2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
3. สถานการณ์
โรคเบาหวานเป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่มีอุบัติการณ์เพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ และเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญอันดับต้นๆในเกือบทุกประเทศทั่วโลก รวมทั้งประเทศไทย โดยพบว่าในปี 2558 มีประชากรเป็นเบาหวานทั่วโลกประมาณ 415 ล้านคนสาเหตุการเกิดโรคเบาหวานเกิดได้หลายปัจจัย ที่สำคัญคือสาเหตุจากกรรมพันธุ์ และความอ้วน โดยเฉพาะผู้ที่มีญาติสายตรงคือบิดา หรือมารดา โรคเบาหวานเป็นโรคที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ และร้อยละ 90 ของผู้ป่วยโรคเบาหวาน จะเป็นโรคเบาหวานชนิดไม่พึ่งอินซูลิน (สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ,2551) ปัจจัยเสริมที่ทำให้เสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวานมากขึ้นได้แก่ผู้ที่มีภาวะความดันโลหิตสูงไขมันในเส้นเลือดสูง ใช้ยาสเตียรอยด์อย่างไม่ถูกวิธี การละเลยต่อภาวการณ์เป็นโรคเบาหวาน ไม่ไปรักษา หรือรักษาไม่ถูกวิธี การดูแลตนเองไม่เหมาะสมด้านต่าง ๆ เช่น การรับประทานอาหาร การออกกำลังกาย การใช้ยา การรักษาต่อเนื่อง จะส่งผลทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนตามมา ได้แก่ โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคไต เบาหวานขึ้นตา แผลที่เท้า ต้องใช้เวลารักษาที่ต่อเนื่อง และยาวนาน นับเป็นปัญหาสำคัญด้านสาธารณสุขทั่วโลกในปัจจุบัน รวมทั้งประเทศไทย สมาพันธ์เบาหวานนานาชาติ (International Diabetes Federation: IDF)ได้ประมาณการว่ามีผู้ป่วยเบาหวานทั่วโลกแล้วกว่า 382 ล้านคนและคาดว่าในปี ค.ศ.2035 หากไม่มีการดำเนินการในการป้องกันและควบคุมที่มีประสิทธิภาพ จะมีผู้ป่วยเบาหวานทั่วโลกเพิ่มขึ้นมากกว่า 592 ล้านคน หรือใน 10 คน จะพบผู้ป่วยเบาหวาน 1 คน (สมาพันธ์เบาหวานนานาชาติ (International Diabetes Federation : IDF ,2558 ) จากรายงานของสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข พบว่า อัตราตายด้วยโรคเบาหวาน ต่อ ประชากรแสนคนในปี 2556 ,2557และ 2558เท่ากับ
14.93,17.53และ17.83 ตามลำดับเห็นได้ว่าอัตราตายด้วยโรคเบาหวานเพิ่มขึ้นทุกปี และจากการสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกายในประชากรไทย ครั้งที่ 5 (ปี 2557)พบว่าเพิ่มสูงขึ้นเป็นร้อยละ 8.8 คิดเป็น 4.8 ล้านคน นอกจากนี้ยังพบว่ามีผู้ป่วยเบาหวานถึงร้อยละ 76.5 ที่ควบคุมระดับน้ำตาลไม่ได้จากการดำเนินงานในคลินิกโรคเบาหวาน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านวังประจันพบว่าผู้ป่วยเบาหวานส่วนใหญ่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ ในปีงบประมาณ 2564,2565และ2566 ผู้ป่วยเบาหวานควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้เท่ากับร้อยละ 22.09,14.75 และ23.58ตามลำดับ (จากโปรแกรม HDC) เห็นได้ว่ามีแนวโน้มควบคุมได้มากขึ้นแต่ยังต่ำกว่าเกณฑ์
4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด
- บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
- ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
5. กลุ่มเป้าหมาย
6. ระยะเวลาดำเนินงาน
วันเริ่มต้น 20/03/2025
กำหนดเสร็จ 30/09/2025
7. วิธีการดำเนินงาน
- กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
- งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด
หมายเหตุ :
8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง
ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?ผู้ป่วยเบาหวานสามารถลดยาได้
ผู้ป่วยเบาหวานสามารถดำเนินชีวิตได้ปกติ ไม่เกิดภาวะแทรกซ้อนเพิ่มขึ้น
อสม.และผู้ดูแลสามารถดูแลผู้ป่วยเบาหวานได้