กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการกระบวนการดูแลผู้ป่วยเบาหวานเพื่อเข้าสู่ระยะสงบ (Diabetes Remission)
รหัสโครงการ 9
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รพ.สต.บ้านวังประจัน ตำบลวังประจัน อำเภอควนโดน จังหวัดสตูล 91160
วันที่อนุมัติ 25 ธันวาคม 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 20 มีนาคม 2568 - 30 กันยายน 2568
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2568
งบประมาณ 16,080.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายอดศักดิ์ หลีดินซุด
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลวังประจัน
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลได้ดี
31.73
2 ผู้ป่วยเบาหวานรายใหม่
11.00
3 กลุ่มเสี่ยงเบาหวาน
25.58

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคเบาหวานเป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่มีอุบัติการณ์เพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ และเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญอันดับต้นๆในเกือบทุกประเทศทั่วโลก รวมทั้งประเทศไทย โดยพบว่าในปี 2558 มีประชากรเป็นเบาหวานทั่วโลกประมาณ 415 ล้านคนสาเหตุการเกิดโรคเบาหวานเกิดได้หลายปัจจัย ที่สำคัญคือสาเหตุจากกรรมพันธุ์ และความอ้วน โดยเฉพาะผู้ที่มีญาติสายตรงคือบิดา หรือมารดา โรคเบาหวานเป็นโรคที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ และร้อยละ 90 ของผู้ป่วยโรคเบาหวาน จะเป็นโรคเบาหวานชนิดไม่พึ่งอินซูลิน (สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ,2551) ปัจจัยเสริมที่ทำให้เสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวานมากขึ้นได้แก่ผู้ที่มีภาวะความดันโลหิตสูงไขมันในเส้นเลือดสูง ใช้ยาสเตียรอยด์อย่างไม่ถูกวิธี การละเลยต่อภาวการณ์เป็นโรคเบาหวาน ไม่ไปรักษา หรือรักษาไม่ถูกวิธี การดูแลตนเองไม่เหมาะสมด้านต่าง ๆ เช่น การรับประทานอาหาร การออกกำลังกาย การใช้ยา การรักษาต่อเนื่อง จะส่งผลทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนตามมา ได้แก่ โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคไต เบาหวานขึ้นตา แผลที่เท้า ต้องใช้เวลารักษาที่ต่อเนื่อง และยาวนาน นับเป็นปัญหาสำคัญด้านสาธารณสุขทั่วโลกในปัจจุบัน รวมทั้งประเทศไทย สมาพันธ์เบาหวานนานาชาติ (International Diabetes Federation: IDF)ได้ประมาณการว่ามีผู้ป่วยเบาหวานทั่วโลกแล้วกว่า 382 ล้านคนและคาดว่าในปี ค.ศ.2035 หากไม่มีการดำเนินการในการป้องกันและควบคุมที่มีประสิทธิภาพ จะมีผู้ป่วยเบาหวานทั่วโลกเพิ่มขึ้นมากกว่า 592 ล้านคน หรือใน 10 คน จะพบผู้ป่วยเบาหวาน 1 คน (สมาพันธ์เบาหวานนานาชาติ (International Diabetes Federation : IDF ,2558 ) จากรายงานของสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข พบว่า อัตราตายด้วยโรคเบาหวาน ต่อ ประชากรแสนคนในปี 2556 ,2557และ 2558เท่ากับ 14.93,17.53และ17.83 ตามลำดับเห็นได้ว่าอัตราตายด้วยโรคเบาหวานเพิ่มขึ้นทุกปี และจากการสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกายในประชากรไทย ครั้งที่ 5 (ปี 2557)พบว่าเพิ่มสูงขึ้นเป็นร้อยละ 8.8 คิดเป็น 4.8 ล้านคน นอกจากนี้ยังพบว่ามีผู้ป่วยเบาหวานถึงร้อยละ 76.5 ที่ควบคุมระดับน้ำตาลไม่ได้จากการดำเนินงานในคลินิกโรคเบาหวาน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านวังประจันพบว่าผู้ป่วยเบาหวานส่วนใหญ่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ ในปีงบประมาณ 2564,2565และ2566 ผู้ป่วยเบาหวานควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้เท่ากับร้อยละ 22.09,14.75 และ23.58ตามลำดับ (จากโปรแกรม HDC) เห็นได้ว่ามีแนวโน้มควบคุมได้มากขึ้นแต่ยังต่ำกว่าเกณฑ์

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อพัฒนากระบวนการดูแลผู้ป่วยเบาหวานให้เข้าสูุุ่ระยะสงบ

ผู้ป่วยสามารถเข้าสู่ระยะสงบ ร้อยละ 10 ของผู้ป่วยรายใหม่

0.00
2 เพื่อให้ผู้ป่วยเบาหวานสามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้

ผู้ป่วยเบาหวานควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ดี ร้อยละ 40

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 16,080.00 0 0.00
20 มี.ค. 68 - 29 ส.ค. 68 กิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพผู้ป่วยเบาหวานอย่างเข้มงวด เพื่อให้นำไปสู่โรคเบาหวานระยะสงบ 0 9,300.00 -
20 มี.ค. 68 - 29 ส.ค. 68 จัดทำโปรแกรมการจัดการตนเองในการรับประทานอาหารแบบจำกัดเวลา 0 0.00 -
20 มี.ค. 68 - 29 ส.ค. 68 พัฒนากระบวนการดูแลผู้ป่วยเบาหวานในชุมชน 0 6,780.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ผู้ป่วยเบาหวานสามารถลดยาได้ ผู้ป่วยเบาหวานสามารถดำเนินชีวิตได้ปกติ ไม่เกิดภาวะแทรกซ้อนเพิ่มขึ้น อสม.และผู้ดูแลสามารถดูแลผู้ป่วยเบาหวานได้

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 23 พ.ย. 2567 15:48 น.