แบบเสนอโครงการกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น
แบบจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลวังประจัน รหัส กปท. L5286
อำเภอควนโดน จังหวัดสตูล
ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2567 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 17 (2) "ให้พิจารณาอนุมัติโครงการ หรือกิจกรรม ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุนตามข้อ 10"
อาศัยอำนาจของประกาศ ฯ ข้อ 10 "เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ" จึงได้จัดทำแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ประจำปีงบประมาณ 2568 โดยมีรายละเอียด ดังนี้
นายอดิศักดิ์ หลีดินซุด
นางวนิดา ศรีริภาพ
นางอภิยา เหตุทอง
นส.เรวดี บุอีตำ
นส.สุกัญญา บูอีตำ
โรคเบาหวานเป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่มีอุบัติการณ์เพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ และเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญอันดับต้นๆในเกือบทุกประเทศทั่วโลก รวมทั้งประเทศไทย โดยพบว่าในปี 2558 มีประชากรเป็นเบาหวานทั่วโลกประมาณ 415 ล้านคนสาเหตุการเกิดโรคเบาหวานเกิดได้หลายปัจจัย ที่สำคัญคือสาเหตุจากกรรมพันธุ์ และความอ้วน โดยเฉพาะผู้ที่มีญาติสายตรงคือบิดา หรือมารดา โรคเบาหวานเป็นโรคที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ และร้อยละ 90 ของผู้ป่วยโรคเบาหวาน จะเป็นโรคเบาหวานชนิดไม่พึ่งอินซูลิน (สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ,2551) ปัจจัยเสริมที่ทำให้เสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวานมากขึ้นได้แก่ผู้ที่มีภาวะความดันโลหิตสูงไขมันในเส้นเลือดสูง ใช้ยาสเตียรอยด์อย่างไม่ถูกวิธี การละเลยต่อภาวการณ์เป็นโรคเบาหวาน ไม่ไปรักษา หรือรักษาไม่ถูกวิธี การดูแลตนเองไม่เหมาะสมด้านต่าง ๆ เช่น การรับประทานอาหาร การออกกำลังกาย การใช้ยา การรักษาต่อเนื่อง จะส่งผลทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนตามมา ได้แก่ โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคไต เบาหวานขึ้นตา แผลที่เท้า ต้องใช้เวลารักษาที่ต่อเนื่อง และยาวนาน นับเป็นปัญหาสำคัญด้านสาธารณสุขทั่วโลกในปัจจุบัน รวมทั้งประเทศไทย สมาพันธ์เบาหวานนานาชาติ (International Diabetes Federation: IDF)ได้ประมาณการว่ามีผู้ป่วยเบาหวานทั่วโลกแล้วกว่า 382 ล้านคนและคาดว่าในปี ค.ศ.2035 หากไม่มีการดำเนินการในการป้องกันและควบคุมที่มีประสิทธิภาพ จะมีผู้ป่วยเบาหวานทั่วโลกเพิ่มขึ้นมากกว่า 592 ล้านคน หรือใน 10 คน จะพบผู้ป่วยเบาหวาน 1 คน (สมาพันธ์เบาหวานนานาชาติ (International Diabetes Federation : IDF ,2558 ) จากรายงานของสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข พบว่า อัตราตายด้วยโรคเบาหวาน ต่อ ประชากรแสนคนในปี 2556 ,2557และ 2558เท่ากับ
14.93,17.53และ17.83 ตามลำดับเห็นได้ว่าอัตราตายด้วยโรคเบาหวานเพิ่มขึ้นทุกปี และจากการสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกายในประชากรไทย ครั้งที่ 5 (ปี 2557)พบว่าเพิ่มสูงขึ้นเป็นร้อยละ 8.8 คิดเป็น 4.8 ล้านคน นอกจากนี้ยังพบว่ามีผู้ป่วยเบาหวานถึงร้อยละ 76.5 ที่ควบคุมระดับน้ำตาลไม่ได้จากการดำเนินงานในคลินิกโรคเบาหวาน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านวังประจันพบว่าผู้ป่วยเบาหวานส่วนใหญ่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ ในปีงบประมาณ 2564,2565และ2566 ผู้ป่วยเบาหวานควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้เท่ากับร้อยละ 22.09,14.75 และ23.58ตามลำดับ (จากโปรแกรม HDC) เห็นได้ว่ามีแนวโน้มควบคุมได้มากขึ้นแต่ยังต่ำกว่าเกณฑ์
-
1. เพื่อพัฒนากระบวนการดูแลผู้ป่วยเบาหวานให้เข้าสูุุ่ระยะสงบตัวชี้วัด : ผู้ป่วยสามารถเข้าสู่ระยะสงบ ร้อยละ 10 ของผู้ป่วยรายใหม่ขนาดปัญหา เป้าหมาย 0.00
-
2. เพื่อให้ผู้ป่วยเบาหวานสามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ตัวชี้วัด : ผู้ป่วยเบาหวานควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ดี ร้อยละ 40ขนาดปัญหา เป้าหมาย 0.00
- 1. ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพผู้ป่วยเบาหวานอย่างเข้มงวด เพื่อให้นำไปสู่โรคเบาหวานระยะสงบรายละเอียด
กระบวนการดูแลหลักเพื่อนําไปสู่โรคเบาหวานระยะสงบ
โดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมอย่างเข้มงวด
การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมอย่างเข้มงวดเพื่อนํา ไปสู่โรคเบาหวานระยะสงบจะเน้นที่การจัดการด้าน การบริโภคอาหารและเครื่องดื่ม ร่วมกับการเพิ่มกิจกรรมทางกาย และการออกกําลังกาย เป็นเวลา 3 ถึง 6 เดือน โดยมีเป้าหมายให้ผู้ป่วยลดน้ําหนักลงได้ ร้อยละ 10-15 โดยปัจจุบันมีหลากหลายแนวทาง ที่มีหลักฐานทางวิชาการว่าสามารถช่วยให้เข้าสู่โรคเบาหวานระยะสงบได้ โดยในแนวทางนี้จะกล่าวถึง อาหารคาร์โบไฮเดรตต่ํา อาหารพลังงานต่ํา อาหารจากพืช และการอดอาหารเป็นช่วงเวลา และการ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมอย่างเข้มงวด
ค่าใช้จ่าย
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 65 คนๆละ2 มื้อๆละ30 บาทเป็นเงิน 3,900 บาท
- ค่าอาหารกลางวัน 65 คนๆละ1 มื้อๆละ60 บาทเป็นเงิน 3,900 บาท
- ค่าวิทยากร ชั่วโมงละ 500 บาท จำนวน 3 ชั่วโมง เป็นเงิน 1,500 บาทรวมเป็นเงิน 9,000 บาทงบประมาณ 9,300.00 บาท - 2. จัดทำโปรแกรมการจัดการตนเองในการรับประทานอาหารแบบจำกัดเวลารายละเอียด
การปรับเปลี่ยนอาหาร
• การเลือกชนิดของอาหารควรคํา นึงถึงความเหมาะสมกับวิถีชีวิต ฐานะเศรษฐกิจ และข้อจํา กัดด้านสุขภาพของผู้ป่วย เพื่อให้สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมได้อย่างต่อเนื่องยั่งยืนและปลอดภัย
• ในการปรับเปลี่ยนอาหารควรบริโภคโปรตีน 1.2-1.5 กรัมต่อน้ํา หนักตัว 1 กิโลกรัมต่อวันหรือ 0.8 กรัมต่อน้ํา หนักตัว 1 กิโลกรัมต่อวัน (ไม่เกิน 1.3 กรัมต่อน้ํา หนักตัว 1 กิโลกรัมต่อวัน) ในผู้ป่วยที่มีโรคไตเรื้อรัง เพื่อป้องกันการสูญเสียมวลกล้ามเนื้อ
• ให้รับประทานน้ํา ให้มากกว่า 2 ลิตรต่อวัน เพื่อป้องกันการขาดน้ํา
อาหารคาร์โบไฮเดรตต่ํา (low carbohydrate diet)อาหารคาร์โบไฮเดรตต่ํามี 2 ระดับคือ ระดับต่ํา (low) คือคาร์โบไฮเดรตต่ํา กว่า 130กรัมต่อวัน หรือน้อยกว่าร้อยละ 26 ของพลังงานต่อวัน และระดับต่ํา มาก (very low) คือรับประทานคาร์โบไฮเดรต 50 กรัมต่อวัน หรือน้อยกว่าร้อยละ 10 ของพลังงานต่อวัน และถ้าปริมาณคาร์โบไฮเดรต 20-50 กรัมต่อวันจะทํา ให้มีการสร้างสารคีโตนขึ้น ถือเป็นอาหารแบบคีโตเจนิค (ketogenic diet) อาหารคาร์โบไฮเดรตต่ํา ช่วยให้ควบคุมระดับน้ํา ตาลในเลือดได้ดีขึ้นและอาจทํา ให้เข้าสู่โรคเบาหวานระยะสงบได้ ช่วยลดน้ํา หนัก ลดความหิว ลดภาวะดื้ออินซูลินลดไขมันในตับและตับอ่อน ช่วยฟื้นการทํา งานของเบต้าเซลล์ในตับอ่อน ช่วยลดความดันโลหิต และลดระดับไตรกลีเซอไรด์ในเลือดได้ ผู้ป่วยควรได้รับการสอนการนับปริมาณคาร์โบไฮเดรตในอาหารและการอ่านฉลากโภชนาการงบประมาณ 0.00 บาท - 3. พัฒนากระบวนการดูแลผู้ป่วยเบาหวานในชุมชนรายละเอียด
จัดการอบรมเชิงปฏิบัติการ เกี่ยวกับการดูแลผู้ป่วยเบหวานในชุมชน ความรู้เรื่องโรคเบาหวาน อาการ การจัดการอาหาร การออกกำลังกาย แก่ ผู้ดูแลผู้ป่วยเบาหวาน
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 44 คนๆละ2 มื้อๆละ30 บาทเป็นเงิน 2,640 บาท
- ค่าอาหารกลางวัน 44 คนๆละ1 มื้อๆละ60 บาทเป็นเงิน 2,640 บาท
- ค่าวิทยากร ชั่วโมงละ 500 บาท จำนวน 3 ชั่วโมง เป็นเงิน 1,500 บาท
รวมเป็นเงิน 6,780 บาท
งบประมาณ 6,780.00 บาท
ตั้งแต่ วันที่ 20 มีนาคม 2568 ถึง 30 กันยายน 2568
หมู่ที่ 1,2,3 และหมู่ที่ 4 ตำบลวังประจัน อำเภอควนโดน จังหวัดสตูล 91160
รวมงบประมาณโครงการ 16,080.00 บาท
ผู้ป่วยเบาหวานสามารถลดยาได้ ผู้ป่วยเบาหวานสามารถดำเนินชีวิตได้ปกติ ไม่เกิดภาวะแทรกซ้อนเพิ่มขึ้น อสม.และผู้ดูแลสามารถดูแลผู้ป่วยเบาหวานได้
ข้าพเจ้า ................................................................ ตำแหน่ง.................................................... หน่วยงาน................................................................................ หมายเลขโทรศัพท์......................................................... ในฐานะของผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
ขอรับรองว่า แผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ที่เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ ในครั้งนี้
- check_box_outline_blank ไม่ได้ซ้ำซ้อนกับงบประมาณที่ได้รับจากแหล่งอื่น
- check_box_outline_blank สอดคล้องกับแผนสุขภาพชุมชน ของ กปท.
- check_box_outline_blank รับทราบถึงกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ และวิธีการดำเนินงานตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2567 และที่แก้ไขเพิ่มเติม แล้ว
(............................................................)
ตำแหน่ง ............................................................
วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................
- ให้เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ
(............................................................)
ตำแหน่ง ............................................................
วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................
แบบเสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลวังประจัน รหัส กปท. L5286
อำเภอควนโดน จังหวัดสตูล
ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2567 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 10 “เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ” นั้น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน ได้ดำเนินการจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม มาเพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณ กปท. ตามเอกสารแนบ
จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณาอนุมัติ
(...........................................................)
ตำแหน่ง ...............................................
วันที่-เดือน-พ.ศ. ......................................
แบบอนุมัติแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลวังประจัน รหัส กปท. L5286
อำเภอควนโดน จังหวัดสตูล
ตามมติการประชุมคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพ ครั้งที่ ....................... เมื่อวันที่ .................................................... สรุปผลการพิจารณาแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ดังนี้
(....................................................................)
ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบการประชุม
วันที่-เดือน-พ.ศ. ....................................................
ตำแหน่ง ....................................................................
วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................