โครงการส่งเสริมสุขภาพวิถีไทย ด้วยสมุนไพรใกล้ตัว
ชื่อโครงการ | โครงการส่งเสริมสุขภาพวิถีไทย ด้วยสมุนไพรใกล้ตัว |
รหัสโครงการ | 68-L2480-2-03 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | โรงเรียนบ้านจูโวะ |
วันที่อนุมัติ | 24 กันยายน 2567 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 16 พฤษภาคม 2568 - 30 กันยายน 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | |
งบประมาณ | 9,569.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางสาวอาอีเส๊าะ มูซอ |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลมะรือโบออก อำเภอเจาะไอร้อง จังหวัดนราธิวาส |
ละติจูด-ลองจิจูด | place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน | 90 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
หลักการและเหตุผล
ปัจจุบัน มีการนำสมุนไพรทั้งที่เป็นสมุนไพรเดี่ยวและชนิดที่ปรุงเป็นตำรับยา มาใช้รักษาอาการเจ็บป่วยขั้นพื้นฐานเพื่อทดแทนยาแผนปัจจุบันอย่างได้ผลลัพธ์ในทางที่ดี อีกทั้ง ยังครอบคลุม อาการเจ็บป่วยได้หลายๆ ระบบ เช่น ระบบทางเดินอาหาร ระบบทางเดินหายใจ ระบบผิวหนัง และ ระบบทางเดินปัสสาวะ เป็นต้น สืบเนื่องจากประเทศไทยมีการปลูกพืชสมุนไพรหลากหลายชนิดในทุกๆ เขตพื้นที่ สมุนไพรบางชนิดหาได้ง่ายและราคาถูก อีกทั้งยังผ่านการศึกษาค้นคว้าและวิจัย เพื่อรองรับองค์ความรู้อย่างจริงจังว่า ให้ผลลัพธ์ที่ดีในส่วนของการรักษาอาการเจ็บป่วย นำมาใช้ได้ง่าย และมีความปลอดภัยต่อสุขภาพประชาชน ซึ่งนับว่าเป็นการส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น นับเป็นการนำหลักเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้อย่างแท้จริง
ภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย และการแพทย์พื้นบ้าน เป็นส่วนสำคัญที่ทำให้คนไทยตั้งแต่บรรพบุรุษมีสุขภาพที่แข็งแรงสมบูรณ์ และสามารถต่อสู้กับโรคภัยต่าง ๆได้ แต่ในปัจจุบันภูมิปัญญาการแพทย์อันมีค่าเหล่านี้ได้ลางเลือนไปกับกาลเวลา ประชาชนต้องพึ่งหมอและโรงพยาบาลมากขึ้น ขาดการดูแลสุขภาพโดยการพึ่งพาตนเอง การแพทย์แผนไทยเป็นหนทางหนึ่งที่ช่วยเสริมสร้างสุขภาพให้กับคนในชุมชนได้แบบปฐมภูมิ มีความสอดคล้องกับวิถีชีวิตของคนในสังคมไทย ประชาชนสามารถพึ่งพาตนเองได้มากขึ้น
ดังนั้น โรงเรียนบ้านจูโวะ จึงได้จัดทำโครงการ “ส่งเสริมสุขภาพวิถีไทย ด้วยสมุนไพรใกล้ตัว ” โดยมีการอบรมการทำผลิตภัณฑ์จากสมุนไพรใกล้ตัว เช่น ยาดมสมุนไพร พิมเสนน้ำ น้ำยาล้างจาน ตำรับยาสมุนไพรรักษาอาการป่วยเบื้องต้น ฯลฯ และวิธีการดูแลสุขภาพเบื้องต้นตามแนวทางการแพทย์แผนไทย เช่น อาหารเพื่อสุขภาพ เป็นต้น ช่วยส่งเสริมให้นักเรียนมีความเข้าใจในการแพทย์แผนไทย มองเห็นคุณค่าของยาไทย สมุนไพรไทย ที่มีอยู่มากมายในชุมชนของตนเอง และรู้จักเลือกสรรนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อสุขภาพ เกิดประโยชน์ต่อการส่งเสริมอาชีพสามารถต่อยอดเป็นอาชีพเสริมรายได้หลักของชุมชน มีแนวทางในการดูแลสุขภาพของตนเองและบุคคลในครอบครัวตามแนวทางการแพทย์แผนไทยเพื่อประชาชนคนไทยมีสุขภาพที่ดีถ้วนหน้า
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อให้มีความรู้เกี่ยวกับเรื่องสมุนไพร นักเรียน ร้อยละ 90 มีความรู้เกี่ยวกับเรื่องสมุนไพร |
90.00 | 50.00 |
2 | เพื่อให้นักเรียนสามารถนำสมุนไพรไปรักษาโรคได้ นักเรียน ร้อยละ 85 สามารถนำสมุนไพรไปรักษาโรคได้ |
90.00 | 50.00 |
3 | เพื่อให้นักเรียนมีสุขภาพกายและสุขภาพใจที่ดี นักเรียนมีสุขภาพกายและสุขภาพใจที่ดีร้อยละ 90 |
90.00 | 50.00 |
4 | เพื่อให้นักเรียนมีสุขภาพกายและสุขภาพใจที่ดี นักเรียนมีสุขภาพกายและสุขภาพใจที่ดีร้อยละ 90 |
90.00 | 50.00 |
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรม | 0 | 9,569.00 | 0 | 0.00 | |
1 - 31 ก.ค. 68 | กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับสมุนไพรไทย | 0 | 9,350.00 | - | ||
1 - 31 ก.ค. 68 | กิจกรรมที่ 2 อบรมเชิงปฏิบัติการการส่งเสริมสุขภาพด้วยยสมุนไพร - ฐานที่ 1 กำจัดเหาด้วยใบน้อยหน่า - ฐานที่ 2 น้ำยาล้างจานจากสมุนไพร - ฐานที่ 3 ยาจุดกันยุงจากตะไคร้หอม - ฐานที่ 4 น้ำสมุนไพรเพื่อสุขภาพ | 0 | 219.00 | - |
- นักเรียนมีความรู้เกี่ยวกับเรื่องสมุนไพร
- นักเรียนสามารถนำสมุนไพรไปรักษาโรคได้
- นักเรียนมีสุขภาพกายและสุขภาพใจที่ดี
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 21 พ.ย. 2567 00:00 น.