กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปากน้ำ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการ เยาวชนรุ่นใหม่ ร่วมใจต้านภัยยาเสพติด ปีงบประมาณ 2568

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปากน้ำ

โรงเรียนบ้านปากบารา

1.นาย โชคชัย ทิพย์รองพล ตำเเหน่ง ผู้อำนวยการโรงเรียน

2.นาย สมพร เหมรา ตำเเหน่ง พนักงานราชการ

3. นาย เสรี อุโหยบ ตำเเหน่ง ครู คศ.3

4. นาย กฤษณะ ปราบยาวา ตำแหน่ง ครู คศ.3

5. นาย อนิรุทร์ โทบุรี ตำเเหน่ง ครู คศ.2

โรงเรียนบ้านปากบารา เเละ รีสอร์ทอาบังล่องแก่ง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานสิ่งเสพติด

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อละของนักเรียนมัธยมตอนต้น มีความเสี่ยงต่อการยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด

 

50.00

เยาวชน คืออนาคตของชาติปัจจุบันสังคมไทยกำลังประสบปัญหาวิกฤต จากสถานการณ์ปัญหายาเสพติดที่ได้เริ่มแพร่ระบาดและกำลังทวีความรุนแรงมากขึ้นอย่างน่าวิตก การหวนกลับมาระบาดอย่างหนักของยาเสพติดในปัจจุบัน เป็นผลให้เยาวชน หลงผิดเข้าสู่วงจรของการซื้อขายและเสพยาเสพติดเพิ่มมากขึ้นซึ่งเป็นอุปสรรคสำคัญในการพัฒนาประเทศ และเป็นการทำลายทรัพยากรบุคคลซึ่งเป็นอนาคตและเป็นพลังในการพัฒนาประเทศให้ด้อยคุณภาพ อันจะส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของชาติ และเป็นภาระงบประมาณของประเทศในการบำบัดรักษาผู้ป่วยที่เกิดจากการเสพยาเสพติด อีกทั้งยังเป็นปัญหาที่สร้างความรู้สึกสะเทือนใจและเจ็บปวดให้กับพ่อแม่ผู้ปกครอง และปัญหายาเสพติดได้นำมาซึ่งความรุนแรงในครอบครัวและอาชญากรรมต่างๆในสังคมเช่น การลักขโมย ฉกชิงวิ่งราวและการก่อปัญหาอาชญากรรมอื่นๆตามมาอีกมากมาย ซึ่งทำให้มีผลกระทบต่อสังคมโดยรวมซึ่งปัจจุบันนี้รัฐบาลได้มีนโยบายในการแก้ไขปัญหายาเสพติดตามยุทธศาสตร์5 รั้วป้องกัน คือ 1. รั้วชายแดน2. รั้วชุมชน 3.รั้วสังคม4.รั้วครอบครัว และ 5. รั้วโรงเรียนซึ่งจากทั้ง 5 รั้วป้องกันนี้ จะเห็นได้ว่า รั้วเยาวชน และรั้วโรงเรียน เป็นยุทธศาสตร์ที่รัฐบาลให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากเป็นรากฐานและเป็นทรัพยากรที่สำคัญในการพัฒนาประเทศ

ดังนั้น โรงเรียนบ้านปากบารา จึงได้ตระหนักถึงปัญหาดังกล่าว และเห็นว่าทุกภาคส่วนของสังคมควรมีบทบาทในการแก้ปัญหาร่วมกัน การปล่อยให้เป็นหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ตำรวจหรือหน่วยงานภาครัฐรับผิดชอบเพียงฝ่ายเดียวไม่เพียงพอ และจะทำให้ปัญหาการแพร่ระบาดของยาเสพติดรุนแรงขึ้นเรื่อยๆจึงได้ถือโอกาสจัด โครงการ“ เยาวชนรุ่นใหม่ร่วมใจต้านภัยยาเสพติด”ขึ้น เพื่อเป็นการสนองต่อนโยบายรัฐบาล ในการนำสังคมไทยไปสู่สังคมที่พึงปรารถนา คือ สังคมอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกัน

การแพร่ระบาดในกลุ่มเยาวชน ในพื้นที่ชุมชนบ้านปากบารา โรงเรียนอยู่ใกล้แหล่งยาเสพติดและมีโอกาสสุ่มเสี่ยงต่อการใช้ยาเสพติดเยาวชนในพื้นที่สลัมมักขาดโอกาสทางการศึกษา ทำให้บางคนหลงผิดเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติดทั้งในฐานะผู้เสพและผู้ค้ายา การเข้าถึงยาเสพติดได้ง่ายพื้นที่สลัมมักมีเครือข่ายของผู้ค้ายาที่แทรกซึมเข้ามาในชุมชน ซึ่งอาศัยช่องว่างของการบังคับใช้กฎหมายและความยากจนเป็นปัจจัยหนุนผู้อยู่อาศัยในสลัมจำนวนมากเผชิญกับภาวะความยากจน ปัญหาครอบครัว หรือความไม่มั่นคงทางสังคม ส่งผลให้บางคนใช้ยาเสพติดเป็นทางออกชั่วคราว
ทางโรงเรียนบ้านปากบารา ซึ่งตระหนักถึงความรุนแรงและผลกระทบจากปัญหายาเสพติดในชุมชน โดยเฉพาะในกลุ่มเด็กและเยาวชนที่ถือเป็นอนาคตของชาติ จึงได้ริเริ่มจัด “โครงการเข้าค่ายเยาวชนรุ่นใหม่ ร่วมใจต้านยาเสพติด” ขึ้น โดยมีเป้าหมายหลักในการป้องกันจำนวนผู้เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด และสร้างสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยในโรงเรียนและพื้นที่รอบข้าง

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับพิษภัยและผลกระทบของยาเสพติดแก่เด็กและเยาวชน

1.ร้อยละ 80 ของนักเรียนที่เข้าร่วมกิจกรรมหรืออบรมความรู้เกี่ยวกับยาเสพติดครบตามเป้าหมาย

0.00 1.00
2 เพื่อสร้างผู้นำเยาวชนในการต่อต้านและป้องกันการแพร่ระบาดของยาเสพติดในสถานศึกษาและชุมชน

ผู้เข้าอบรมสามารถเป็นแกนนำในการป้องกันและต่อต้านการแพร่ระบาดของยาเสพติดในสถานศึกษาและชุมชน จำนวน 25 คน โดยผ่านสภานักเรียน

0.00
3 เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต ทักษะทางความคิดสร้างภูมิคุ้มกันทางด้านร่างกายจิตใจให้กับเยาวชน ไม่ตกเป็นทาสของอบายมุขด้วยวิถีแห่งหลักธรรม

ร้อยละ 80 ผู้เข้าอบรมสามารถพัฒนาคุณภาพชีวิต ทักษะทางความคิดสร้างภูมิคุ้มกันทางด้านร่างกายจิตใจ ไม่ตกเป็นทาสของอบายมุข และปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีด้วยวิถีแห่งหลักธรรม

0.00
4 เพื่อสนับสนุนนโยบายของรัฐบาลและร่วมแก้ปัญหายาเสพติดในสถานศึกษา และชุมชนอย่างเป็นรูปธรรม

ร้อยละ 80 ผู้เข้าอบรมสามารถพัฒนาคุณภาพชีวิต ทักษะทางความคิดสร้างภูมิคุ้มกันทางด้านร่างกายจิตใจ ไม่ตกเป็นทาสของอบายมุข และปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีด้วยวิถีแห่งหลักธรรม

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 90
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 10/06/2025

กำหนดเสร็จ 30/09/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุมคณะทำงาน

ชื่อกิจกรรม
ประชุมคณะทำงาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประชุมคณะกรรมการทำงาน 5 คน ดังนี้

1.นาย โชคชัย ทิพย์รองพล ตำเเหน่ง ผู้อำนวยการโรงเรียน

2.นาย สมพร เหมราตำเเหน่ง พนักงานราชการ

3.นาย เสรี อุโหยบ ตำเเหน่ง ครู คศ.3

4.นาย กฤษณะ ปราบยาวา ตำเเหน่งครู คศ.3

5.นาย อนิรุทร์ โทบุรี ตำเเหน่ง ครู คศ.2

-ค่าอาหารว่างเเละเครื่องดื่ม จำนวน 1 มื้อๆละ 30 บาท จำนวน 5 คน เป็นเงิน 150 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
10 มิถุนายน 2568 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เพื่อประชุมชี้เเจงเเละจัดทำปฎิทินการดำเนินงานโครงการฯ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
150.00

กิจกรรมที่ 2 เข้าค่ายฝึกอบรม

ชื่อกิจกรรม
เข้าค่ายฝึกอบรม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-ค่าอาหาร 4 มื้อ ผู้เข้าอบรมมื้อละ 80 บาท X 90 คนX 4 มื้อ เป็นเงิน 28,800 บาท

-ค่าอาหารว่าง ผู้เข้าอบรมมื้อละ 35 บาท X 90 คนX 4 มื้อ เป็นเงิน 12,600 บาท

-ค่าพาหนะผู้เข้าอบรมจำนวน90คน X 100 บาท เป็นเงิน 9,000บาท

-ค่าเช่าที่พักผู้เข้าอบรม จำนวน 90 คน X150บาท X 1 คืนเป็นเงิน 13,500 บาท

-ค่าวัสดุอบรมแฟ้ม ปากกา สมุด ดินสอ ยางลบจำนวน 90 ชุด X 50 เป็นเงิน 4,500 บาท

-ค่าตอบแทนวิทยากรจำนวน 15 คน x600 บาท เป็นเงิน 9,000 บาท

-ค่าวัสดุป้ายอบรม จำนวน 1 ป้าย ขนาด 1.5 X 3 เมตร เป็นเงิน 675 บาท

-ค่าเช่าสถานที่ห้องประชุมจำนวน 2 วัน X 1,500 บาทเป็นเงิน 3,000 บาท

-ค่าจัดทำเกียรติบัตร 10 บาท X 90 คน เป็นเงิน 900 บาท

เข้าค่ายฝึกอบรมจำนวน 2 วัน 1 คืน

-ให้ความรู้เรื่องโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

-ให้ความรู้เรื่องสารเสพติด

-กิจกรรมก่อให้เกิดคุณธรรมและจริยธรรม

กำหนดการกิจกรรมโครงการ เยาวชนรุ่นใหม่ร่วมใจต้านภัยยาเสพติด

โรงเรียนบ้านปากบาราปี 2568

เป้าหมาย: เสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจ และทักษะในการป้องกันภัยจากยาเสพติด

พร้อมทั้งส่งเสริมพฤติกรรมเชิงบวก

วันแรก

07:00 - 08:30 ลงทะเบียน/แจกคู่มือและอุปกรณ์

08:30 - 09:00 พิธีเปิด/กล่าวต้อนรับโดยผู้จัดกล่าวเปิดงานโดยผู้บริหาร

09:00 - 10:00 กิจกรรม Ice Breaking/แนะนำตัวผู้เข้าร่วม/เกมเสริมสร้างความสัมพันธ์

10:00 - 11:00 บรรยายหัวข้อรู้จักและเข้าใจภัยจากยาเสพติดประเภทของยาเสพติด/ผลกระทบทางร่างกายและจิตใจ

11:00 - 11:10 พักรับประทานอาหารว่าง

11:10 - 12:10บรรยายหัวข้อเเละร่วมอภิปราย ประเภทของยาเสพติด/ผลกระทบทางร่างกายและจิตใจ

12.10 - 13.00 พักรับประทานอาหารกลางวัน/ปฏิบัติศาสนกิจ/ฝึกสมาธิ

13:00 - 14:00 กิจกรรม Workshop: สถานการณ์สมมติ/หากเพื่อนชวนลองยาเสพติด/แบ่งกลุ่มระดมความคิด

ฝึกการปฏิเสธอย่างมั่นใจ กิจกรรมกลุ่ม:แก้ปัญหาและสร้างภูมิคุ้มกันแนวทางการสร้างชีวิตที่ปลอดภัย

14.00 - 15.00 กิจกรรม: สร้างความเข้มแข็งในตนเอง

15.00 -15.10 พักรับประทานอาหารว่าง

15:10 - 16:10 กิจกรรม เทคนิคเสริมความมั่นใจและการตัดสินใจ

16:10 - 16:50 ปฏิบัติศาสนกิจ/ฝึกสมาธิ

16.50 - 18.30 เข้าที่พักตามอัธยาศัย/รับประทานอาหารเย็น/ปฏิบัติศาสนกิจ

18:30 - 19:30 กิจกรรมวงล้อมสหาย: ร่วมใจเยาวชน ป้องกันยาเสพติด

19:30 - 20:30 กิจกรรม เล่าเรื่องแรงบันดาลใจ/แชร์ความคิดจากผู้เข้าร่วม

20:30 ปฏิบัติศาสนกิจ/พักผ่อน
วันที่สอง

05:00 - 06:00 ปฏิบัติศาสนกิจ/คำตักเตือนถึงเพื่อนรัก

06:00 - 07:00 กิจกรรมยามเช้า: สุขภาพดี ชีวิตดี ออกกำลังกาย เทคนิคผ่อนคลายจิตใจ

07:00 - 08:00 รับประทานอาหารเช้า

08.00 - 09.00บรรยายหัวข้อ: ทางเลือกชีวิตที่ดีกว่า/ความสำคัญของการตั้งเป้าหมายสร้างแรงบันดาลใจผ่านตัวอย่างบุคคล

09:00 - 10:00กิจกรรม Workshop: การวางแผนอนาคตที่ปลอดภัย/สร้างแผนชีวิตการตั้งเป้าหมายระยะสั้นและระยะยาว

10:00 - 10:10 พักรับประทานอาหารว่าง

10:10- 11.10 กิจกรรม: บทบาทของเยาวชนในการสร้างสังคมปลอดยาเสพติด/ระดมความคิดเห็นเขียนข้อเสนอเชิงสร้างสรรค์

11:10 - 12:10กิจกรรม : บทบาทของเยาวชนในการสร้างสังคมปลอดยาเสพติด/ระดมความคิดเห็นเขียนข้อเสนอเชิงสร้างสรรค์(ต่อ)

12.10 - 13.00 รับประทานอาหารกลางวัน/ปฎิบัติศาสนกิจ

13:00 - 14:00กิจกรรม Famuly Shield เกราะเหล็กต้านยาเสพติด

14:00 - 14:10พักรับประทานอาหารว่าง

14.10 - 15.10 กิจกรรมThe Guardian Family ครอบครัวผู้พิทักษ์

15.10 - 15.30 กิจกรรม มอบเกียรติบัตรและของที่ระลึก

15.30 - 16.00 กิจกรรม พิธีปิด/เดินทางกลับบ้าน

หมายเหตุ:

สามารถปรับเปลี่ยนเวลาและกิจกรรมให้เหมาะสมตามจำนวนผู้เข้าร่วมและสถานที่จัดอบรม

จัดเตรียมทีมวิทยากรและอุปกรณ์เสริมเพื่อความราบรื่นของกิจกรรม

ระยะเวลาดำเนินงาน
10 มิถุนายน 2568 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

-ผู้เข้าอบรมได้ร่วมรณรงค์ให้เยาวชนและประชาชนรับรู้และทราบถึงปัญหาและพิษภัยของยาเสพติด

-ผู้เข้าอบรมสามารถเป็นแกนนำในการป้องกันและต่อต้านการแพร่ระบาดของยาเสพติดในสถานศึกษาและชุมชน

-ผู้เข้าอบรมสามารถพัฒนาคุณภาพชีวิต ทักษะทางความคิดสร้างภูมิคุ้มกันทางด้านร่างกายจิตใจ ไม่ตกเป็นทาสของอบายมุข และปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีด้วยวิถีแห่งหลักธรรม

-ได้ร่วมสนับสนุนนโยบายของรัฐบาลและแก้ปัญหายาเสพติดในสถานศึกษา และชุมชนอย่างได้อย่างเป็นรูปธรรม

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
81975.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมนวัตกรรมภาพยนตร์สั้นและศิลปะในโครงการป้องกันยาเสพติด

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมนวัตกรรมภาพยนตร์สั้นและศิลปะในโครงการป้องกันยาเสพติด
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

โครงการที่ใช้ ภาพยนตร์สั้นและศิลปะ เป็นเครื่องมือสื่อสาร ช่วยให้เกิดความตระหนักรู้เกี่ยวกับภัยของยาเสพติด ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เนื่องจากสามารถ เข้าถึงอารมณ์และความคิดของผู้ชม ได้ดีกว่าการบรรยาย

เพียงอย่างเดียว

กิจกรรมที่ดำเนินการ

1.1จัดทำภาพยนตร์สั้น (Short Film )

รายละเอียดกิจกรรม:

ผลิตภาพยนตร์สั้น เกี่ยวกับ ผลกระทบของยาเสพติด, การป้องกัน, หรือเรื่องราวสร้างแรงบันดาลใจ

หัวข้อ เช่น ครอบครัวคือเกราะป้องกันยาเสพติดหรือทางเลือกใหม่ ไร้ยาเสพติด

หนังสั้นความยาว 5-15 นาที

งบประมาณที่ใช้:

-ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 1 มื้อๆละ 80 บาท จำนวน 5 คน เป็นเงิน 400 บาท

-ค่าอาหารว่างเเละเครื่องดื่ม จำนวน 1 มื้อๆละ 30 บาท จำนวน 5 คน เป็นเงิน 150 บาท

-ค่าอุปกรณ์ถ่ายทำ (ไม่ใช้จ่ายงบประมาณ)

-ค่าเดินทางและเบี้ยเลี้ยงเหมาจ่าย คนละ 240 บาท จำนวน 5 คน เป็นเงิน 1200 บาท

1.2การจัดนิทรรศการศิลปะต้านยาเสพติด (Anti-Drug Art Exhibition)

รายละเอียดกิจกรรม:

เชิญชวนนักเรียนสร้างสรรค์ผลงานศิลปะ เช่น โปสเตอร์, ภาพวาด, กราฟิกดีไซน์, งานประติมากรรม ที่สื่อถึง การต่อต้านยาเสพติด

จัดแสดงในโรงเรียน หรือสถานที่สาธารณะ ให้ผู้เข้าชมมีส่วนร่วม เช่น โหวตผลงานยอดเยี่ยม หรือร่วมทำงานศิลปะสดๆ

งบประมาณที่ใช้:

-ค่าวัสดุอุปกรณ์ศิลปะ

-สีชอล็ก กล่อง 12 สี ราคากล่องละ 100 บาท จำนวน 10 กล่อง เป็นเงิน 1000 บาท

-กระดาษร้อยปอนด์ เเพ็คละ 50 เเผ่น ราคา 150 บาท จำนวน 6 เเพ็ค เป็นเงิน 900 บาท

-จัดทำโปสเตอร์ประชาสัมพันธ์

-ค่าของขวัญ จำนวน 5 ชิ้นเป็นเงิน 2,200 บาท

-ค่าจัดนิทรรศการ

-ป้ายไวนิล นิทรรศการศิลปะต้านยาเสพติด (Anti-Drug Art Exhibition) ขนาด 3*2 เมตร เป็นเงิน 900 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
10 มิถุนายน 2568 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลลัพธ์เชิงปริมาณ (วัดผลเป็นตัวเลขได้)

จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ

-นักเรียนเข้าร่วมหนังสั้นและสร้างสรรค์งานศิลปะ

-ครู อาจารย์ และบุคคลากรที่เข้าร่วมสนับสนุน

-ประชาชนที่เข้าชมนิทรรศการหรือรับชมภาพยนตร์สั้น

จำนวนผลงานที่ได้รับ

-หนังสั้นที่ผลิตขึ้น อย่างน้อย 1 เรื่อง

ผลงานศิลปะที่จัดแสดง (เช่น 50-100 ชิ้น)

-เนื้อหาที่ถูกเผยแพร่ทางโซเชียลมีเดีย

สถิติการรับชมและการมีส่วนร่วม (Engagement)

-ยอดวิว / การแชร์ / คอมเมนต์บน YouTube, Facebook หรือ TikTok

-จำนวนคนที่เข้าร่วมให้ความเห็นต่อผลงาน

-จำนวนสื่อต่างๆ (ข่าว, เฟสบุ๊ค/เพจ, เว็บไซต์) ที่เผยแพร่โครงการ

ผลลัพธ์เชิงคุณภาพ (วัดผลด้านพฤติกรรมและการเปลี่ยนแปลงสังคม)

การสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับยาเสพติด

-เยาวชนมีความเข้าใจเรื่องโทษของยาเสพติดมากขึ้น

-คนในชุมชนเริ่มพูดคุยและให้ความสนใจกับการป้องกันยาเสพติด

พฤติกรรมและทัศนคติที่เปลี่ยนแปลง

-ผู้เข้าร่วมโครงการรับรู้ถึงอันตรายของพิษภัยยาเสพติด

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
6750.00

กิจกรรมที่ 4 ติดตามเเละประเมินผล

ชื่อกิจกรรม
ติดตามเเละประเมินผล
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประชุมคณะกรรมการติดตามเเละประเมินผล

-ค่าอาหารว่างเเละเครื่องดื่ม 1 มื้อๆละ 30 บาท จำนวน 20 คน เป็นเงิน 600 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
10 มิถุนายน 2568 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

-ความพึงพอใจของผู้เข้าร่วม: 88% ของผู้เข้าร่วมให้คะแนนความพึงพอใจระดับดีถึงดีมาก

-พฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงทันที: 80% ของผู้เข้าค่ายระบุว่าพวกเขาจะนำความรู้ไปเผยแพร่ต่อในครอบครัวและเพื่อน

-การนำความรู้ไปใช้: 65% ของผู้เข้าร่วมระบุว่าได้ให้คำแนะนำเกี่ยวกับโทษของยาเสพติดแก่คนรอบตัว

-ผลกระทบต่อชุมชน/โรงเรียน: โรงเรียนและชุมชนที่เข้าร่วมโครงการพบว่าจำนวนผู้เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติดลดลงจากปีที่ผ่านมา

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
600.00

กิจกรรมที่ 5 รายงานผลโครงการ

ชื่อกิจกรรม
รายงานผลโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-ค่าเอกสารสรุปผลการดำเนินโครงการ จำนวน 2 เล่มๆละ 300 บาท เป็นเงิน 600 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
30 กันยายน 2568 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
600.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 90,075.00 บาท

หมายเหตุ :
ทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยได้

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ผู้เข้าอบรมได้ร่วมรณรงค์ให้เยาวชนและประชาชนรับรู้และทราบถึงปัญหาและพิษภัยของยาเสพติด

2.ผู้เข้าอบรมสามารถเป็นแกนนำในการป้องกันและต่อต้านการแพร่ระบาดของยาเสพติดในสถานศึกษาและชุมชน

3.ผู้เข้าอบรมสามารถพัฒนาคุณภาพชีวิต ทักษะทางความคิดสร้างภูมิคุ้มกันทางด้านร่างกายจิตใจ ไม่ตกเป็นทาสของอบายมุข และปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีด้วยวิถีแห่งหลักธรรม

4.ได้ร่วมสนับสนุนนโยบายของรัฐบาลและแก้ปัญหายาเสพติดในสถานศึกษา และชุมชนอย่างได้อย่างเป็นรูปธรรม


>