กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการ เยาวชนรุ่นใหม่ ร่วมใจต้านภัยยาเสพติด ปีงบประมาณ 2568
รหัสโครงการ 65-L5312-2-06
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงเรียนบ้านปากบารา
วันที่อนุมัติ 19 พฤษภาคม 2568
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 10 มิถุนายน 2568 - 30 กันยายน 2568
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2568
งบประมาณ 90,075.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายโชคชัย ทิพย์รองพล
พี่เลี้ยงโครงการ นางสาวอนัญญา เเสะหลี
พื้นที่ดำเนินการ โรงเรียนบ้านปากบารา ตำบลปากน้ำ อำเภอละงู จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานสิ่งเสพติด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 90 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อละของนักเรียนมัธยมตอนต้น มีความเสี่ยงต่อการยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด
50.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

เยาวชน คืออนาคตของชาติปัจจุบันสังคมไทยกำลังประสบปัญหาวิกฤต จากสถานการณ์ปัญหายาเสพติดที่ได้เริ่มแพร่ระบาดและกำลังทวีความรุนแรงมากขึ้นอย่างน่าวิตก การหวนกลับมาระบาดอย่างหนักของยาเสพติดในปัจจุบัน เป็นผลให้เยาวชน หลงผิดเข้าสู่วงจรของการซื้อขายและเสพยาเสพติดเพิ่มมากขึ้นซึ่งเป็นอุปสรรคสำคัญในการพัฒนาประเทศ และเป็นการทำลายทรัพยากรบุคคลซึ่งเป็นอนาคตและเป็นพลังในการพัฒนาประเทศให้ด้อยคุณภาพ อันจะส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของชาติ และเป็นภาระงบประมาณของประเทศในการบำบัดรักษาผู้ป่วยที่เกิดจากการเสพยาเสพติด อีกทั้งยังเป็นปัญหาที่สร้างความรู้สึกสะเทือนใจและเจ็บปวดให้กับพ่อแม่ผู้ปกครอง และปัญหายาเสพติดได้นำมาซึ่งความรุนแรงในครอบครัวและอาชญากรรมต่างๆในสังคมเช่น การลักขโมย ฉกชิงวิ่งราวและการก่อปัญหาอาชญากรรมอื่นๆตามมาอีกมากมาย ซึ่งทำให้มีผลกระทบต่อสังคมโดยรวมซึ่งปัจจุบันนี้รัฐบาลได้มีนโยบายในการแก้ไขปัญหายาเสพติดตามยุทธศาสตร์5 รั้วป้องกัน คือ 1. รั้วชายแดน2. รั้วชุมชน 3.รั้วสังคม4.รั้วครอบครัว และ 5. รั้วโรงเรียนซึ่งจากทั้ง 5 รั้วป้องกันนี้ จะเห็นได้ว่า รั้วเยาวชน และรั้วโรงเรียน เป็นยุทธศาสตร์ที่รัฐบาลให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากเป็นรากฐานและเป็นทรัพยากรที่สำคัญในการพัฒนาประเทศ

ดังนั้น โรงเรียนบ้านปากบารา จึงได้ตระหนักถึงปัญหาดังกล่าว และเห็นว่าทุกภาคส่วนของสังคมควรมีบทบาทในการแก้ปัญหาร่วมกัน การปล่อยให้เป็นหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ตำรวจหรือหน่วยงานภาครัฐรับผิดชอบเพียงฝ่ายเดียวไม่เพียงพอ และจะทำให้ปัญหาการแพร่ระบาดของยาเสพติดรุนแรงขึ้นเรื่อยๆจึงได้ถือโอกาสจัด โครงการ“ เยาวชนรุ่นใหม่ร่วมใจต้านภัยยาเสพติด”ขึ้น เพื่อเป็นการสนองต่อนโยบายรัฐบาล ในการนำสังคมไทยไปสู่สังคมที่พึงปรารถนา คือ สังคมอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกัน

การแพร่ระบาดในกลุ่มเยาวชน ในพื้นที่ชุมชนบ้านปากบารา โรงเรียนอยู่ใกล้แหล่งยาเสพติดและมีโอกาสสุ่มเสี่ยงต่อการใช้ยาเสพติดเยาวชนในพื้นที่สลัมมักขาดโอกาสทางการศึกษา ทำให้บางคนหลงผิดเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติดทั้งในฐานะผู้เสพและผู้ค้ายา การเข้าถึงยาเสพติดได้ง่ายพื้นที่สลัมมักมีเครือข่ายของผู้ค้ายาที่แทรกซึมเข้ามาในชุมชน ซึ่งอาศัยช่องว่างของการบังคับใช้กฎหมายและความยากจนเป็นปัจจัยหนุนผู้อยู่อาศัยในสลัมจำนวนมากเผชิญกับภาวะความยากจน ปัญหาครอบครัว หรือความไม่มั่นคงทางสังคม ส่งผลให้บางคนใช้ยาเสพติดเป็นทางออกชั่วคราว ทางโรงเรียนบ้านปากบารา ซึ่งตระหนักถึงความรุนแรงและผลกระทบจากปัญหายาเสพติดในชุมชน โดยเฉพาะในกลุ่มเด็กและเยาวชนที่ถือเป็นอนาคตของชาติ จึงได้ริเริ่มจัด “โครงการเข้าค่ายเยาวชนรุ่นใหม่ ร่วมใจต้านยาเสพติด” ขึ้น โดยมีเป้าหมายหลักในการป้องกันจำนวนผู้เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด และสร้างสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยในโรงเรียนและพื้นที่รอบข้าง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับพิษภัยและผลกระทบของยาเสพติดแก่เด็กและเยาวชน

1.ร้อยละ 80 ของนักเรียนที่เข้าร่วมกิจกรรมหรืออบรมความรู้เกี่ยวกับยาเสพติดครบตามเป้าหมาย

0.00 1.00
2 เพื่อสร้างผู้นำเยาวชนในการต่อต้านและป้องกันการแพร่ระบาดของยาเสพติดในสถานศึกษาและชุมชน

ผู้เข้าอบรมสามารถเป็นแกนนำในการป้องกันและต่อต้านการแพร่ระบาดของยาเสพติดในสถานศึกษาและชุมชน จำนวน 25 คน โดยผ่านสภานักเรียน

0.00
3 เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต ทักษะทางความคิดสร้างภูมิคุ้มกันทางด้านร่างกายจิตใจให้กับเยาวชน ไม่ตกเป็นทาสของอบายมุขด้วยวิถีแห่งหลักธรรม

ร้อยละ 80 ผู้เข้าอบรมสามารถพัฒนาคุณภาพชีวิต ทักษะทางความคิดสร้างภูมิคุ้มกันทางด้านร่างกายจิตใจ ไม่ตกเป็นทาสของอบายมุข และปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีด้วยวิถีแห่งหลักธรรม

0.00
4 เพื่อสนับสนุนนโยบายของรัฐบาลและร่วมแก้ปัญหายาเสพติดในสถานศึกษา และชุมชนอย่างเป็นรูปธรรม

ร้อยละ 80 ผู้เข้าอบรมสามารถพัฒนาคุณภาพชีวิต ทักษะทางความคิดสร้างภูมิคุ้มกันทางด้านร่างกายจิตใจ ไม่ตกเป็นทาสของอบายมุข และปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีด้วยวิถีแห่งหลักธรรม

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 90,075.00 0 0.00
10 มิ.ย. 68 - 30 ก.ย. 68 ประชุมคณะทำงาน 0 150.00 -
10 มิ.ย. 68 - 30 ก.ย. 68 เข้าค่ายฝึกอบรม 0 81,975.00 -
10 มิ.ย. 68 - 30 ก.ย. 68 กิจกรรมนวัตกรรมภาพยนตร์สั้นและศิลปะในโครงการป้องกันยาเสพติด 0 6,750.00 -
10 มิ.ย. 68 - 30 ก.ย. 68 ติดตามเเละประเมินผล 0 600.00 -
30 ก.ย. 68 รายงานผลโครงการ 0 600.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ผู้เข้าอบรมได้ร่วมรณรงค์ให้เยาวชนและประชาชนรับรู้และทราบถึงปัญหาและพิษภัยของยาเสพติด

2.ผู้เข้าอบรมสามารถเป็นแกนนำในการป้องกันและต่อต้านการแพร่ระบาดของยาเสพติดในสถานศึกษาและชุมชน

3.ผู้เข้าอบรมสามารถพัฒนาคุณภาพชีวิต ทักษะทางความคิดสร้างภูมิคุ้มกันทางด้านร่างกายจิตใจ ไม่ตกเป็นทาสของอบายมุข และปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีด้วยวิถีแห่งหลักธรรม

4.ได้ร่วมสนับสนุนนโยบายของรัฐบาลและแก้ปัญหายาเสพติดในสถานศึกษา และชุมชนอย่างได้อย่างเป็นรูปธรรม

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 25 พ.ย. 2567 00:00 น.