กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการรณรงค์ป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกและโรคที่มียุงลายเป็นพาหะ ประจำปี 2568
รหัสโครงการ 68-L5278-01-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ งานป้องกันและควบคุมโรคติดต่อ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลเมืองบ้านพรุ
วันที่อนุมัติ 6 พฤศจิกายน 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤศจิกายน 2567 - 20 กันยายน 2568
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 191,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายวินัย รัตนพันธ์ นายกเทศมนตรีเมืองบ้านพรุ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ พื้นที่เขตเทศบาลเมืองบ้านพรุ
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 เม.ย. 2568 15 ก.ย. 2568 191,000.00
รวมงบประมาณ 191,000.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 22186 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อซึ่งมียุงลายบ้านและยุงลายสวนเป็นแมลงพาหะนำโรคที่สำคัญ การระบาดของโรคไข้เลือดออกเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องตลอดทั้งปี โดยเฉพาะในช่วงฤดูฝนจะพบผู้ป่วยเป็นจำนวนมาก เนื่องจากฝนที่ตกลงมา ทำให้เกิดน้ำขังในภาชนะต่าง ๆ จึงเป็นแหล่งเพาะพันธุ์เพิ่มจำนวนประชากรของยุงลายพาหะนำโรคได้เป็นอย่างดี ปัจจัยการระบาดที่สำคัญที่ทำให้มีการระบาดและมีการขยายพื้นที่ออกไปอย่างกว้างขวาง ได้แก่ การเพิ่มจำนวนของประชากรโดยเฉพาะอย่างยิ่งการมีชุมชนเมืองเพิ่มขึ้น มีการเคลื่อนไหวของประชากรและมียุงลายมากขึ้นตามการเพิ่มของภาชนะขังน้ำที่มนุษย์สร้างขึ้น โรคไข้เลือดออกจึงเป็นปัญหาสาธารณสุขไทยมาโดยตลอด สร้างความสูญเสียชีวิตและค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลและความความสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจของประเทศ ทั้งที่ทุกฝ่ายได้ช่วยกันรณรงค์ป้องกันและควบคุมมาโดยตลอด การป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออกอย่างมีประสิทธิภาพ ควรต้องเตรียมพร้อมควบคุมกำจัด ยุงลายก่อนจะถึงช่วงฤดูการระบาดของโรค เพื่อลดจำนวนประชากรของยุงลายในพื้นที่ และเพื่อทราบความเสี่ยงการเกิดโรคในพื้นที่

จากข้อมูลการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาโรคไข้เลือดออกในเขตเทศบาลเมืองบ้านพรุ ตั้งแต่ วันที่ 1 มกราคมถึงวันที่ 30 กันยายน 2567 พบผู้ป่วย 97 ราย ไม่มีรายงานผู้เสียชีวิต ยังถือได้ว่าเป็นปีระบาดของโรคไข้เลือดออก ซึ่งการดำเนินงานป้องกัน และควบคุมโรคไข้เลือดออกที่ผ่านมา พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่มุ่งแก้ปัญหาไปที่การกำจัดยุงตัวเต็มวัยการพ่นหมอกควัน เป็นต้น โดยไม่ได้กำจัดแหล่งเพาะพันธุ์และไข่ลูกน้ำยุงลาย จึงทำให้มียุงรุ่นใหม่เกิดได้ตลอดช่วงเวลา จึงไม่สามารถขจัดโรคไข้เลือดออกให้หมดไปจากชุมชนได้

งานป้องกันและควบคุมโรค ฯ เทศบาลเมืองบ้านพรุ จึงได้จัดทำโครงการรณรงค์ป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกและโรคที่มียุงลายเป็นพาหะ ประจำปี 2568 ขึ้น โดยดำเนินกิจกรรมให้ความรู้ กิจกรรมรณรงค์ให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงในอาคารบ้านเรือนของตนเองทุกสัปดาห์อย่างต่อเนื่องและกิจกรรมป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก โดยเทศบาลดำเนินการรณรงค์ฉีดพ่นหมอกควันในเขตพื้นที่รับผิดชอบ เพื่อจัดการสิ่งแวดล้อมและลดปริมาณยุงลายให้มากที่สุด เป็นการสร้างจุดแข็งของชุมชน ในการดำเนินการควบคุมลูกน้ำยุงลาย ประชาชนได้ตระหนักถึงอันตรายของโรคไข้เลือดออก และช่วยกันทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย ลดอัตราการป่วยและลดค่าดัชนีความชุกลูกน้ำยุงลาย สามารถป้องกันโรคไข้เลือดออกได้ด้วยตนเอง ประชาชนในเขตเทศบาลเมืองบ้านพรุจะไม่ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจ เกิดความตระหนักและเห็นความสำคัญของการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก ให้ความร่วมมือในการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกอย่างเข้มแข็งและต่อเนื่อง 2. เพื่อป้องกันและควบคุมไม่ให้เกิดการระบาดของโรคไข้เลือดออก ลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกในเขตเทศบาลเมืองบ้านพรุ 3. เพื่อให้ประชาชนมีพฤติกรรมตามหลัก 3 เก็บ 3 โรค 4. เพื่อควบคุมไม่ให้เกิดการระบาดของโรคไข้เลือดออกในพื้นที่

 

1.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
ลำดับกิจกรรมหลักงบประมาณพ.ย. 67ธ.ค. 67ม.ค. 68ก.พ. 68มี.ค. 68เม.ย. 68พ.ค. 68มิ.ย. 68ก.ค. 68ส.ค. 68ก.ย. 68
1 กิจกรรมให้ความรู้และประชาสัมพันธ์(6 พ.ย. 2567-5 มิ.ย. 2568) 46,040.00                      
2 กิจกรรมป้องกันและควบคุมโรค(6 พ.ย. 2567-11 ส.ค. 2568) 141,100.00                      
3 กิจกรรมร่วมคิด ร่วมปฏิบัติ ร่วมรับผิดชอบ(6 พ.ย. 2567-11 ก.ค. 2568) 360.00                      
4 กิจกรรมตรวจรับรองโรงเรียนและวัดปลอดลูกน้ำยุงลาย(6 พ.ย. 2567-4 ก.ค. 2568) 3,500.00                      
รวม 191,000.00
1 กิจกรรมให้ความรู้และประชาสัมพันธ์ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
คงเหลือ
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 46,040.00 0 0.00 46,040.00
6 พ.ย. 67 - 25 ก.ย. 68 กิจกรรมให้ความรู้และประชาสัมพันธ์ 0 46,040.00 - -
2 กิจกรรมป้องกันและควบคุมโรค กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
คงเหลือ
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 141,100.00 0 0.00 141,100.00
6 พ.ย. 67 - 21 ก.ค. 68 กิจกรรมป้องกันและควบคุมโรค 0 141,100.00 - -
3 กิจกรรมร่วมคิด ร่วมปฏิบัติ ร่วมรับผิดชอบ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
คงเหลือ
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 360.00 0 0.00 360.00
6 พ.ย. 67 - 25 ส.ค. 68 กิจกรรมร่วมคิด ร่วมปฏิบัติ ร่วมรับผิดชอบ 0 360.00 - -
4 กิจกรรมตรวจรับรองโรงเรียนและวัดปลอดลูกน้ำยุงลาย กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
คงเหลือ
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 3,500.00 0 0.00 3,500.00
6 พ.ย. 67 - 25 ส.ค. 68 กิจกรรมตรวจรับรองโรงเรียน/วัด/มัสยิดปลอดลูกน้ำยุงลาย 0 3,500.00 - -
รวมทั้งสิ้น 0 191,000.00 0 0.00 191,000.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชาชนทีึวามรู้และเกิดความตระหนักในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก ให้ความร่วมมือในการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย
  2. อัตราป่วยผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกลดลง ร้อยละ ๕๐
  3. ดัชนีความชุกของลูกน้ำยุงลายลดลง
  4. สามารถควบคุมโรคได้อย่างทันเวลา และสามารถหยุดการระบาดของโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ได้
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 25 พ.ย. 2567 10:52 น.