละ
5 บาทเป็นเงิน450บาท 5. ค่าจัดทำป้ายโครงการ ขนาด 1 x 2 เมตร ตารางเมตรๆละ 250 บาท เป็นเงิน500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2568 ถึง 31 กรกฎาคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. นักเรียน  ร้อยละ 90 มีความรู้เกี่ยวกับเรื่องสมุนไพร
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
9350.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมที่ 2 อบรมเชิงปฏิบัติการการส่งเสริมสุขภาพด้วยยสมุนไพร - ฐานที่ 1 กำจัดเหาด้วยใบน้อยหน่า - ฐานที่ 2 น้ำยาล้างจานจากสมุนไพร - ฐานที่ 3 ยาจุดกันยุงจากตะไคร้หอม - ฐานที่ 4 น้ำสมุนไพรเพื่อสุขภาพ

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 2 อบรมเชิงปฏิบัติการการส่งเสริมสุขภาพด้วยยสมุนไพร - ฐานที่ 1 กำจัดเหาด้วยใบน้อยหน่า - ฐานที่ 2 น้ำยาล้างจานจากสมุนไพร - ฐานที่ 3 ยาจุดกันยุงจากตะไคร้หอม - ฐานที่ 4 น้ำสมุนไพรเพื่อสุขภาพ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. หัวเชื้อทำน้ำยาล้างจาน จำนวน ๑ ชุด เป็นเงิน 219 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2568 ถึง 31 กรกฎาคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. นักเรียน ร้อยละ 85 สามารถนำสมุนไพรไปรักษาโรคได้
  2. นักเรียนมีสุขภาพกายและสุขภาพใจที่ดีร้อยละ 90
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
219.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 9,569.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. นักเรียนมีความรู้เกี่ยวกับเรื่องสมุนไพร
2. นักเรียนสามารถนำสมุนไพรไปรักษาโรคได้
3. นักเรียนมีสุขภาพกายและสุขภาพใจที่ดี


>