แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนหลักประกันสุขภาพ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองบ้านพรุ
1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม
โครงการรณรงค์ป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกและโรคที่มียุงลายเป็นพาหะ ประจำปี 2568ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา
กองทุนหลักประกันสุขภาพ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองบ้านพรุ
งานป้องกันและควบคุมโรคติดต่อ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลเมืองบ้านพรุ
พื้นที่เขตเทศบาลเมืองบ้านพรุ
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
3. สถานการณ์
หลักการและเหตุผล
โรคไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อซึ่งมียุงลายบ้านและยุงลายสวนเป็นแมลงพาหะนำโรคที่สำคัญ การระบาดของโรคไข้เลือดออกเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องตลอดทั้งปี โดยเฉพาะในช่วงฤดูฝนจะพบผู้ป่วยเป็นจำนวนมาก เนื่องจากฝนที่ตกลงมา ทำให้เกิดน้ำขังในภาชนะต่าง ๆ จึงเป็นแหล่งเพาะพันธุ์เพิ่มจำนวนประชากรของยุงลายพาหะนำโรคได้เป็นอย่างดี ปัจจัยการระบาดที่สำคัญที่ทำให้มีการระบาดและมีการขยายพื้นที่ออกไปอย่างกว้างขวาง ได้แก่ การเพิ่มจำนวนของประชากรโดยเฉพาะอย่างยิ่งการมีชุมชนเมืองเพิ่มขึ้น มีการเคลื่อนไหวของประชากรและมียุงลายมากขึ้นตามการเพิ่มของภาชนะขังน้ำที่มนุษย์สร้างขึ้น โรคไข้เลือดออกจึงเป็นปัญหาสาธารณสุขไทยมาโดยตลอด สร้างความสูญเสียชีวิตและค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลและความความสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจของประเทศ ทั้งที่ทุกฝ่ายได้ช่วยกันรณรงค์ป้องกันและควบคุมมาโดยตลอด การป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออกอย่างมีประสิทธิภาพ ควรต้องเตรียมพร้อมควบคุมกำจัด ยุงลายก่อนจะถึงช่วงฤดูการระบาดของโรค เพื่อลดจำนวนประชากรของยุงลายในพื้นที่ และเพื่อทราบความเสี่ยงการเกิดโรคในพื้นที่
จากข้อมูลการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาโรคไข้เลือดออกในเขตเทศบาลเมืองบ้านพรุ ตั้งแต่ วันที่ 1 มกราคมถึงวันที่ 30 กันยายน 2567 พบผู้ป่วย 97 ราย ไม่มีรายงานผู้เสียชีวิต ยังถือได้ว่าเป็นปีระบาดของโรคไข้เลือดออก ซึ่งการดำเนินงานป้องกัน และควบคุมโรคไข้เลือดออกที่ผ่านมา พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่มุ่งแก้ปัญหาไปที่การกำจัดยุงตัวเต็มวัยการพ่นหมอกควัน เป็นต้น โดยไม่ได้กำจัดแหล่งเพาะพันธุ์และไข่ลูกน้ำยุงลาย จึงทำให้มียุงรุ่นใหม่เกิดได้ตลอดช่วงเวลา จึงไม่สามารถขจัดโรคไข้เลือดออกให้หมดไปจากชุมชนได้
งานป้องกันและควบคุมโรค ฯ เทศบาลเมืองบ้านพรุ จึงได้จัดทำโครงการรณรงค์ป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกและโรคที่มียุงลายเป็นพาหะ ประจำปี 2568 ขึ้น โดยดำเนินกิจกรรมให้ความรู้ กิจกรรมรณรงค์ให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงในอาคารบ้านเรือนของตนเองทุกสัปดาห์อย่างต่อเนื่องและกิจกรรมป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก โดยเทศบาลดำเนินการรณรงค์ฉีดพ่นหมอกควันในเขตพื้นที่รับผิดชอบ เพื่อจัดการสิ่งแวดล้อมและลดปริมาณยุงลายให้มากที่สุด เป็นการสร้างจุดแข็งของชุมชน ในการดำเนินการควบคุมลูกน้ำยุงลาย ประชาชนได้ตระหนักถึงอันตรายของโรคไข้เลือดออก และช่วยกันทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย ลดอัตราการป่วยและลดค่าดัชนีความชุกลูกน้ำยุงลาย สามารถป้องกันโรคไข้เลือดออกได้ด้วยตนเอง ประชาชนในเขตเทศบาลเมืองบ้านพรุจะไม่ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกต่อไป
4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด
- บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
- ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
5. กลุ่มเป้าหมาย
6. ระยะเวลาดำเนินงาน
วันเริ่มต้น : 01/11/2024
กำหนดเสร็จ : 20/09/2025
7. วิธีการดำเนินงาน
- กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
- งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด
หมายเหตุ :
8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง
ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?1. ประชาชนทีึวามรู้และเกิดความตระหนักในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก ให้ความร่วมมือในการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย
2. อัตราป่วยผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกลดลง ร้อยละ ๕๐
3. ดัชนีความชุกของลูกน้ำยุงลายลดลง
4. สามารถควบคุมโรคได้อย่างทันเวลา และสามารถหยุดการระบาดของโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ได้